พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคาร เนื่องจากไม่ก่อสร้างตามกำหนด แม้จะอ้างเหตุขยายเวลา แต่เป็นความผิดจำเลยเอง โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทระบุว่า จำเลยจะก่อสร้างอาคารที่ตกลงจะซื้อจะขายให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับจากวันทำสัญญา แต่เมื่อระยะเวลาสิ้นสุดลงจำเลยยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างอาคาร ทั้งที่โจทก์ชำระค่างวดแก่จำเลยตลอดมาทั้ง 24 งวด ย่อมฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วส่วนที่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า ผู้จะซื้อตกลงว่ากำหนดระยะเวลา24 เดือน ดังกล่าว สามารถขยายออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ต้องล่าช้าอันเนื่องมาจากระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ความล่าช้าในการขอรับใบอนุญาต หรือการอนุมัติที่จำเป็นใด ๆ จากทางราชการรวมทั้งการปฏิบัติผิดสัญญาของผู้รับเหมาหรือสถานการณ์เหตุการณ์อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้จะขาย ตามข้อสัญญานั้นหมายความว่าเหตุจำเป็นที่จะสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้เท่ากับเหตุที่ล่าช้านั้นต้องไม่ใช่เป็นเพราะความผิดของจำเลยเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อบอกเลิก & โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าจะเลิกสัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ จะสิ้นสุดลงเมื่อคู่สัญญาบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและเรียกร้องให้หักทอนบัญชีรวมทั้งชำระหนี้ที่มีต่อกันโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาเลิกกัน การที่จำเลยที่ 1 ไม่นำเงินฝากเข้าและไม่ถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมีผลผูกพันจนถึงวันสุดท้ายที่โจทก์กำหนดในหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3686/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างและสิทธิในการริบหลักประกัน กรณีลูกหนี้ไม่เริ่มทำงานตามสัญญา
ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งมอบหินคลุกให้แก่เจ้าหนี้เลย เจ้าหนี้จึงบอกเลิกสัญญา ดังนี้เจ้าหนี้คงมีสิทธิ ริบหลักประกันและเรียกค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้ตามสัญญาข้อ 20 เท่านั้น หาใช่กรณีลูกหนี้ทำงานตามสัญญาแล้ว ส่งมอบงานล่าช้าที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิปรับเป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า - การบอกเลิกสัญญา - เงื่อนเวลา - การก่อสร้างอาคาร - การเช่าช่วง - สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
สัญญาเช่าที่ดินกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 9,000 บาท แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้ที่ดินที่ให้จำเลยเช่าเดือนละ 20,000 บาท จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ได้เสียหายในการไม่ได้ใช้ที่ดินถึงเดือนละ 20,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กลับอุทธรณ์โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นจะนำข้อเท็จจริงที่จำเลยนำที่ดินไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงในอัตราค่าเช่าเดือนละ 150,000 บาท มาเป็นเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่ได้ จะต้องกำหนดค่าเสียหายตามอัตราค่าเช่าที่กำหนดในสัญญาเช่า โดยจำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่อาจนำที่ดินให้ผู้อื่นเช่าในอัตราค่าเช่าเดือนละ 20,000 บาท ได้ จึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าขณะฟ้องคดีนี้ที่ดินที่จำเลยเช่าอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาท โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างสำนักงานและโรงงาน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่ายอมให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์ โดยมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้
หลังจากทำสัญญาเช่าแล้ว จำเลยไม่ยอมก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่า โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทำการก่อสร้างหลายครั้ง จำเลยก็เพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่า กรณีดังกล่าวนิติกรรมส่วนที่โจทก์จะได้รับประโชน์ตอบแทนตามสัญญานั้นเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ คือ กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างจะตกเป็นของโจทก์ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จึงไม่อาจทวงถามให้จำเลยปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นก่อนถึงเวลาที่กำหนด ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง ได้ และการที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่ดินก่อนที่จะครบกำหนดเวลาเช่านั้น แม้จำเลยจะไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ไม่อาจอาศัยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 387 มาบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยได้ เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาเนื่องจากตามสัญญามิได้กำหนดระยะเวลาไว้
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างสำนักงานและโรงงาน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่ายอมให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์ โดยมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้
หลังจากทำสัญญาเช่าแล้ว จำเลยไม่ยอมก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่า โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทำการก่อสร้างหลายครั้ง จำเลยก็เพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่า กรณีดังกล่าวนิติกรรมส่วนที่โจทก์จะได้รับประโชน์ตอบแทนตามสัญญานั้นเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ คือ กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างจะตกเป็นของโจทก์ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จึงไม่อาจทวงถามให้จำเลยปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นก่อนถึงเวลาที่กำหนด ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง ได้ และการที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่ดินก่อนที่จะครบกำหนดเวลาเช่านั้น แม้จำเลยจะไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ไม่อาจอาศัยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 387 มาบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยได้ เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาเนื่องจากตามสัญญามิได้กำหนดระยะเวลาไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผู้ให้เช่าไม่สามารถส่งมอบห้องพักและทำสัญญาเช่าช่วงได้
จำเลยให้การในข้อที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ยอมไปทำการจดทะเบียนการเช่าช่วงหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทแล้วเสร็จตามสัญญาซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยอ้างมาในฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์และจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพราะโจทก์และจำเลยมิได้ถือเอา ระยะเวลาการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญตามข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกา ถือว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยชอบแล้ว
ตามสัญญาจองสิทธิการเช่าช่วงข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ว่า "ผู้ให้เช่า (จำเลย) สัญญาว่าจะดำเนินการก่อสร้างอาคารให้เสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2539 แต่หากระยะเวลาการก่อสร้างจะต้องขยายออกไปเนื่องจาก เหตุจำเป็นใด ๆ ของผู้ให้เช่าแล้ว ระยะเวลาที่ขยายออกไปนั้นจะต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดเวลาก่อสร้างดังกล่าว" และในวรรคสามได้ระบุไว้ว่า "แต่หากผู้ให้เช่า (จำเลย) ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้น และไม่สามารถทำสัญญาเช่าช่วงหรือส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่ผู้เช่า (โจทก์) ได้ตามสัญญานี้ อันเนื่องจากความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้?" พอเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องก่อสร้างอาคารพิพาทให้แล้วเสร็จสมบูรณ์อย่างช้าภายในเดือนมกราคม 2540 พร้อมทั้งทำสัญญาเช่าช่วงและส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย มิฉะนั้นโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่ไม่หมายความว่าจำเลยจะส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่โจทก์หรือทำสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาก่อสร้างอาคารพิพาทแล้วเมื่อใดก็ได้
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตามข้อกำหนดในสัญญา ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลย ไม่สามารถส่งห้องพักอาศัยแก่โจทก์หรือทำสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์ได้ในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ได้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้างวดที่ 1 จำนวน 34,000 บาท แก่จำเลยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 แต่ศาลล่าง ทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 4 มีนาคม 2536 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับต้นเงิน โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมิอาจพิพากษาแก้ไขให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์และจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพราะโจทก์และจำเลยมิได้ถือเอา ระยะเวลาการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญตามข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกา ถือว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยชอบแล้ว
ตามสัญญาจองสิทธิการเช่าช่วงข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ว่า "ผู้ให้เช่า (จำเลย) สัญญาว่าจะดำเนินการก่อสร้างอาคารให้เสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2539 แต่หากระยะเวลาการก่อสร้างจะต้องขยายออกไปเนื่องจาก เหตุจำเป็นใด ๆ ของผู้ให้เช่าแล้ว ระยะเวลาที่ขยายออกไปนั้นจะต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดเวลาก่อสร้างดังกล่าว" และในวรรคสามได้ระบุไว้ว่า "แต่หากผู้ให้เช่า (จำเลย) ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้น และไม่สามารถทำสัญญาเช่าช่วงหรือส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่ผู้เช่า (โจทก์) ได้ตามสัญญานี้ อันเนื่องจากความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้?" พอเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องก่อสร้างอาคารพิพาทให้แล้วเสร็จสมบูรณ์อย่างช้าภายในเดือนมกราคม 2540 พร้อมทั้งทำสัญญาเช่าช่วงและส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย มิฉะนั้นโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่ไม่หมายความว่าจำเลยจะส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่โจทก์หรือทำสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาก่อสร้างอาคารพิพาทแล้วเมื่อใดก็ได้
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตามข้อกำหนดในสัญญา ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลย ไม่สามารถส่งห้องพักอาศัยแก่โจทก์หรือทำสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์ได้ในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ได้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้างวดที่ 1 จำนวน 34,000 บาท แก่จำเลยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 แต่ศาลล่าง ทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 4 มีนาคม 2536 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับต้นเงิน โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมิอาจพิพากษาแก้ไขให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2941/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมการพัฒนาสาธารณูปโภค หากผู้ขายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเงินคืนได้
โจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโครงการ ม. โดยตกลงจะผ่อนชำระค่าที่ดินแก่จำเลยเป็นรายเดือนรวม 24 งวด เมื่อพิจารณาตามข้อสัญญาเห็นว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินธรรมดา กล่าวคือ ผู้จะซื้อจะต้องผ่อนชำระเงินค่าที่ดินตามเวลาที่กำหนดในสัญญา ในขณะเดียวกันผู้จะขาย (จำเลย) ก็จะต้องดำเนินการจัดให้มีระบบสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ ตลอดจนสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ออกกำลังกายและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของผู้จะซื้อที่ดินในโครงการในระหว่างที่โจทก์ผ่อนชำระราคาค่าที่ดินและต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสมควร แม้ว่าในสัญญาจะมิได้ระบุวันเวลาที่แล้วเสร็จสมบูรณ์ของโครงการไว้ก็ตาม ซึ่งในกรณีเช่นนี้น่าจะอนุมานได้ว่าจำเลยจะต้องดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระค่าที่ดินแก่จำเลยครบ 24 งวด หรือภายใน 2 ปี เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินการจัดให้มีระบบสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ ตลอดจนสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ออกกำลังกายและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในเวลาอันควร จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโดยสภาพของโครงการหรือโดยเจตนาที่จำเลยได้แสดงออกก็ไม่อาจเป็นที่คาดหมายได้ว่าจำเลยจะดำเนินการตามโครงการดังกล่าวไว้แล้วเสร็จสมบูรณ์ได้เมื่อใด จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะต้องให้โจทก์บอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการตามโครงการต่อไปอีก เพราะถึงอย่างไรจำเลยก็ไม่สามารถชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาได้ ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่คืนเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์จองซื้อห้องชุดจากจำเลย 1 ห้อง โดยจองซื้อห้องชุดชั้น 7 ของโพเดียม แต่จำเลยมิได้ทำการก่อสร้างชั้น 7 ตามสัญญา ซึ่งจำเลยอ้างว่าในแผ่นโฆษณามีข้อความระบุว่า บริษัทฯ สงวนสิทธิที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพิ่มเติม โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่สิทธิของจำเลยนั้น หมายถึงเฉพาะสิทธิแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียด หาใช่สิทธิแก้ไขโครงสร้างในสาระสำคัญถึงขนาดเปลี่ยนแปลงตัดทอนชั้นของอาคาร เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า ถึงแม้ทางบริษัทจำเลยมิได้ทำการก่อสร้างห้องชุดชั้น 7 แต่ได้จัดสรรห้องชุดอื่น ๆ แทนห้องชุดเดิมไว้ก็ตาม โจทก์มีสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาห้องชุดในชั้นอื่นที่จำเลยเสนอ การที่จำเลยไม่ก่อสร้างห้องชุดชั้น 7 ให้โจทก์ จึงเป็นการกระทำผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาที่โจทก์จองซื้อห้องชุดนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยมีหนี้ที่ต้องชำระโดยก่อสร้างอาคารแก่โจทก์ตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้อย่างแน่แท้จึงเป็นกรณีการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที เพราะเป็นการเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุตามกฎหมาย ไม่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการเลิกสัญญาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยเป็นอันเลิกกัน จำเลยมีหน้าที่ต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสอง นั้นให้คิดตั้งแต่ที่รับเงินไว้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลย ตั้งแต่เวลาที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ในแต่ละงวด
สัญญาที่โจทก์จองซื้อห้องชุดนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยมีหนี้ที่ต้องชำระโดยก่อสร้างอาคารแก่โจทก์ตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้อย่างแน่แท้จึงเป็นกรณีการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที เพราะเป็นการเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุตามกฎหมาย ไม่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการเลิกสัญญาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยเป็นอันเลิกกัน จำเลยมีหน้าที่ต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสอง นั้นให้คิดตั้งแต่ที่รับเงินไว้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลย ตั้งแต่เวลาที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ในแต่ละงวด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายอาคารชุด: การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างและข้อกำหนดสัญญาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยก่อสร้างอาคารชุดให้มีจำนวนชั้นเพิ่มขึ้นจาก 27 ชั้น เป็น 30 ชั้น แม้โจทก์มิได้ซื้อห้องชุดสูงสุด แต่สิทธิของโจทก์ย่อมถูกกระทบจากการที่มีห้องชุดเพิ่มขึ้นและมีผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้มีผู้ร่วมใช้ทรัพย์สิน ส่วนกลางของอาคารชุดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้โจทก์ขาดความสะดวกสบายในการใช้ทรัพย์สินส่วนกลาง สำหรับผนังกั้นห้องภายในซึ่งก่อสร้างโดยใช้วัสดุแผ่นยิปซัมย่อมไม่แข็งแรงคงทนถาวรเทียบเท่าผนังก่ออิฐฉาบปูนตามที่ระบุในสัญญานอกจากนั้นอาคารชุดดังกล่าวไม่มีเสารองรับน้ำหนักภายในตัวอาคาร แต่ใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปประกอบขึ้นแทนเสาตามแบบแปลน อาจทำให้อาคารไม่มีความมั่นคงแข็งแรงและย่อมกระทบถึงห้องชุดพิพาทที่โจทก์ซื้อเพราะเป็นส่วนหนึ่งของอาคารด้วยและตามเอกสารแนบท้าย SPECIFICATIONของอาคารหรือรายละเอียดของโครงการ ซึ่งสัญญาจะซื้อขายอาคารชุดพิพาทข้อ 1(ก) ให้ถือว่าเอกสารแนบท้ายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วยระบุว่า โครงการจะมีหน่วยจัดการควบคุมดูแลและรักษาความปลอดภัย สโมสรพักผ่อนหย่อนใจ สวน และลานระเบียง จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าว หากไม่ปฏิบัติตามย่อมทำให้อาคารชุดมีสภาพไม่น่าอยู่ขาดความปลอดภัย ความสะดวกสบายและความสวยงามการไม่ปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยข้างต้นล้วนเป็นการผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญทั้งสิ้น ชอบที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
ตามข้อสัญญาโจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยล่วงหน้า 3 เดือนก่อนที่บอกเลิกสัญญาเฉพาะในกรณีที่จำเลยก่อสร้างอาคารชุดไม่แล้วเสร็จ แต่เมื่อจำเลยก่อสร้างแล้วเสร็จแต่ผิดจากแบบแปลนและข้อสัญญา โจทก์หาจำต้องบอกกล่าว เลิกสัญญาล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่
ตามข้อสัญญาโจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยล่วงหน้า 3 เดือนก่อนที่บอกเลิกสัญญาเฉพาะในกรณีที่จำเลยก่อสร้างอาคารชุดไม่แล้วเสร็จ แต่เมื่อจำเลยก่อสร้างแล้วเสร็จแต่ผิดจากแบบแปลนและข้อสัญญา โจทก์หาจำต้องบอกกล่าว เลิกสัญญาล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและการชำระหนี้ก่อนกำหนดหลังบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดว่า จำเลยผู้กู้จะผ่อนชำระหนี้ตามสัญญานี้ให้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้ให้กู้นอกจากต้องการให้จำเลยผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ตรงตามสัญญาแล้ว ยังให้ผ่อนชำระต้นเงินอีกด้วยเพื่อจำเลยจะได้ไม่เป็นหนี้โจทก์พอกพูนสูงขึ้น อันจะเป็นภาระหนักต่อจำเลยที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เมื่อครบอายุสัญญา ทั้งโจทก์เองก็ต้องเสี่ยงภัยต่อการได้รับชำระหนี้ซึ่งค้างชำระจำนวนมากของจำเลยอีกด้วย โจทก์มิได้พึงหวังที่จะให้จำเลยค้างชำระดอกเบี้ยเพื่อนำมาทบเป็นต้นเงินไม่ เพียงแต่ที่โจทก์กำหนดให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเป็นต้นเงินนั้นเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นจะต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อจำเลยผิดสัญญามิได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตรงตามสัญญา ทั้งโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ การเลิกสัญญาและให้จำเลยชำระหนี้ก่อนกำหนดแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลยยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลยยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินชั่วคราว: การบอกเลิกสัญญาและการใช้สิทธิโดยสุจริต
จำเลยยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยบางส่วนทำแปลงเพาะชำต้นกล้ากระท้อนโดยไม่มีค่าตอบแทน และไม่มีกำหนดระยะเวลา หากจำเลยต้องการที่ดินคืนวันใดจะแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควร ดังนี้ เป็นการยอมให้โจทก์เข้าใช้สิทธิในที่ดินของจำเลยเป็นการชั่วคราวในลักษณะสิทธิเหนือพื้นดินซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง โจทก์จะอ้างว่าในการเข้าใช้ที่ดินเพื่อเพาะชำต้นกล้ากระท้อนย่อมเป็นที่รู้กันดีว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อประโยชน์ของโจทก์ฝ่ายเดียวมิได้ เมื่อเป็นกรณีสิทธิเหนือพื้นดินไม่มีกำหนดเวลาและจำเลยไม่ต้องการให้โจทก์เข้าใช้ที่ดินดังกล่าวต่อไป จำเลยย่อมบอกกล่าวให้โจทก์ออกไปจากที่ดินนั้นได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และไม่เป็นการผิดสัญญาหรือละเมิดต่อโจทก์
แม้จำเลยจะบอกกล่าวให้โจทก์ออกจากที่ดินของจำเลยภายใน2 วัน แต่โจทก์ก็ไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปภายในกำหนดดังกล่าว ตรงข้ามโจทก์กลับห้ามคนงานมิให้เข้าไป และโจทก์ได้ขนของออกไปจากที่ดินของจำเลยหลังจากจำเลยบอกกล่าวถึง 1 เดือนเศษ นับว่าจำเลยได้ให้เวลาแก่โจทก์พอสมควรแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งโจทก์ แม้จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
แม้จำเลยจะบอกกล่าวให้โจทก์ออกจากที่ดินของจำเลยภายใน2 วัน แต่โจทก์ก็ไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปภายในกำหนดดังกล่าว ตรงข้ามโจทก์กลับห้ามคนงานมิให้เข้าไป และโจทก์ได้ขนของออกไปจากที่ดินของจำเลยหลังจากจำเลยบอกกล่าวถึง 1 เดือนเศษ นับว่าจำเลยได้ให้เวลาแก่โจทก์พอสมควรแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งโจทก์ แม้จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์