พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ผลผูกพันและขอบเขตการบังคับใช้
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้กฎหมายของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์มาบังคับแก่กรณี และดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงผูกพันลูกหนี้ เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดยไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศผูกพันลูกหนี้ และบังคับได้ในไทย หากไม่ขัดกฎหมาย
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มาบังคับแก่กรณีและดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงผูกพันลูกหนี้เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดยไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศผูกพันได้ หากไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้ กฎหมายของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ มาบังคับแก่กรณีและดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตาม ขั้นตอนขัดต่อ กฎหมายหรือขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ จึงผูกพันลูกหนี้เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดย ไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีลิขสิทธิ์ต่างประเทศ ต้องแสดงให้ชัดเจนว่ากฎหมายของประเทศนั้นคุ้มครองลิขสิทธิ์ของภาคีอื่นด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แถบบันทึกภาพของโจทก์ร่วมตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคี แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี อยู่ด้วย และกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่แถบบันทึกภาพนี้เช่นเดียวกัน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศพ.ศ. 2526 แต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเลยว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคี อื่น ๆแห่งอนุสัญญาดังกล่าว ถ้อยคำที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่า "...และกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของประเทศฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่แถบบันทึกภาพเช่นเดียวกัน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526"นั้นก็ไม่อาจจะให้แปลไปได้ว่า กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคี อื่น ๆแห่งอนุสัญญา ฉะนั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าแถบบันทึกภาพตามฟ้องมีสิทธิ์ ที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวด้วยงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานต่างประเทศสำคัญกว่าการกระทำ หากไม่มีเจตนา ไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางาน
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในฐานความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในความผิดฐานนี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคแรกนั้น ผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะจัดหางานให้คนงานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง แต่โจทก์บรรยายฟ้องในฐานความผิดฉ้อโกงว่า จำเลยทำอุบายจัดตั้งสำนักงานจัดหางานขึ้นดำเนิน ธุรกิจติดต่อ และจัดหางานเพื่อส่งไปทำงานต่างประเทศความจริงจำเลยมิได้จัดตั้งสำนักงานจัดหางานและไม่เคยติดต่องานในต่างประเทศเพื่อจัดส่งคนงานไปทำงานแต่อย่างใด จำเลยเพียงกล่าวอ้างขึ้นหลอกลวงประชาชนเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ได้ความแจ้งชัดว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยกล่าวอ้างการจัดตั้งสำนักงานจัดหางานขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหาย โดยหวังจะได้ค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528.
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคแรกนั้น ผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะจัดหางานให้คนงานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง แต่โจทก์บรรยายฟ้องในฐานความผิดฉ้อโกงว่า จำเลยทำอุบายจัดตั้งสำนักงานจัดหางานขึ้นดำเนิน ธุรกิจติดต่อ และจัดหางานเพื่อส่งไปทำงานต่างประเทศความจริงจำเลยมิได้จัดตั้งสำนักงานจัดหางานและไม่เคยติดต่องานในต่างประเทศเพื่อจัดส่งคนงานไปทำงานแต่อย่างใด จำเลยเพียงกล่าวอ้างขึ้นหลอกลวงประชาชนเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ได้ความแจ้งชัดว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยกล่าวอ้างการจัดตั้งสำนักงานจัดหางานขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหาย โดยหวังจะได้ค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานต่างประเทศสำคัญกว่าการกระทำ หากไม่มีเจตนาจริง แม้หลอกลวงก็ไม่ผิด พ.ร.บ. จัดหางาน
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในฐานความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในความผิดฐานนี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532มาตรา 13 การกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคแรกนั้นผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะจัดหางานให้คนงานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง แต่โจทก์บรรยายฟ้องในฐานความผิดฉ้อโกงว่า จำเลยทำอุบายจัดตั้งสำนักงานจัดหางานขึ้นดำเนิน ธุรกิจติดต่อ และจัดหางานเพื่อส่งไปทำงานต่างประเทศความจริงจำเลยมิได้จัดตั้งสำนักงานจัดหางานและไม่เคยติดต่องานในต่างประเทศเพื่อจัดส่งคนงานไปทำงานแต่อย่างใด จำเลยเพียงกล่าวอ้างขึ้นหลอกลวงประชาชนเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ได้ความแจ้งชัดว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยกล่าวอ้างการจัดตั้งสำนักงานจัดหางานขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหาย โดยหวังจะได้ค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2063/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยของผู้เกิดและเติบโตในต่างประเทศ: หลักฐานที่ไม่เพียงพอ
ผู้ร้องกับบิดาเดินทางไปประเทศ จีน ขณะที่ผู้ร้องอายุเพียง3 ขวบ เมื่อไปถึง ประเทศ จีน ได้ 2 เดือน บิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงอยู่กับย่า คนเดียวในประเทศ จีน ผู้ร้องไม่น่าจะจำได้ ว่ามีญาติพี่น้องชื่อ อะไรที่อยู่ในประเทศ ไทย ทั้งวันเดือน ปีเกิดและสถานที่เกิดในหนังสือเดินทางของผู้ร้องไม่ตรง กับสูติบัตรและทะเบียนบ้าน ในประเทศ ไทย จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเกิดในประเทศ ไทย .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานหรือไม่: ศาลฎีกาชี้ขาดคดีฉ้อโกงหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันจัดหางานให้ผู้เสียหายซึ่ง เป็นคนหางานไปทำงานในประเทศ สิงคโปร์ โดย เรียกและรับค่าบริการ แต่ ในความผิดฐาน ฉ้อโกงโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองโดย ทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วย การแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริง ซึ่ง ควรบอกให้แจ้งว่ามีงานให้ทำและจำเลยทั้งสองจะจัดให้ผู้เสียหายทำงานที่ประเทศ สิงคโปร์ อันเป็นความเท็จ ซึ่ง ความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำ จำเลยไม่มีเจตนาและไม่สามารถที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศ สิงคโปร์ ได้ เพราะจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตให้จัดหางานเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่ อย่างใดจำเลยทั้งสองเพียงแต่อ้างการจัดหางานเพื่อให้ได้ เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐาน จัดหางานโดย มิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528ดัง โจทก์ฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าวศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: บิดามารดายังมีอำนาจแม้ภูมิลำเนาต่างประเทศ
บุตรซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้อง อยู่ใต้ อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 แม้บิดามารดาของผู้เยาว์จะมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศก็ตาม เมื่อมิได้ถูกถอน อำนาจปกครอง ก็จะขอให้ศาลตั้ง ผู้ปกครองผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรยังคงเป็นของบิดามารดา แม้มีภูมิลำเนาต่างประเทศ ตราบใดที่ยังมิได้ถูกถอน
บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 แม้บิดามารดาของผู้เยาว์จะมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศก็ตามเมื่อมิได้ถูกถอนอำนาจปกครอง ก็จะขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1585 หาได้ไม่.