คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฐานความผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากปล้นทรัพย์เป็นชิงทรัพย์เนื่องจากจำนวนผู้กระทำผิดไม่ตรงตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลย(สองคน) สมคบกันปล้นโคของเจ้าทรัพย์ไป ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้ร้าย 3 คน ร่วมกันกระทำผิดรายนี้ ก็ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ไม่ได้ต้องลงโทษฐานชิงทรัพย์ตาม มาตรา 339

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างฐานความผิดผิดพลาด ศาลแก้ไขฐานความผิดได้ตามข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
จำเลยขอให้โจทก์ลงลายมือในใบมอบอำนาจ โดยหลอกลวงว่าเพื่อจำเลยจะได้ใช้ในการชำระภาษีอากรแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ลงลายมือมอบให้จำเลยไปแล้ว จำเลยกลับไปกรอกข้อความในใบมอบอำนาจเป็นว่าโจทก์มอบให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจัดการโอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลยไป ดังนี้มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงหรือปลอมหนังสือ แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตามกฎหมายอาญา ม. 315
โจทก์บรรยายฟ้องไปในลักษณะฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมหนังสือ แต่ในฟ้องของโจทก์นั้นเองจับใจความได้ว่าโจทก์กล่าวหาจำเลยว่าได้กระทำผิดดังข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมหนังสือแต่เป็นความผิดฐานยักยอกซึ่งโจทก์มิได้อ้างบทความผิดฐานยักยอกมา ถือได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดและบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ม.192 วรรค 4 ป.วิ.อาญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) 2499 ม.13.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผิดฐานความผิด การปรับฟ้องฐานความผิดที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่นำสืบได้
จำเลยขอให้โจทก์ลงลายมือในใบมอบอำนาจโดยหลอกลวงว่าเพื่อจำเลยจะได้ใช้ในการชำระภาษีอากรแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ลงลายมือมอบให้จำเลยไปแล้ว จำเลยกลับไปกรอกข้อความในใบมอบอำนาจเป็นว่าโจทก์มอบให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจัดการโอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลยไป ดังนี้มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงหรือปลอมหนังสือแต่เป็นความผิดฐานยักยอกตามกฎหมายอาญา มาตรา 315
โจทก์บรรยายฟ้องไปในลักษณะฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมหนังสือแต่ในฟ้องของโจทก์นั้นเองจับใจความได้ว่าโจทก์กล่าวหาจำเลยว่าได้กระทำผิด ดังข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมหนังสือแต่เป็นความผิดฐานยักยอกซึ่งโจทก์มิได้อ้างบทความผิดฐานยักยอกมาถือได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดและบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม มาตรา192 วรรค 4 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6)2499มาตรา13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003-2005/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานความผิดของพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสในฐานะเจ้าพนักงาน
การที่ พ.ร.บ. คณะสงฆ์บัญญัติไว้ว่า พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามบทแห่ง พ.ร.บ.นี้ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญานั้น บ่งชัดถึงอำนาจและหน้าที่ กล่าวคือ เมือมีอำนาจในวัดเหมือนกับเจ้าพนักงานแล้ว หากกระทำผิดในหน้าที่ก็จะต้องเป็นผิดฐานเจ้าพนักงานกระทำความผิดด้วย
การลดโทษ ที่มีเหตุอันเข้าลักษณะทั้งกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่นั้น เมือได้ทำผิดขณะใช้กฎหมายเก่า ก็ควรอ้างกฎหมายเก่า คือ ก.ม. ลักษณะอาญา มาตรา 59 เป็นเหตุลดโทษ.
( ตามแบบอย่างฎีกา ที่ 1879/2500 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากฆ่าเพื่อชิงทรัพย์เป็นลักทรัพย์หลังเกิดเหตุ และการคืนเงินของกลาง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฆ่าผู้ตายเพื่อเอาทรัพย์ตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.250 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยฆ่าผู้ตายจนถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยจึงเกิดโลภเจตนาเอาทรัพย์ของผู้ตายในภายหลังเช่นนี้ ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความในการพิจารณาไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ได้กล่าวในฟ้องลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.288 ได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2501)
โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องลักทรัพย์และขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 15,400 บาท เจ้าพนักงานจับจำเลยและได้เงิน 900 บาทเป็นของกลาง แต่ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยเอาเงินสดจากเจ้าทรัพย์ไป 500 บาท จึงควรหักเงินสดของกลางคืนให้เจ้าทรัพย์ 500 บาทเท่าที่ได้ความว่าจำเลยเอาไป เหลือนอกนั้นคืนให้จำเลย ต่อจากนั้นเป็นเรื่องของโจทก์ที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1296/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนฐานความผิดจากเจ้ามือเป็นผู้เล่นสลากกินรวบ ศาลลงโทษได้หากอยู่ในความประสงค์เดิมของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นผู้เล่นสลากกินรวบ ถือว่าข้อเท็จจริงไม่ต่างกับฟ้อง ศาลลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้เล่น (แทง) สลากกินรวบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการบริษัท โดยไม่ได้พิสูจน์ว่าจำเลยกระทำผิดด้วยตนเอง ทำให้ลงโทษไม่ได้
เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพฯ เรื่องควบคุมการค้าซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจฯ (ฉบับที่ 3)2494ลงวันที่ 18 ม.ค. 2494 ข้อ 4,5
หน้าฟ้องโจทก์ระบุชื่อจำเลยไม่ได้ระบุชื่อบริษัทในคำบรรยายฟ้องกล่าวถึงบริษัทอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเพียงแสดงให้ทราบว่าจำเลยผู้ที่ถูกฟ้องนั้นเป็นผู้จัดการบริษัทจึงเป็นอันว่าจากหน้าฟ้องก็ตาม จากคำบรรยายฟ้องก็ตามโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวของจำเลย และฟ้องไม่ได้หาว่าจำเลยจัดคนให้เลื่อยไม้ เมื่อคำพยานไม่มีเลยว่าจำเลยเป็นผู้เลื่อยไม้เช่นนี้ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายระหว่างวิวาท: การพิจารณาเจตนาและฐานความผิด
เมื่อเป็นกรณีที่ที่สมัครใจเข้าวิวาททำร้ายกัน จำเลยจะอ้างว่ากระทำไปโดยถูกยั่วโทษะหาได้ไม่
เนื่องมาจากมีการโต้เถียงทะเลาะวิวาทกันแล้ว ผู้ตายจึงเตะจำเลยก่อนถึง 2 ครั้งจำเลยแทงผู้ตายไปครั้งเดียวด้วยมีดที่ถือติดมือมาสำหรับใช้ทำงานและเมื่อผู้ตายล้มลงแล้วจำเลยก็มิได้ซ้ำเติมดังนี้ย่อมแสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าให้ตายจำเลยคงมีผิดเพียงฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกทรัพย์: การกำหนดฐานความผิดตามหน้าที่เกี่ยวข้องสาธารณชน
การยักยอกทรัพย์ที่จะเป็นผิดกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319(3) นั้นจะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับมอบหมายทรัพย์โดยฐานะที่มีหน้าที่อันเกี่ยวแก่สาธารณชน
จำเลยเป็นแต่เพียงสมุห์บัญชีสหกรณ์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่ากับเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนของบริษัทนิติบุคคลในการค้าเท่านั้น หาได้เกี่ยวแก่สาธารณชนแต่ประการใดไม่ การกระทำของจำเลยจึงเข้าเกณฑ์ความผิดตาม มาตรา 319(1) ไม่ใช่ 319(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจาก 'ไม่ต่ออายุใบสำคัญ' เป็น 'ไม่มีใบสำคัญ' เมื่อกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า
คนต่างด้าวซึ่งมีใบสำคัญประจำตัวที่ขาดต่ออายุแล้วก่อนวันใช้ พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 นั้น เมื่อใช้พระราชบัญญัติฉบับ พ.ศ.2493 แล้วก็ถือว่าใบสำคัญเก่านั้นถูกยกเลิกไป กรณีไม่เข้าตาม มาตรา 28 ต้องถือเป็นคนต่างด้าวไม่มีใบสำคัญตาม มาตรา 5 จึงไม่เป็นผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัว (เทียบฎีกาที่ 196/2499)
of 20