พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องทายาท: จำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิ หรือกระทำการละเมิดสิทธิของทายาท จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามคำฟ้องคงได้ความเพียงว่าจำเลยลงชื่อตนเองไว้ในโฉนดที่ดินอันเป็นมรดกของ อ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. เท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำการอย่างใดให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของ อ. ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าจำเลยปฏิเสธสิทธิดังกล่าวของโจทก์ การที่ผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของ อ. ตกลงกันให้ขายที่ดินพิพาทแล้วนำเงินไปใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆเงินส่วนที่เหลือให้นำมาแบ่งกันตามสำเนาบันทึกการประชุมนั้น ก็ยังไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่ยอมดำเนินการหรือดำเนินการโดยมิชอบแต่อย่างใด ที่โจทก์ขอให้ใส่ชื่อโจทก์ไว้ในโฉนดที่ดินในฐานะเจ้าของรวมเฉพาะส่วนเพียงเพื่อจะได้รับทราบเมื่อมีการขายที่ดินก็ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำเช่นนั้นได้ ทั้งยังอาจจะขัดต่อข้อตกลงตามสำเนาบันทึกการประชุมอีกด้วย การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องยังไม่ได้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ ถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์มรดกโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อทายาทอื่น
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าทายาทหลายคนไม่ได้ให้ความยินยอม จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสุจริต
เจ้ามรดกมีทายาทด้วยกัน 13 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทรวมถึงทายาทอื่นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 13 ส่วน จำเลยที่ 1มีอำนาจขายและจำนองที่ดินพิพาทส่วนของตนได้ จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม12 ใน 13 ส่วนเท่านั้น
เจ้ามรดกมีทายาทด้วยกัน 13 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทรวมถึงทายาทอื่นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 13 ส่วน จำเลยที่ 1มีอำนาจขายและจำนองที่ดินพิพาทส่วนของตนได้ จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม12 ใน 13 ส่วนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6128/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดก: สิทธิทายาท, ข้อตกลงระหว่างบุคคล, และขอบเขตการครอบครอง
ขณะที่จำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 7 มิถุนายน 2539 นั้น จำเลยได้กระทำในฐานะส่วนตัวและไม่ได้กระทำในฐานะผู้จัดการมรดก อีกทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยจะโอนที่พิพาทส่วนของจำเลยให้แก่วัด พ. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ด. เจ้ามรดกมีบุตร 2 คน คือ จำเลยกับ ส. ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกจาก ด. คนละครึ่งเช่นนี้ โจทก์จะมาฟ้องจำเลยให้โอนที่พิพาทส่วนของ ส. ให้แก่วัด พ. หาได้ไม่ อีกประการหนึ่งแม้จะได้ความว่า จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่ขณะที่ทำข้อตกลงกับโจทก์นั้นยังไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดก เมื่อศาลตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาก็เป็นการครอบครองแทน ส. นอกจากนี้การที่ ส. ทราบข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย ก็ไม่ได้หมายความว่า ส. มอบให้จำเลยเป็นผู้ตกลงทำสัญญายกที่พิพาทส่วนของ ส. ให้แก่วัด พ. แต่อย่างใดจึงพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่วัด พ. ได้เฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด ทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกได้แม้เกินอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกมิใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กระทำไปในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดีมรดกไม่ใช่คดีจัดการมรดก
เมื่อข้อเท็จจริงยังมีที่ดินมรดกอีก 3 แปลงที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการแบ่งให้ทายาทแสดงว่าการจัดการมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้แทนของทายาททั้งปวงโดยนำลักษณะตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทตาม มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1368 โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 ทั้งนี้ ตาม มาตรา 1748
เมื่อข้อเท็จจริงยังมีที่ดินมรดกอีก 3 แปลงที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการแบ่งให้ทายาทแสดงว่าการจัดการมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้แทนของทายาททั้งปวงโดยนำลักษณะตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทตาม มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1368 โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 ทั้งนี้ ตาม มาตรา 1748
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด ทายาทฟ้องเรียกทรัพย์ได้แม้เกินอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกมิใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กระทำไปในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดีมรดกไม่ใช่คดีจัดการมรดก
เมื่อข้อเท็จจริงยังมีที่ดินมรดกอีก 3 แปลงที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการแบ่งให้ทายาทแสดงว่าการจัดการมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้แทนของทายาททั้งปวงโดยนำลักษณะตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1368 โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 ทั้งนี้ ตามมาตรา 1748
เมื่อข้อเท็จจริงยังมีที่ดินมรดกอีก 3 แปลงที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการแบ่งให้ทายาทแสดงว่าการจัดการมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้แทนของทายาททั้งปวงโดยนำลักษณะตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1368 โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 ทั้งนี้ ตามมาตรา 1748
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรอการชำระค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกก่อน จึงมีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้างและทายาท
ป.พ.พ. มาตรา 425 เป็นบทบัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดของนายจ้างที่ต้องร่วมกับลูกจ้างรับผิดต่อความเสียหายที่บุคคลภายนอกได้รับจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างเท่านั้น แต่ในระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสิทธิของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างจะพึงมีต่อกันเพียงใดต้องเป็นไปตามมาตรา 426 ลูกจ้างขับรถของนายจ้างโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเสียหาย แต่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างยังไม่สามารถตกลงจำนวนค่าเสียหายและยังไม่ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เป็นลูกจ้างที่กระทำละเมิดตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่ง จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทและจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ค้ำประกันของลูกจ้างชำระค่าเสียหายส่วนนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: สิทธิทายาท vs. ผู้ครอบครองปรปักษ์ แม้มีสัญญาขายฝากแต่ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
คำพิพากษาในคดีก่อนที่ถึงที่สุดซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ อ. และ จ. เป็นโจทก์ฟ้อง พ. วินิจฉัยว่า พ. ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ที่ดินยังเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ที่ตกทอดแก่ทายาท จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิในที่ดินดีกว่า พ. โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีนั้นด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งแม้ในคดีดังกล่าวศาลจะมิได้พิพากษาเพิกถอนสัญญาขายฝากระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในใบแทนโฉนดที่ดินที่ พ. ขอออกมาใหม่ โดยฟังว่าโจทก์รับซื้อฝากโดยสุจริตและจดทะเบียนไว้โดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเพราะ พ. ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะทำสัญญาขายฝากให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. และ จ. ส่งมอบโฉนดอันเป็นเอกสารสิทธิของที่ดินและการที่จำเลยทั้งสามยึดถือโฉนดที่ดินไว้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิของทายาท และการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืน
เมื่อพิจารณาคำฟ้องรวมกันทั้งฉบับแล้วพอเข้าใจได้ว่า ขณะฟ้องคดี จ. ถึงแก่กรรมแล้ว และผู้จัดการมรดกของ จ. ไม่ยอมดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่ จ. และ น. บริจาคให้เป็นถนนรับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่กรมโยธาธิการและจังหวัดธนบุรีมิได้ใช้ที่ดินพิพาทตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงกลับมาเป็นของ จ. และ น. ตั้งแต่ก่อนที่ จ. จะถึงแก่กรรม ธ. บุตรของ จ. ซึ่งเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ จ. จึงต้องฟ้องคดีนี้ ถือได้ว่า ธ. ฟ้องคดีเองในฐานะทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องให้ผู้จัดการมรดกของ จ. เป็นผู้ฟ้อง
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
โจทก์และจำเลยต่างฎีกาและแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่ ประกอบกับคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบกันไว้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีให้เสร็จเด็ดขาดโดยไม่ย้อนสำนวน
จ. ได้อุทิศส่วนของตนในที่ดินพิพาทยกให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของ จ. ดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่บันทึกไว้ในรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินว่า แบ่งให้เป็นถนนเจริญนคร ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และตามมาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาคและ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ จ. เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะแล้ว ถึงหากจะเป็นโมฆียะอย่างใดก็ไม่อาจบอกล้างได้ ตามมาตรา 181 ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
โจทก์และจำเลยต่างฎีกาและแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่ ประกอบกับคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบกันไว้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีให้เสร็จเด็ดขาดโดยไม่ย้อนสำนวน
จ. ได้อุทิศส่วนของตนในที่ดินพิพาทยกให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของ จ. ดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่บันทึกไว้ในรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินว่า แบ่งให้เป็นถนนเจริญนคร ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และตามมาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาคและ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ จ. เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะแล้ว ถึงหากจะเป็นโมฆียะอย่างใดก็ไม่อาจบอกล้างได้ ตามมาตรา 181 ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกที่ดินให้มูลนิธิ/มัสยิดตัดสิทธิทายาทโดยธรรม การโอนกรรมสิทธิ์ตามเจตนาผู้ทำพินัยกรรม
ผู้สาบสูญได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้สุเหร่าคันนายาวต่อเมื่อได้ทำการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายตัดทายาทโดยธรรมของตนทุกคนมิให้รับมรดกในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคสอง เมื่อสุเหร่าคันนายาวได้จดทะเบียนเป็นมัสยิดจำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลในทำนองเดียวกับมูลนิธิตามที่ปรากฏในพินัยกรรม ย่อมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกที่ดินให้สุเหร่า/มัสยิดเพื่อประโยชน์สาธารณกุศล มีผลผูกพันทายาท แม้มิได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ
จ. ทำพินัยกรรมไว้ที่อำเภอระบุว่า ขอมอบที่ดินให้เป็นสมบัติแก่สุเหร่าคันนายาวเพื่อเก็บเงินซึ่งได้จากค่าเช่าที่ดินใช้เป็นประโยชน์ในทางกุศลของสุเหร่าคันนายาว จะทำการหักโอนให้เป็นสิทธิโดยสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อสุเหร่าคันนายาวได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เป็นการแสดงถึงเจตนาโดยแน่ชัดของจ. ว่า จะยกที่ดินให้แก่สุเหร่าคันนายาวเมื่อได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิแล้ว แม้ภายหลังจำเลยมิได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิแต่ก็ได้จดทะเบียนเป็นมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์การสาธารณกุศลตรงตามวัตถุประสงค์ของ จ. ที่ดินจึงตกเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ไม่มีอำนาจนำมาแบ่งปันแก่ทายาทโดยธรรมอีกต่อไป