คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บรรยายฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จและหมิ่นประมาทจากคำบรรยายฟ้อง: การอธิบายความหมายถ้อยคำไม่ถือเป็นยืนยันข้อเท็จจริง
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ คือ 'ถ้อยคำพูด' ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องที่ไม่เป็นเท็จและการไม่มีเจตนาหมิ่นประมาท ไม่ถือเป็นความผิดฟ้องเท็จหรือหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่นหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ประกอบด้วยแล้วแสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศคือ "ถ้อยคำพูด" ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้นเมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3769/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีทำร้ายร่างกายต้องระบุรายละเอียดความรุนแรงของบาดแผลเพื่อให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้มีดดาบฟันผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าและโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่การกระทำไม่บรรลุผลเพราะผู้เสียหายยกแขนขึ้นปิดป้องคมมีดจึงถูกที่แขนของผู้เสียหาย และผู้เสียหายหลบหนีไปได้ มิได้บรรยายมาในฟ้องให้เห็นว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสอย่างไร ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ไม่ได้คงลงโทษได้ตามมาตรา 295 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย: การมอบอำนาจ การพิสูจน์หลักฐาน และการบรรยายฟ้องที่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7 ฟ้องคดีล้มละลาย โจทก์ที่ 7 ในฐานะตัวแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 จึงไม่มีอำนาจมอบให้โจทก์ที่ 10 ฟ้องคดีล้มละลายได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 กับจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยจำเลยผู้สั่งจ่ายนำไปแลกเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คหลายครั้ง จำเลยเพิกเฉย แจ้งว่าไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดและเข้าหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, หนังสือมอบอำนาจ, การบรรยายฟ้องชัดเจน, ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7 ฟ้องคดีล้มละลาย โจทก์ที่ 7 ในฐานะตัวแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 จึงไม่มีอำนาจมอบให้โจทก์ที่ 10 ฟ้องคดีล้มละลายได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 กับจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยจำเลยผู้สั่งจ่ายนำไปแลกเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คหลายครั้ง จำเลยเพิกเฉย แจ้งว่าไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดและเข้าหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าหลายกรรมต่างวาระ ศาลพิจารณาการบรรยายฟ้องและเจตนาของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายบทหลายกระทงต่างกรรมกัน แล้วบรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดฐานพยายามฆ่าว่าจำเลยบังอาจใช้อาวุธปืนพกยิงประทุษร้าย ส. และ ท. หลายนัดโดยมีเจตนาฆ่าบุคคลทั้งสองและคำขอท้ายคำฟ้องระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 80, 288 ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะให้ศาลลงโทษจำเลยในการใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 2 คนเป็นความผิดหลายกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็ค: วันที่กระทำผิดต้องหลังวันที่ออกเช็ค การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนทำให้ศาลยกฟ้อง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหายเมื่อเดือนธันวาคม 2528 สั่งจ่ายเงินในวันที่ 15 มกราคม 2528 และผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปเบิกเงินจากธนาคารตามเช็คในวันที่4 เมษายน 2528 ในวันเดียวกันเวลากลางวัน ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค วันที่ความผิดเกิดก็คือวันที่ 4 เมษายน 2528ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งเป็นวันที่ย้อนหลังจากวันที่จำเลยมอบเช็คให้ผู้เสียหาย จึงเป็นไปไม่ได้ที่วันที่กระทำผิดจะเกิดก่อนวันที่จำเลยมอบเช็คพิพาทให้ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นความผิด กรณีเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลพิพากษายกฟ้องได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2530 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหมิ่นประมาทด้วยคำพูดและการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับการบรรยายฟ้องและข้ออุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) วรรคสอง บัญญัติว่า ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียน หรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์ติดมาท้ายฟ้องนั้น เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงถ้อยคำที่จำเลยกล่าวอันเป็นข้อสำคัญที่ทำให้เห็นว่า เป็นการหมิ่นประมาท ก็ย่อมเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่จำต้องแนบเอกสารที่ถอดข้อความจากเทปบันทึกเสียงติดมาท้ายฟ้องด้วย เพราะเป็นการหมิ่นประมาทด้วยถ้อยคำพูด มิใช่หมิ่นประมาทด้วยหนังสือ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองบัญญัติว่า อุทธรณ์ทุกฉบับต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อความที่จำเลยพูดเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้คงอุทธรณ์ในข้ออื่นเท่ากับจำเลยยอมรับว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานี้ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ จำเป็นต้องบรรยายองค์ประกอบความผิดชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยกับพวกบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านของโจทก์ โจทก์ห้ามปรามแล้วไม่ยอมเชื่อฟังกลับร่วมกันตีไม้สำหรับทำนั่งร้านเพื่อทำงานของตนคร่อมเข้าไปในบริเวณหลังคาบ้านโจทก์ โดยโจทก์มิได้บรรยายว่าเป็นการเข้าไปเพื่อยึดถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข อันเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิดฐานบุกรุกในข้อสาระสำคัญตาม ป.อ. มาตรา 362 ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยมาตรา158(5) แห่ง ป.วิ.อ.
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาโจทก์ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากปล้นทรัพย์เป็นทำร้ายร่างกาย ศาลมีอำนาจลงโทษตามบรรยายฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันใช้ไม้ตีและชกต่อยผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย
of 33