พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดจากมารดาถูกถอนสัญชาติภายหลังเกิด และผลกระทบต่อสิทธิในการได้สัญชาติ
ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่มีสัญชาติไทย ถูกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญชาติและพระราชบัญญัติบัตรประจำตัว ประชาชนเพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสี่ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ และปฏิเสธไม่รับคำร้องขอของโจทก์ที่ 2ที่ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ดังนี้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ที่ 1 เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่เกิดมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 1 จึงย่อมเป็นผู้ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดในราชอาณาจักรไทย ส่วนมารดาคือโจทก์ที่ 1 ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 7(3) เมื่อขณะที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดนั้นโจทก์ที่ 1 ยังมีสัญชาติไทย มิใช่คนต่างด้าว โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงหาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 ไม่.
โจทก์ที่ 1 เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่เกิดมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 1 จึงย่อมเป็นผู้ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดในราชอาณาจักรไทย ส่วนมารดาคือโจทก์ที่ 1 ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 7(3) เมื่อขณะที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดนั้นโจทก์ที่ 1 ยังมีสัญชาติไทย มิใช่คนต่างด้าว โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงหาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเรื่องสัญชาติไทยของบุตรเมื่อมารดาถูกถอนสัญชาติหลังบุตรเกิด และอำนาจฟ้องคดีสัญชาติ
ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่มีสัญชาติไทย ถูกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญชาติและพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนเพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสี่ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ และปฏิเสธไม่รับคำร้องขอของโจทก์ที่ 2ที่ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ดังนี้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย โจทก์ที่ 1 เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่เกิดมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 1 จึงย่อมเป็นผู้ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดในราชอาณาจักรไทย ส่วนมารดาคือโจทก์ที่ 1 ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 7(3) เมื่อขณะที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดนั้นโจทก์ที่ 1 ยังมีสัญชาติไทย มิใช่คนต่างด้าว โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงหาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสัญชาติ: การพิจารณาความเป็นไทยของบุตรจากมารดาที่ถูกถอนสัญชาติ และอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ที่ให้ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่มาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น ข้อความที่ว่า"ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงคนต่างด้าวที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นข้อความที่ใช้ถ้อยคำติดต่อกันตลอดไม่มีลักษณะที่จะให้เข้าใจได้ว่าต้องการจะให้แยกความหมายของคำว่า "เข้ามา" กับคำว่า "อยู่"ออกจากกันเหมือนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ที่ใช้คำว่า "เข้ามาหรืออยู่" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องการให้มีผลบังคับถึงคนต่างด้าวทั้งที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร กับที่อยู่ในราชอาณาจักรอยู่แล้วโดยมิได้เดินทางมาจากนอกราชอาณาจักรด้วย โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)เป็นกฎหมายที่มีลักษณะถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้น กรณีของนาง ท. มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดในราชอาณาจักรไทยแม้จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) กลายเป็นคนต่างด้าวและอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็มิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรนาง ท. และเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมิใช่บุคคลตามข้อ 1แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แม้โจทก์ทั้งสามจะเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับแล้วก็ไม่ต้องด้วยกรณีที่จะไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 2 โจทก์ทั้งสามจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) และไม่ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)
แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.
แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรเกิดจากมารดาต่างด้าว: การตีความประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และอำนาจหน้าที่นายอำเภอ
หลังจากจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารแล้วเศรษฐกิจของบ้านเมืองเปลี่ยนไป วัสดุก่อสร้างขึ้นราคา ทางราชการโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงคิดค่าวัสดุก่อสร้างที่ราคาเพิ่มขึ้นชดเชยให้แก่ผู้ก่อสร้างที่รับจ้างก่อสร้างอาคารสถานที่ของทางราชการ สัญญาชดเชยค่าก่อสร้างให้ผู้รับจ้างระบุให้ยึดถือ สัญญาการก่อสร้างที่ได้ทำไว้ต่อกันเป็นสัญญาเดิมและเป็นหลักที่จะปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไป เงินชดเชยค่าก่อสร้างจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาก่อสร้างเดิม การรับเหมาก่อสร้างเป็นลักษณะของการรับจ้างทำของชนิดหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 โจทก์เป็นพ่อค้ารับจ้างทำของเรียกร้องเอาค่าทำของจึงต้องเรียกร้องเอาภายใน 2 ปี นับแต่วันส่งมอบของ กรณีของโจทก์ส่งมอบงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2518 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2527 เกิน 2 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 165(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้บิดามารดาถูกถอนสัญชาติภายหลัง สิทธิสัญชาติของบุตรยังคงอยู่
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า โจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าว ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นบุตร จึงถูกถอนสัญชาติไทยด้วย และไม่ยอมออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่โจทก์ที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิเรื่องสัญชาติของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 แล้ว โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5จึงมีอำนาจฟ้อง บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 นั้นจะต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นมีบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยขณะที่เกิดนั้นโจทก์ที่ 1 ผู้เป็นมารดาเป็นคนสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยด้วย แม้ภายหลังโจทก์ที่ 1 ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ก็หาเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องถูกถอนสัญชาติไทยไปด้วยไม่ การจะออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้ใดนั้นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องพิจารณาว่าผู้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน มีหลักเกณฑ์ครบถ้วนตามกฎหมายเสียก่อนศาลจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่โจทก์ที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและมารดา อำนาจบิดามารดาฟ้องแทนบุตร ฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย แม้ในคำบรรยายฟ้องกล่าวว่าโจทก์ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลย แต่ในเอกสารท้ายฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องก็ได้ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์และบุตร ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่พอเข้าใจได้ว่าขอให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและตัวโจทก์เองด้วย แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์กระทำแทนบุตรก็ไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1565 ให้บิดาหรือมารดานำคดีที่เกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขึ้นว่ากล่าวก็ได้ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจบิดามารดาเป็นพิเศษที่จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่ต้องระบุในคำฟ้องว่าโจทก์ในฐานะมารดาผู้กระทำการแทนบุตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1565 ให้บิดาหรือมารดานำคดีที่เกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขึ้นว่ากล่าวก็ได้ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจบิดามารดาเป็นพิเศษที่จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่ต้องระบุในคำฟ้องว่าโจทก์ในฐานะมารดาผู้กระทำการแทนบุตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและตนเอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำฟ้องไม่เคลือบคลุม และมารดามีอำนาจฟ้องได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย แม้ในคำบรรยายฟ้องกล่าวว่าโจทก์ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลย แต่ในเอกสารท้ายฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องก็ได้ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์และบุตร ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่พอเข้าใจได้ว่าขอให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและตัวโจทก์เองด้วย แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์กระทำแทนบุตรก็ไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1565 ให้บิดาหรือมารดานำคดีที่เกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขึ้นว่ากล่าวก็ได้ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจบิดามารดาเป็นพิเศษที่จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่ต้องระบุในคำฟ้องว่าโจทก์ในฐานะมารดาผู้กระทำการแทนบุตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรและการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู: พิจารณาความเหมาะสมของผู้เลี้ยงดูและความเป็นอยู่ที่ดีของบุตร
โจทก์จำเลยต่างสามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ แต่การให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์เป็นการไม่สะดวก เพราะโจทก์กลับบ้านได้เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนการให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่าเพราะอยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา จึงสมควรให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์ และแม้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จะตกแก่จำเลยก็ตาม โจทก์มีสิทธิจะติดต่อกับบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ในนี้ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ในนี้ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: บิดามารดายังมีอำนาจแม้ภูมิลำเนาต่างประเทศ
บุตรซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้อง อยู่ใต้ อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 แม้บิดามารดาของผู้เยาว์จะมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศก็ตาม เมื่อมิได้ถูกถอน อำนาจปกครอง ก็จะขอให้ศาลตั้ง ผู้ปกครองผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรยังคงเป็นของบิดามารดา แม้มีภูมิลำเนาต่างประเทศ ตราบใดที่ยังมิได้ถูกถอน
บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 แม้บิดามารดาของผู้เยาว์จะมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศก็ตามเมื่อมิได้ถูกถอนอำนาจปกครอง ก็จะขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1585 หาได้ไม่.