พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมปลอมและผลต่อการบังคับคดี การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้โดยไม่ยินยอม
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์เพียง 45,000 บาท และลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ แล้วมีการนำสัญญากู้ยืมเงินไปกรอกจำนวนกู้เป็น 200,000 บาท ในภายหลังเกินกว่าจำนวนเงินกู้ที่แท้จริง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้และรับเงินกู้ไปเป็นเงิน 45,000 บาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกามาด้วย แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9270/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการอายัดซ้ำ
การปฏิบัติตามคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่งแม้หลังจากศาลชั้นต้นตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นยังคงมีผลบังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 260 (2) ก็ตาม แต่ก็เป็นวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์มิได้ขอออกหมายบังคับคดีอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว กรณีจึงไม่ต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9270/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ไม่ถือเป็นการยึดซ้ำ
การปฏิบัติตามคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง แม้หลังจากศาลชั้นต้นตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นยังคงมีผลบังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ตามมาตรา 260 (2) ก็ตาม แต่ก็เป็นวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์มิได้ขอออกหมายบังคับคดีอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว กรณีจึงไม่ต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตาม มาตรา 290 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8817/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินขวัญถุงลาออกราชการ: ไม่เป็นทรัพย์สินที่บังคับคดีได้ เพราะมีลักษณะเป็นเงินบำเหน็จ
เงินขวัญถุงที่ข้าราชการได้รับจำนวน 7 เท่า ของเงินเดือนตาม พ.ร.ฎ. เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2542 มาตรา 8 เป็นส่วนหนึ่งของเงินที่ทางราชการจ่ายเพื่อช่วยเหลือข้าราชการที่ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ ถือได้ว่าเป็นเงินบำเหน็จ ซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: เจ้าหนี้ฟ้องเป็นสามัญแล้วขอรับชำระจากทรัพย์จำนอง ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามอัตราฟ้อง
หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งผู้ร้องในฐานะโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดคดีซึ่งมีการจำนองเป็นประกัน แต่ผู้ร้องได้เลือกใช้สิทธิฟ้องจำเลยให้รับผิดในหนี้ที่มีประกันอย่างเจ้าหนี้สามัญ มิได้ใช้สิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินอันเป็นหลักประกันที่จำเลยจำนองไว้กับผู้ร้อง แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินชำระเงินแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้สามัญตามคำพิพากษาเท่านั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำขอชำระหนี้จากที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องประสงค์จะให้ตนได้รับชำระหนี้จากที่ดินจำนองของจำเลย อันเป็นหลักประกันนอกเหนือจากการใช้สิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาอย่างเจ้าหนี้สามัญ คำร้องที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนอง จึงมีผลเป็นคำฟ้องขอให้บังคับจำนอง ซึ่งผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) (ค) ที่บัญญัติให้เรียกค่าขึ้นศาลโดยอัตราเรื่องละหนึ่งบาทต่อทุกหนึ่งร้อยบาทตามจำนวนที่เรียกร้อง แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท มิใช้เสียแต่เพียงค่าคำร้อง 20 บาท อย่างเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7864/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับคดีที่ดิน: การยกที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาท ไม่ใช่การให้โดยเสน่หา
โจทก์และจำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินพิพาท มีการเจรจาและทำใบยอมความกันต่อหน้าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองว่า จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ดังนี้ การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก็เพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลย จึงหาใช่เป็นการให้โดยเสน่หาที่จะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ แต่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายพิมพ์นิ้วมือจำเลย และมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วย 2 คน โจทก์ย่อมฟ้องให้บังคับคดีจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7811/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม หลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด และการบังคับคดี
กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์โดยไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยหรือใช้ราคาแทนเป็นเงิน 100,000 บาทโจทก์จึงยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนและขายได้ในราคา 23,364.49 บาท เพราะรถยนต์ที่เช่าซื้อมีสภาพชำรุดทรุดโทรมอันเนื่องมาจากการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เมื่อหักราคารถยนต์ที่โจทก์กำหนดให้ตามคำพิพากษาแล้วยังขาดอยู่เป็นเงิน 76,635.51 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคาจากการขายรถยนต์ที่เช่าซื้อดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วและกรณีก็ไม่อาจไปว่ากล่าวกันในคดีเดิมในชั้นบังคับคดีได้เพราะการบังคับคดีจะต้องอาศัยคำพิพากษาในคดีก่อนเป็นหลักแห่งการบังคับ ซึ่งไม่มีหนี้ตามฟ้องโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองต้องชำระแก่โจทก์รวมอยู่ด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดเป็นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีตามคำพิพากษา: บุคคลภายนอกไม่สามารถสวมสิทธิโจทก์ได้ แม้จะมีการโอนสิทธิโดยสุจริต
ผู้มีสิทธิบังคับคดีและผู้มีหน้าที่ต้องถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้เป็นสิทธิและหน้าที่ของคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกที่อ้างว่าได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลย มิใช่คู่ความในคดีหรือเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่อาจที่จะเข้ามาสวมสิทธิโจทก์เพื่อดำเนินการอย่างใดเกี่ยวกับการบังคับคดีแก่จำเลยในคดีนี้ได้ ไม่ว่าผู้ร้องจะได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ในหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดหรือไม่ ผู้ร้องย่อมไม่อาจเข้าสวมสิทธิโจทก์ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่จำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7506/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลที่มีอำนาจในคดีที่เกี่ยวข้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ที่ร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต้องร้องขอให้คดีที่มีการบังคับคดีนั้น การที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้ให้เพิกถอนการบังคับคดีของคดีหมายเลขแดงที่ 10188/2541 ของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว และบทบัญญัติดังกล่าวเปิดช่องให้ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในคดีนั้นได้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทดอกเบี้ยเกินอัตรา, การมอบอำนาจ, ข้อตกลงบังคับคดี และผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญที่จะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นข้อโต้แย้งว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ กรณีตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 มาตรา 30 และ 31 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 29, 30, 48, 50, 89 และ 272 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย มิได้รับโอนสินทรัพย์ในคดีนี้ของจำเลยเพราะเหตุสินทรัพย์ของจำเลยมีลักษณะไม่ครบถ้วนตามที่พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 มาตรา 31 บัญญัติไว้ การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยดังกล่าวจะชอบหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวกับคณะกรรมการดังกล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ในคดีนี้ คดีนี้จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำ พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 มาตรา 30 และ 31 มาใช้ในการวินิจฉัยคดี บทบัญญัติดังกล่าวจึงมิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี คำร้องของจำเลยไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว
ฎีกาของจำเลยที่ว่า การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ในสภาวะที่ประเทศไทยเกิดปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ เป็นการพ้นวิสัย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และจำเลยได้รับการรับรองคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 และ 219 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้จดทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1021 และ 1022 จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดหรือไม่ และ บ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่ทราบ ไม่รับรอง และหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุให้ จ. มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีนี้เท่านั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบ ทั้งยังฝ่าฝืนข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายอีกด้วย เมื่อหนังสือมอบอำนาจระบุว่า จ. มีอำนาจยื่นฟ้องและดำเนินคดีใด ๆ ซึ่งสาขามีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่ และจำเลยมีหนี้สินค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องและศาลที่จะยื่นฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 5/2542 ลงวันที่ 22 เมษายน 2542 แล้วว่า พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2475 ในส่วนที่เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้บังคับได้ในคดีทั้งปวงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคท้าย อีกทั้ง พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 เป็นกฎหมายเฉพาะที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืมหรือคิดให้ผู้ให้กู้ยืมสูงกว่าอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีก็ได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ขัดต่อพ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
ป.พ.พ. มาตรา 733 เป็นเพียงบทสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณี หาใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปไม่ แต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และหาได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไป หรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใดไม่ จึงมิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้รับจำนองและผู้จำนองอาจตกลงกันเป็นประการอื่นจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ย่อมกระทำได้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับตามกฎหมายหาตกเป็นโมฆะไม่
ฎีกาของจำเลยที่ว่า การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ในสภาวะที่ประเทศไทยเกิดปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ เป็นการพ้นวิสัย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และจำเลยได้รับการรับรองคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 และ 219 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้จดทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1021 และ 1022 จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดหรือไม่ และ บ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่ทราบ ไม่รับรอง และหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุให้ จ. มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีนี้เท่านั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบ ทั้งยังฝ่าฝืนข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายอีกด้วย เมื่อหนังสือมอบอำนาจระบุว่า จ. มีอำนาจยื่นฟ้องและดำเนินคดีใด ๆ ซึ่งสาขามีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่ และจำเลยมีหนี้สินค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องและศาลที่จะยื่นฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 5/2542 ลงวันที่ 22 เมษายน 2542 แล้วว่า พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2475 ในส่วนที่เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้บังคับได้ในคดีทั้งปวงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคท้าย อีกทั้ง พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 เป็นกฎหมายเฉพาะที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืมหรือคิดให้ผู้ให้กู้ยืมสูงกว่าอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีก็ได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ขัดต่อพ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
ป.พ.พ. มาตรา 733 เป็นเพียงบทสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณี หาใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปไม่ แต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และหาได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไป หรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใดไม่ จึงมิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้รับจำนองและผู้จำนองอาจตกลงกันเป็นประการอื่นจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ย่อมกระทำได้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับตามกฎหมายหาตกเป็นโมฆะไม่