พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดเจ็บป่วยในการทำประกันชีวิตทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
ผู้เอาประกันชีวิตเคยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว ไม่มีทางรักษาหาย และอาจตายใน 7 วัน ถึง 6 เดือนหรืออย่างช้า 5 ปี แต่ปกปิดความจริงว่าไม่เคยเจ็บป่วย ไม่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลทำให้สัญญาประกันชีวิต เป็นโมฆียะ เมื่อผู้รับประกันชีวิตบอกล้างภายใน 1 เดือนแล้ว ย่อมตกเป็นโมฆะผู้รับประโยชน์จะฟ้องเรียกเงินประกันชีวิตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'อุบัติเหตุ' ในสัญญาประกันชีวิต: การถูกงูพิษกัดเข้าข่ายหรือไม่
ผู้เอาประกันชีวิตถูกงูพิษกัดถึงตายโดยบังเอิญนั้น นับว่าเป็นอุบัติเหตุตามความหมายของคำว่าอุบัติเหตุแห่งข้อสัญญาที่ว่า "ต้องเป็นเหตุเนื่องมาจากร่างกายของผู้เอาประกันถูกบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกโดยบังเอิญและปราศจากเจตนาของผู้มีส่วนกระทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น" แล้วผู้รับประกันชีวิตจึงต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียชีวิตจากงูกัดถือเป็นอุบัติเหตุตามสัญญาประกันชีวิต
ผู้เอาประกันชีวิตถูกงูพิษกัดถึงตายโดยบังเอิญนั้น นับว่าเป็นอุบัติเหตุตามความหมายของ คำว่าอุบัติเหตุแห่งข้อสัญญา ที่ว่า "ต้องเป็นเหตุเนื่องมาจากร่างกายของผู้เอาประกันถูกบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกโดยบังเอิญ และปราศจากเจตนาของผู้มีส่วนกระทำให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น" แล้ว ผู้รับประกันชีวิตจึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทโฆษณาชักชวนลงทุนคล้ายประกันชีวิต บริษัทไม่ต้องรับผิดชอบหากเกินวัตถุประสงค์
จำเลยอื่นซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 กระทำการโฆษณาชักชวนประชาชนให้เข้าเป็นสมาชิกถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งรับโอนหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม โดยบริษัทสัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้ถือหุ้นถึงแก่กรรม อันเป็นกิจการค้าคล้ายคลึงกับการประกันชีวิตโดยมิได้รับอนุญาต แม้จำเลยอื่นนั้นกระทำในนามของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็เป็นกิจการซึ่งกระทำโดยจำเลยอื่นนั้นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจะกระทำกิจการอันเป็นการนอกวัตถุประสงค์มิได้ จึงลงโทษบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆะเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนทำสัญญา
บริษัทรับประกันภัยสนองรับทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อผู้เอาประกันตายไปแล้วโดยบริษัทไม่รู้ถึงความตายนั้นสัญญานั้นเป็นโมฆะเพราะทำด้วยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
ในสัญญาประกันชีวิต การใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคล
ในสัญญาประกันชีวิต การใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดข้อมูลอาชีพและประวัติการประกัน ถือเป็นเหตุบอกล้างสัญญาประกันชีวิตได้
การปกปิดข้อความจริงในเรื่องอาชีพของผู้เอาประกันชีวิต ในเรื่องการชำระเบี้ยประกันของผู้เอาประกัน หรือแม้ในเรื่องที่ผู้เอาประกันชีวิตได้เอาประกันชีวิตไว้ก่อนแล้ว ถือว่าเป็นการปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญ ซึ่งถ้าบริษัทรับประกันชีวิตทราบความจริงแล้วย่อมจะบอกปัดไม่รับประกัน สัญญาประกันชีวิตเช่นว่านี้เป็นโมฆียะ
การบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าว กฎหมายไม่ได้บังคับว่าให้บอกล้างกับผู้เอาประกันโดยตรง เมื่อบริษัทผู้รับประกันทราบถึงมูลอันจะบอกล้างได้ ก็ย่อมบอกล้างแก่ผู้ซึ่งจะได้รับประโยชนในการประกันจากบริษัทผู้รับประกันได้.
การบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าว กฎหมายไม่ได้บังคับว่าให้บอกล้างกับผู้เอาประกันโดยตรง เมื่อบริษัทผู้รับประกันทราบถึงมูลอันจะบอกล้างได้ ก็ย่อมบอกล้างแก่ผู้ซึ่งจะได้รับประโยชนในการประกันจากบริษัทผู้รับประกันได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7353/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประกันชีวิตใหม่โดยความยินยอมของผู้เอาประกัน การกระทำไม่เข้าข่ายฉ้อฉล
ข้อที่โจทก์แก้ฎีกาอ้างมาเป็นเหตุผลบางประการที่ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาประกอบคำวินิจฉัยให้เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ฉ้อฉลหลอกลวงในประเด็นว่าจำเลยทั้งสามใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตตามฟ้องหรือไม่ แม้ฎีกาของจำเลยที่ 1 จะไม่ได้โต้แย้งข้อที่ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาวินิจฉัยดังกล่าวโดยตรงก็ตาม แต่เมื่ออ่านฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งฉบับแล้ว ก็เห็นได้ว่าเนื้อหาของฎีกาเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องและมีรายละเอียดแสดงเหตุผลว่าที่ถูกควรเป็นเช่นไร ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงชัดแจ้งชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฟ้อง)
พฤติการณ์ของโจทก์บ่งชี้ให้เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ที่จะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการดังกล่าว และการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 และร่วมกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับการประกันชีวิตให้โจทก์มาก่อนลงลายมือชื่อเป็นตัวแทนในใบคำขอเอาประกันชีวิตของโจทก์และเอกสารที่เกี่ยวข้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฉ้อฉลโจทก์ให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1
พฤติการณ์ของโจทก์บ่งชี้ให้เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ที่จะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการดังกล่าว และการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 และร่วมกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับการประกันชีวิตให้โจทก์มาก่อนลงลายมือชื่อเป็นตัวแทนในใบคำขอเอาประกันชีวิตของโจทก์และเอกสารที่เกี่ยวข้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฉ้อฉลโจทก์ให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินประกันชีวิตเมื่อผู้รับประโยชน์และผู้เอาประกันเสียชีวิตพร้อมกัน สิทธิมิได้ตกแก่กองมรดกผู้รับประโยชน์
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. การที่ ส. ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยโดยระบุให้ ท. เป็นผู้รับประโยชน์เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ส. และ ท. ต่างถึงแก่ความตายซึ่งไม่ว่า ท. จะถึงแก่ความตายก่อนหรือหลัง ส. ท. ก็ถึงแก่ความตายเช่นเดียวกัน เมื่อ ท. ผู้รับประโยชน์ถึงแก่ความตายจึงไม่อาจเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตของ ส. ได้ ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่า ท. จะได้รับประโยชน์จากการจ่ายเงินตามเงื่อนไขของกรมธรรม์และไม่ถือว่าเงินตามกรมธรรม์ที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่ ท. ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์นั้นตกเป็นของกองมรดก ท. กรณีต้องถือว่า ท. ผู้รับประโยชน์ไม่อาจเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตของ ส. ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากสัญญาประกันชีวิตจึงต้องตกแก่ทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกซึ่งผู้จัดการมรดกของ ส. หรือทายาทโดยธรรมจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตของ ส. เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการมรดกของ ท. จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิตของ ส. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6577/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิต: ความรับผิดของบริษัทประกันภัยต่อการปฏิเสธจ่ายค่ารักษาพยาบาล และการชำระเบี้ยประกันภัยเกินกำหนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 โดยผ่านจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 โจทก์ส่งเบี้ยประกันภัยทุกปี ต่อมาโจทก์ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล แต่จำเลยที่ 1 ไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอันเป็นการผิดสัญญา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้เบี้ยประกันภัยที่โจทก์ส่งไป ค่ารักษาพยาบาล และค่าพาหนะเดินทางไปรักษาพยาบาล อันเป็นการเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 และมาตรา 391 วรรคสาม ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอมานั้นจะเรียกได้หรือไม่ เพียงใด ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการสรรหาตัวแทนประกันภัยที่มีการจ่ายเงินล่วงหน้าขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต และเป็นโมฆะ
พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) บัญญัติห้ามมิให้บริษัทกระทำการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัทนั้น ก็ด้วยประสงค์มิให้นายหน้าแสวงหาลูกค้าเข้ามาทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อมุ่งหวังค่าตอบแทนจากผลงานเบี้ยประกันภัย โดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์อันแท้จริงของลูกค้าที่จะได้รับจากการทำสัญญาประกันชีวิตที่อาศัยเหตุความทรงชีพหรือมรณะของลูกค้าผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ เพราะมิฉะนั้นแล้วจะเป็นการให้บริษัทผู้รับประกันภัยไปสร้างแรงจูงใจแก่นายหน้าประกันชีวิตเพื่อมุ่งหวังค่าตอบแทน โดยมีเป้าหมายเพียงให้บริษัทได้รับเบี้ยประกันภัยเป็นจำนวนมากเท่านั้น ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของการทำสัญญาประกันชีวิตตามกฎหมาย เมื่อสัญญาบริการที่จำเลยที่ 1 รับจ้างให้บริการสรรหา ฝึกอบรมบุคคลเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทน ผู้บริหารงานขายให้เป็นตัวแทนของโจทก์ทำหน้าที่หาลูกค้าที่สนใจเข้ามาทำประกันภัยกับโจทก์ โดยมีเป้าหมายสำหรับเบี้ยประกันภัยรับปีแรกหลังหักเบี้ยประกันภัยรับที่มีการยกเลิกกรมธรรม์และอื่น ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายจำนวน 5,000,000 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท โดยได้ระบุค่าตอบแทนในการจัดสรรหาตัวแทนและผู้บริหารงานขายในรอบระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวนตัวแทนและผู้บริหารงานขาย เป้าหมายผลงานประจำปี ระยะเวลาในการคำนวณผลงาน ค่าตอบแทนเพิ่มเติมจะได้รับภายหลังล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าว รวมทั้งเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรณีที่ตัวแทน และผู้บริหารงานขายไม่สามารถบรรลุเป้าหมายผลงานที่โจทก์จะเรียกคืนค่าตอบแทนในอัตราส่วนต่างที่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่ 1 ดำเนินงานตามสัญญาบริการต่อไปหรือไม่ ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาบริการ สอดคล้องกับที่ ศ. ผู้จัดการอาวุโสแผนกปฏิบัติการตัวแทน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลบริหารงานตัวแทนของโจทก์เบิกความว่า ตามสัญญาบริการ โจทก์จะให้เงินค่าตอบแทนจำเลยเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้จำเลยสามารถทำผลงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในสัญญา หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด โจทก์ก็จะคำนวณให้ผลตอบแทนตามสัดส่วนที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา และจำเลยที่ 1 จะต้องคืนผลตอบแทนบางส่วนที่ได้รับล่วงหน้าไปแล้ว การที่โจทก์จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าเป็นค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จำเลยที่ 1 จะต้องทำให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาบริการ จึงเป็นสัญญาที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่โจทก์จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไปตามสัญญาดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี โจทก์หาอาจจะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินนั้นได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 411 จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน