พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ คดีจึงขาดอายุความ
ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค คำแจ้งความที่ว่า มาแจ้งความร้องทุกข์เพื่อที่จะให้ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาให้ถึงที่สุด แต่ในชั้นนี้ผู้แจ้งยังไม่ขอมอบคดี โดยจะขอไปติดตามทวงถามด้วยตนเองอีก ถ้าได้รับการปฏิเสธการใช้เงินจะกลับมามอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการถึงที่สุด จึงขอลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานนั้น เห็นได้ว่าในวันที่มีการลงบันทึกประจำวัน เป็นการแจ้งไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น บันทึกดังกล่าวจึงมิใช่คำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมตามฟ้อง: ศาลมีดุลพินิจพิจารณาเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้คดีประกอบพฤติการณ์ดำเนินคดีได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดเป็นเงิน187,031บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1รับผิดเป็นเงิน139,000บาทโดยให้จำเลยที่5ร่วมรับผิดเป็นเงิน100,000บาทแม้จำเลยที่5ไม่ต้องรับผิดเต็มตามฟ้องแต่เมื่อคำนึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความประกอบกับพฤติการณ์ในการดำเนินคดีของจำเลยที่5แล้วศาลให้จำเลยที่5ร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเต็มตามฟ้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณา & ผลกระทบต่อการดำเนินคดี: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำสั่งจำหน่ายคดีตามความประสงค์จำเลย
ศาลกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และโจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้ว การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ถือได้ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ปกติศาลย่อมมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ แต่คดีนี้เมื่อศาลสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แล้วสอบถามจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 แถลงขอให้ยกฟ้องย่อมมีความหมายว่าจำเลยที่ 2 ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคสองการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความจึงเป็นการไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำหน่ายคดีแล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีมัสยิด: กรรมการหมดวาระ ย่อมขาดอำนาจดำเนินคดีแทน
คณะกรรมการมัสยิดได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 เมษายน2522 ซึ่งตามระเบียบว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ อิสลามประจำมัสยิด(สุเหร่า) และวิธีดำเนิน การอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด(สุเหร่า) พ.ศ.2492 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488 ข้อ 12 กำหนดให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ4 ปี ฉะนั้นการที่คณะกรรมการมัสยิดดังกล่าวมาประชุมกันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2526 และลงมติมอบอำนาจให้ พ.เป็นผู้แทนโจทก์เพื่อดำเนินคดีอันเป็นระยะเวลาที่ล่วงพ้นวาระในการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการมัสยิดไปแล้ว เช่นนี้จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจเพราะบุคคลเหล่านั้นมิได้อยู่ในฐานะเป็นกรรมการมัสยิดแล้ว จึงไม่มีผลทำให้มัสยิดโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ปัญหาที่ว่าคำสั่งของจำเลยในการถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ของโจทก์จะชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องขอคืนของกลาง: หนังสือมอบอำนาจต้องระบุชัดเจนถึงการดำเนินคดีต่อศาล
หนังสือมอบอำนาจท้ายคำร้องมีข้อความว่า.'.....ให้มีอำนาจในการขอรับเอารถยนต์ไถนาคันดังกล่าวจากพนักงานสอบสวนได้....ฯลฯ' เป็นการมอบอำนาจให้รับรถไถจากพนักงานสอบสวนมิได้มีการมอบอำนาจให้มายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีต่อศาลเพื่อขอคืนรถไถของกลาง เมื่อ ก. เจ้าของรถไถมิได้มอบอำนาจให้ ค. ยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีต่อศาลเพื่อขอรถไถของกลางคืน ค. จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้ต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดเพื่อดำเนินคดีแทน เป็นนิติกรรมขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ผู้ร้องร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ถอนการยึดทรัพย์โดยที่ผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียอยู่ในขณะที่มีการยึดทรัพย์ แต่เป็นผู้รับโอนสิทธิมาในระหว่างที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์รายพิพาทไว้แล้วโดยผู้ร้องเองก็ทราบดี เหตุที่มีการโอนก็เพราะผู้ซื้อทรัพย์รายพิพาทในระหว่างการยึดถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกไปสอบสวน เกรงจะมีข้อยุ่งยากจึงขอร้องให้ผู้ร้องซื้อทรัพย์รายพิพาทไว้ เห็นได้ว่าเป็นการโอนสิทธิในการดำเนินคดีให้ผู้ร้องเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียเพื่อดำเนินคดีแทนหรือซื้อขายความนั่นเอง จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุที่ประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะและปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเพื่อเก็บหลักฐานเช็ค ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ หากไม่ได้แสดงเจตนาให้ดำเนินคดี ทำให้ฟ้องคดีอาญาขาดอายุความ
ข้อความในรายงานประจำวันเป็นถ้อยคำที่โจทก์ผู้แจ้งได้เล่าเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ออกเช็คชำระหนี้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้รับความเสียหาย จึงนำเช็คมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานเกรงว่าเช็คจะขาดอายุความตำรวจรับแจ้งไว้และได้มอบเช็คคืนให้โจทก์รับไปในวันนั้น ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การมอบอำนาจดำเนินคดีต่อร้านค้า ย่อมรวมถึงเจ้าของร้าน
โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีแทน ในหนังสือมอบอำนาจมีความว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแก่ร้าน อ. เกี่ยวกับสินค้าที่ร้าน อ. สั่งซื้อไปจากโจทก์และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยประกอบกิจการค้าโดยใช้สมญานาม ว่า อ. จึงเห็นได้ว่า การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแก่ร้าน อ. ก็เท่ากับ โจทก์มอบอำนาจให้ป.ดำเนินคดีแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร้าน อ. นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การมอบอำนาจดำเนินคดีต่อร้านค้า ย่อมรวมถึงเจ้าของร้าน
โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีแทน ในหนังสือมอบอำนาจมีความว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแก่ร้าน อ. เกี่ยวกับสินค้าที่ร้าน อ. สั่งซื้อไปจากโจทก์และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยประกอบกิจการค้าโดยใช้สมญานาม ว่า อ. จึงเห็นได้ว่า การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแก่ร้าน อ. ก็เท่ากับ โจทก์มอบอำนาจให้ป.ดำเนินคดีแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร้าน อ. นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่านาตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา: การสิ้นสุดสัญญา และผลของการดำเนินคดี
โจทก์เช่านาจำเลยทำอยู่โดยไม่มีกำหนดเวลาก่อนพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ใช้บังคับ โจทก์จึงมีสิทธิในการเช่านาจำเลยมีกำหนดหกปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาหกปีแล้ว จะต้องมีการตกลงเช่ากันอีกเป็นคราว ๆ จึงจะมีสิทธิในการเช่าต่อไปอีกคราวละหกปี หาใช่ว่าเมื่อตกลงเช่ากันครั้งแรกและครบกำหนดหกปีแล้วต้องถือว่าได้มีการเช่านากันไปเรื่อย ๆ คราวละหกปีโดยไม่ต้องมีการตกลงเช่ากันแต่อย่างใดไม่
หลังจากสิ้นระยะเวลาการเช่านาแล้ว แม้จำเลยผู้ให้เช่าจะมิได้บอกเลิกการเช่านา แต่ปรากฏว่าขณะนั้นโจทก์จำเลยกำลังดำเนินคดีกันอยู่โดยโต้เถียงเกี่ยวกับการเช่านาระงับลงแล้วหรือไม่ และโจทก์ผู้เช่ามิได้ทำนาต่อไป จึงถือไม่ได้ว่ามีการเช่านากันต่อไปตามมาตรา 5
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์เลิกเช่านาจำเลยในพ.ศ. 2523 เป็นสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ล่วงหน้าเป็นเวลาเกินกว่าหกเดือนก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาจึงถือไม่ได้ว่ามีการตกลงเลิกการเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยตามความหมายของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาหกปีแล้ว จะต้องมีการตกลงเช่ากันอีกเป็นคราว ๆ จึงจะมีสิทธิในการเช่าต่อไปอีกคราวละหกปี หาใช่ว่าเมื่อตกลงเช่ากันครั้งแรกและครบกำหนดหกปีแล้วต้องถือว่าได้มีการเช่านากันไปเรื่อย ๆ คราวละหกปีโดยไม่ต้องมีการตกลงเช่ากันแต่อย่างใดไม่
หลังจากสิ้นระยะเวลาการเช่านาแล้ว แม้จำเลยผู้ให้เช่าจะมิได้บอกเลิกการเช่านา แต่ปรากฏว่าขณะนั้นโจทก์จำเลยกำลังดำเนินคดีกันอยู่โดยโต้เถียงเกี่ยวกับการเช่านาระงับลงแล้วหรือไม่ และโจทก์ผู้เช่ามิได้ทำนาต่อไป จึงถือไม่ได้ว่ามีการเช่านากันต่อไปตามมาตรา 5
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์เลิกเช่านาจำเลยในพ.ศ. 2523 เป็นสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ล่วงหน้าเป็นเวลาเกินกว่าหกเดือนก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาจึงถือไม่ได้ว่ามีการตกลงเลิกการเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยตามความหมายของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517