คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธนาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6708/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารและลูกจ้างจากการจ่ายเช็คปลอม และความเสียหายจากเช็คหาย
ป.เป็นเพียงลูกจ้างของโจทก์ มีหน้าที่ในการขับรถ ไม่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อในเช็คของโจทก์แทนโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมในการปลอมลายมือชื่อในเช็คพิพาท นอกจากนี้ ป.เบิกเงินตามเช็คพิพาทไปตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2529ดังนั้นแม้ ว.และ ส.ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จะได้ทราบว่าเช็คพิพาทหายไปจากสมุดเช็คในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2529 ก็ตาม ว.และ ส.ก็แจ้งให้ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาเมืองพานทราบเพื่อไม่ให้จ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวไม่ทันอยู่ดี การที่ว.และ ส.มิได้แจ้งให้ธนาคารจำเลยที่ 1 ทราบว่าเช็คพิพาทถูกลักจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ก่อความเสียหายขึ้นโดยตรง โจทก์จึงไม่เป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1 จ่ายเงินของจำเลยที่ 1 ไปโดยประมาทเลินเล่อไม่ตรวจดูลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อของผู้แทนโจทก์ที่ให้ไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 1ให้ดีเสียก่อนนั้น เป็นเพียงเหตุที่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายไม่อาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารโจทก์ได้เท่านั้น จึงเป็นกรณีจำเลยที่ 2และที่ 3 ทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำละเมิดต่อโจทก์ไม่เพราะโจทก์ยังคงมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาฝากเงินตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันได้ตามกฎหมายต่อเมื่อธนาคารจำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีของโจทก์และปฏิเสธที่จะคืนเงินให้โจทก์ตามจำนวนเงินที่เหลืออยู่เดิมจึงได้ก่อข้อโต้แย้งสิทธิตามสัญญาฝากเงินขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ หาใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำละเมิดต่อโจทก์ขึ้นตั้งแต่ที่จ่ายเงินไปโดยประมาทเลินเล่อนั้นไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดฐานละเมิด ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6708/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ หากจ่ายเช็คปลอมโดยประมาท แต่ความเสียหายเกิดกับธนาคารเอง โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารเท่านั้น
ป.เป็นเพียงลูกจ้างของโจทก์ มีหน้าที่ในการขับรถไม่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อในเช็คของโจทก์แทนโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมในการปลอมลายมือชื่อในเช็คพิพาท นอกจากนี้ ป.เบิกเงินตามเช็คพิพาทไปตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน2529 ดังนั้นแม้ ว.และส.ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จะได้ทราบว่าเช็คพิพาทหายไปจากสมุดเช็คในวันที่27 พฤศจิกายน 2529 ก็ตาม ว.และส.ก็แจ้งให้ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาเมืองพานทราบเพื่อไม่ให้จ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวไม่ทันอยู่ดี การที่ ว.และส. มิได้แจ้งให้ธนาคารจำเลยที่ 1 ทราบว่าเช็คพิพาทถูกลักจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ก่อความเสียหายขึ้นโดยตรง โจทก์จึงไม่เป็นผู้ตัองตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1 จ่ายเงินของจำเลยที่ 1 ไปโดยประมาทเลินเล่อไม่ตรวจดูลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อของผู้แทนโจทก์ที่ให้ไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 1 ให้ดีเสียก่อนนั้นเป็นเพียงเหตุที่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายไม่อาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารของโจทก์ได้เท่านั้นจึงเป็นกรณีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ เพราะโจทก์ยังคงมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาฝากเงินตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันได้ตามกฎหมายต่อเมื่อธนาคารจำเลยที่ 1หักเงินจากบัญชีของโจทก์และปฏิเสธที่จะคืนเงินให้โจทก์ตามจำนวนเงินที่เหลืออยู่เดิมจึงได้ก่อข้อโต้แย้งสิทธิตามสัญญาฝากเงินขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ หาใช่จำเลยที่ 2และที่ 3 ทำละเมิดต่อโจทก์ขึ้นตั้งแต่ที่จ่ายเงินไปโดยประมาทเลินเล่อนั้นไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3ให้รับผิดฐานละเมิด ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6704/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารต่อการลักทรัพย์ในตู้นิรภัยจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นธนาคารประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินอันเป็นธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับและจ่ายเงิน แต่การลักทรัพย์ที่อยู่ในตู้นิรภัยของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ที่ 1เช่าเก็บทรัพย์สินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมิใช่งานในหน้าที่ของจำเลยที่ 4การที่จำเลยที่ 4 ลักทรัพย์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ที่ 1 กับ น.เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์นั้น ทุกครั้งที่โจทก์ที่ 1 กับ น.ภริยาโจทก์ที่ 1 นำทรัพย์ไปเก็บโจทก์ที่ 1 กับ น. มิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เก็บให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ก็มิได้มีส่วนรู้เห็นว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. นำทรัพย์อะไรไปเก็บไว้บ้าง เมื่อโจทก์ที่ 1กับ น. ต้องการนำทรัพย์ที่เก็บไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลับคืนก็ไปนำกลับมาเองโดยโจทก์ที่ 1 กับ น.เพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารมาร่วมไขเปิดตู้นิรภัยด้วยเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 มิได้ทำการส่งมอบทรัพย์คืน สัญญาเช่าตู้นิรภัยจึงมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 657
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์ แล้วจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ดูแลกุญแจธนาคารให้ดี ปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจธนาคารไปไขตู้นิรภัยของโจทก์ แล้วลักเอาทรัพย์ที่เก็บไว้ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจต้นแบบของธนาคารและมีหน้าที่นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยร่วมกับลูกค้าของธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยเองตามลำพังเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ถือโอกาสลักกุญแจของโจทก์ที่ 1 และ น. มาเปิดตู้นิรภัยลักเอาทรัพย์มีค่าของโจทก์ที่ 1 และ น.ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลเยที่ 3 ต่อโจทก์ทั้งสองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6249/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด: การตัดบัญชีหนี้สินและดอกเบี้ยระหว่างธนาคารกับลูกค้า
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ 11 มีข้อความว่า ถ้าบัญชีของผู้ฝากมีเงินไม่พอจ่ายตามเช็ค ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งมีสิทธิที่จะปิดบัญชีของผู้ฝาก โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และยินยอมให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คไปก่อนได้ถึงแม้ว่าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่าย โดยผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนพร้อมทั้งยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ขณะนั้น นับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินโดยที่เจ้าของบัญชีจะรับทราบหรือไม่ก็ตามข้อ 16 มีใจความว่า ให้ธนาคารมีสิทธิหักหนี้สินใด ๆ ที่ผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคารอยู่ และข้อ 17 มีใจความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝาก เมื่อพิจารณาข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะเดินสะพัดบัญชีกัน ดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเปิดบัญชี - อำนาจของผู้เปิดบัญชี - ความรับผิดของห้างหุ้นส่วน
คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อความกำหนดไว้ว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันต้องส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงถึงรายนามผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ และอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของโจทก์ที่กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้แก่กรณีที่ผู้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยเฉพาะข้อกำหนดดังกล่าวมีไว้เพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้ทราบว่าผู้ที่โจทก์เข้าทำสัญญาด้วยเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจริง และผู้มาขอเปิดบัญชีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนห้างดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญของการเข้าทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ใช้เช็คของโจทก์ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ตามสัญญาหากมีต่อไปได้ แต่โจทก์กลับไม่เรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ส่งหนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คงเชื่อเพียงข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1เพราะเหตุที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 มาด้วยเท่านั้น เป็นการที่โจทก์เข้าทำสัญญานั้นทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และตราประทับนั้นเป็นตราของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ ตลอดจนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จะมีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร ซึ่งหากโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามที่โจทก์กำหนดไว้เอง โจทก์ก็จะทราบได้โดยง่ายว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ต้องเสียหายเพราะการที่ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีในนามของจำเลยที่ 1 ประกอบกับไม่ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมายื่นคำขอเปิดบัญชี จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อกับโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 มาก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้นำเงินที่เบิกจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตลอดจนไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นใดในขณะที่จำเลยที่ 2 มาขอเปิดบัญชีกับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามป.พ.พ. มาตรา 821 กรณีจึงไม่อาจให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเปิดบัญชีให้ผู้ไม่มีอำนาจ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อความกำหนดไว้ว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันต้องส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงถึงรายนามผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ และอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของโจทก์ที่กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้แก่กรณีที่ผู้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยเฉพาะข้อกำหนดดังกล่าวมีไว้เพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้ทราบว่าผู้ที่โจทก์เข้าทำสัญญาด้วยเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจริงและผู้มาขอเปิดบัญชีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนห้างดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญของการเข้าทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ใช้เช็คของโจทก์และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาหากมีต่อไปได้แต่โจทก์กลับไม่เรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ส่งหนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คงเชื่อเพียงข้ออ้างของจำเลยที่ 2ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เพราะเหตุที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 มาด้วยเท่านั้น เป็นการที่โจทก์เข้าทำสัญญานั้นทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และตราประทับนั้นเป็นตราของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ตลอดจนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จะมีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารซึ่งหากโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามที่โจทก์กำหนดไว้เอง โจทก์ก็จะทราบได้โดยง่ายว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ต้องเสียหายเพราะการที่ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีในนามของจำเลยที่ 1 ประกอบกับไม่ปรากฎว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมายื่นคำขอเปิดบัญชี จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อกับโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 มาก่อน ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้นำเงินที่เบิกจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตลอดจนไม่ปรากฎพฤติการณ์อื่นใดในขณะที่จำเลยที่ 2 มาขอเปิดบัญชีกับโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821กรณีจึงไม่อาจให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารต่อเช็คปลอม: การประมาทของผู้สั่งจ่ายไม่ถึงขั้นตัดสิทธิการต่อสู้
ธนาคารจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมไปเหตุแห่งความเสียหายเกิดจากการปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเช็คและจำเลยจ่ายเงินตามเช็คปลอมฉบับนั้น แม้การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดี ผู้ร้ายจะหาโอกาสสลักเช็คไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ยากก็ตาม แต่ความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่ปลอมเช็ค การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดี จึงไม่ใช่ผลโดยตรงที่จะให้บังเกิดการปลอมเช็คและนำไปขึ้นเงินได้สำเร็จ โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในกระป๋องขนมปังบนโต๊ะทำงานของโจทก์ ซึ่งโจทก์และพนักงานใช้เป็นที่ทำงาน มีคนเข้าออกภายในห้องหลายคน ส่วนใหญ่พนักงานทุกคนทราบก็เป็นเพียงแต่ขาดความรอบคอบในการเก็บรักษาสมุดเช็คเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทอันจะถือว่าเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 และแม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อเช็คเกิดสูญหายและมีผู้ไม่สุจริตไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย แต่เมื่อโจทก์มิได้กระทำโดยประมาท จำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้นและการพิจารณาคดีใหม่
ตามระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ 2 มีข้อความว่า การฝากเงินผู้ฝากต้องกรอกรายการลงในใบนำฝากตามแบบของธนาคาร ข้อ 6 มีข้อความว่าการถอนเงินต้องกระทำโดยใช้เช็คหรือเอกสารสั่งจ่ายอย่างอื่นที่ธนาคารอนุมัติให้ใช้ได้ ข้อ 11 มีข้อความว่า เมื่อธนาคารจ่ายเงินตามเช็คทั้ง ๆ ที่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอแล้ว ผู้ฝากตกลงและยินยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนให้ธนาคารพร้อมทั้งยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่ง-ประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ในขณะนั้นนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินเป็นต้นไป ข้อ 17 มีข้อความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝากเดือนละครั้ง และข้อ 20 มีข้อความว่า ให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปปฏิบัติมาใช้บังคับถึงการฝากและถอนเงินตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันคดีนี้ด้วยและธนาคารยังได้สงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของผู้ฝากเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ธนาคารจะเห็นสมควร ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวแสดงว่า นับแต่ที่จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝาก-กระแสรายวันกับโจทก์แล้ว โจทก์จำเลยตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีตามบัญชี-เงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวสืบไปโดยจำเลยใช้ใบฝากเงินตามแบบของโจทก์ในการฝากเงิน และใช้เช็คในการเบิกถอนเงินจากบัญชีของจำเลย หากโจทก์จ่ายเงินตามเช็คไปทั้งที่เงินในบัญชีไม่เพียงพอ จำเลยก็ตกลงจะใช้เงินที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีไปคืนให้โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาต นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินเป็นต้นไป ทั้งนี้โดยโจทก์จะจัดส่งรายการเดินสะพัดทางบัญชีเงินฝากไปยังจำเลยเดือนละหนึ่งครั้งการฝากและการถอนเงินจากบัญชี-กระแสรายวันดังกล่าวนี้โจทก์จำเลยตกลงให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปถือปฏิบัติมาใช้บังคับด้วย และโจทก์ยังสงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของจำเลยเมื่อใดก็ได้ความผูกพันระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่คงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 แล้ว โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันตามฟ้องได้ตามประเพณี-การค้าขายของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
แต่ปัญหาดังกล่าว ศาลล่างทั้งสองยังมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เมื่อปรากฎว่าคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา ฎีกาโจทก์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ในประเด็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวนี้เสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเช็คคืน: สิทธิของธนาคารภายใต้ประกาศสมาคมธนาคารไทยและข้อตกลงกับลูกค้า
ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14(1) ถึง(5) นั้น ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยประสงค์จะกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องใด ก็จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเสียก่อน เพื่อเป็นการควบคุมการประกอบกิจการของธนาคารพาณิชย์ ถ้าธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจึงจะมีความผิดตามมาตรา 44 แต่ถ้าไม่มีประกาศกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติ ก็เท่ากับไม่มีข้อกำหนด คู่สัญญาคือธนาคารกับลูกค้าจะตกลงกันอย่างไรก็ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายถูกธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงิน 2 ครั้ง เพราะเงินในบัญชีของโจทก์มีไม่พอจ่าย ถือว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาแล้วจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเช็คคืนจากโจทก์ตามประกาศของสมาคมธนาคารไทย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยรับรองให้ใช้บังคับได้ ประกาศของสมาคมธนาคารไทยนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนำมาใช้กับลูกค้าทุกธนาคาร โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังนั้น ที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเช็คคืนจากโจทก์ตามประกาศของสมาคมธนาคารไทย จำนวน 100 บาท จึงชอบด้วยกฎหมายการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเบิกเกินบัญชีธนาคาร: การผูกพันตามเงื่อนไขการเปิดบัญชีและดอกเบี้ย
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยยื่นไว้ต่อธนาคารโจทก์และเงื่อนไขการรับเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของผู้ฝากไปผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่จ่ายเกินบัญชีนั้นให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินนั้นเป็นต้นไป ถือว่าได้มีข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้าแล้วว่าเมื่อจำเลยออกเช็คเบิกเงินเกินจำนวนในบัญชีและโจทก์ยอมจ่ายเงินตามนั้น จำเลยตกลงจ่ายเงินส่วนที่เกินจากเงินในบัญชีคืนแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินเกินจำนวนในบัญชีของจำเลยและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คนั้นไป จำเลยจึงต้องจ่ายเงินที่เกินบัญชีแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเพราะไม่ได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเป็นเพียงหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน จึงเป็นเพียงคำเสนอฝ่ายเดียวของจำเลยในการขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
of 40