พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก: การครอบครองและการลงชื่อในโฉนดไม่กระทบสิทธิเดิม
ฟ้องแบ่งแยกที่โดยอ้างว่า เป็นมรดกตกทอดมาแต่บรรพบุรุษและแบ่งแยกกันปกครองแล้ว ต่อมาได้ตกลงให้บิดาจำเลยลงชื่อในโฉนด แต่ที่ดินก็คงปกครองตามเดิมเป็นเวลากว่า 30 ปี แม้ทางพิจารณาปรากฏว่าบรรพบุรุษฝ่ายโจทก์ตายก่อนหรือหลังบิดาจำเลยลงชื่อในโฉนดก็ไม่เป็นข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้โจทก์แพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภิกษุมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินมรดก แม้การได้มาซึ่งที่ดินเกี่ยวข้องกับการยกให้
พระภิกษุได้รับมรดกที่ดินมาแล้วให้ผู้อื่นอาศัย. ย่อมฟ้องขับไล่ผู้อาศัยในระหว่างเป็นภิกษุได้. กรณีไม่เข้ามาตรา 1622, โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินซึ่งอ้างว่าเป็นของโจทก์ได้รับมรดกปกครองมา. แต่การนำสืบของโจทก์ปรากฏว่า บิดายกให้ดังนี้ไม่เป็นการนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินมรดกและขอบเขตที่พิพาท ศาลพิจารณาจากแผนที่และข้อตกลงเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินภายในเส้นสีแดงตามแผนที่ท้ายฟ้องซึ่งเป็นครึ่ง 1 ของสวนยางเป็นของโจทก์โดยจำเลยแบ่งให้จากการทำสวน ทางพิจารณาได้ความว่ายังไม่มีการแบ่งกัน ศาลก็พิพากษาได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของครึ่ง 1 ของที่สวนทั้งหมด ไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และครอบครองแทนในที่ดินมรดก ความยินยอมของเจ้าของร่วม
อย่างไรเรียกว่าปกครองปรปักษ์และปกครองแทน เทียบฎีกาที่ 586/63
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก: อายุความ, การโอน, และการแจ้งให้ทราบ
ที่ดินมฤดก อายุความไปขอโอนใส่ชื่อตนโดยผู้ได้เสียไม่รู้เห็นหรือทราบประกาศโฆษนาวิธีพิจารณาแพ่ง น่าทีนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7956/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีทุนทรัพย์: สิทธิเก็บกินในที่ดินมรดก ศาลฎีกาสั่งคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกเท่านั้น มิได้ขอให้ที่ดินพิพาทเป็นของตน หากฟังว่าโจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทก็ยังเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอยู่ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลทั้งสามชั้นศาลจากโจทก์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคืนค่าขึ้นศาลที่เรียกเก็บเกินมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11839/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องสิทธิในที่ดินมรดก: ตัวแทน, ทายาท, และอำนาจฟ้อง
ก. เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จึงเป็นหน้าที่ของ ก. จะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินที่ได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้นส่งคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง เมื่อ ก. ถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดก จึงชอบที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ก. ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737 ซึ่งกฎหมายไม่ได้บังคับว่าทายาทที่ถูกฟ้องจะต้องได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือต้องฟ้องทายาททุกคน และในกรณีที่โจทก์ไม่ได้เรียกผู้จัดการมรดกเข้ามา ก็อาจมีผลในการบังคับคดีต่อไปเท่านั้น ไม่ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6545/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินมรดก: ศาลมีอำนาจสั่งค่าขึ้นศาลในชั้นรับฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. โอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกให้โดยเสน่หาแก่จำเลยที่ 3 เพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ จ. ด้วย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาของที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างทายาทและผู้รับพินัยกรรม ไม่เข้าข่ายอายุความมรดก
ก่อน ช. กับ ห. จะมาอยู่กินกันฉันสามีภริยาต่างมีบุตรมาก่อนแล้ว โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งของ ช. จึงมีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ช. ส่วนจำเลยเป็นบุตรและเป็นผู้รับพินัยกรรมของ ห. ซึ่งยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ห. ให้แก่จำเลย ดังนี้ การที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ฟ้องจำเลยเพื่อขอให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็นสัดส่วนของแต่ละฝ่าย จึงมิใช่คดีมรดก จะนำอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้หาได้ไม่
ห. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้จำเลย หลังจาก ห. ถึงแก่กรรมจำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ห. ตามพินัยกรรมดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนของ ช. ที่โจทก์รับโอนมาในฐานะผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทอีกส่วนหนึ่งเป็นของ ช. ที่ตกทอดแก่ทายาทของ ช. รวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1364 ได้กำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจนแล้ว จึงต้องเป็นไปตามนั้น
ห. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้จำเลย หลังจาก ห. ถึงแก่กรรมจำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ห. ตามพินัยกรรมดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนของ ช. ที่โจทก์รับโอนมาในฐานะผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทอีกส่วนหนึ่งเป็นของ ช. ที่ตกทอดแก่ทายาทของ ช. รวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1364 ได้กำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจนแล้ว จึงต้องเป็นไปตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7993/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับพินัยกรรม vs. ผู้ปลูกสร้างบนที่ดินมรดก: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเหนือกว่า
ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่มีสิทธิรับมรดกของ ป. แต่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกที่ผู้คัดค้านที่ 2 ขอเป็นผู้จัดการมรดก ป. ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 แล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกดังกล่าว การที่ ป. อนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกไม่มีผลผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก