พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ความผิดฐานยักย้ายข้าวออกนอกเขตห้าม: โจทก์ต้องพิสูจน์จำเลยทราบประกาศ
ความผิดฐานยักย้ายข้าวออกนอกเขตห้ามขนย้ายข้าวฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการสำรวจและกักกันข้าวนั้น การที่จำเลยได้ทราบประกาศของคณะกรรมการ ฯลฯ หรือไม่ ย่อมเป็นองค์ความผิดอยู่ด้วย ฉะนั้นในฟ้องจะต้องกล่าวไว้ด้วยว่าจำเลยได้ทราบประกาศของคณะกรรมการ ฯลฯ นั้นแล้ว และได้ประพฤติฝ่าฝืนโดยประการใด มิฉะนั้นจะเป็นฟ้องที่ขาดองค์ความผิด ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
อนึ่งเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำผิดและมิได้รับว่าได้ทราบประกาศนี้แล้ว เช่นนี้ ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบว่าจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว มิฉะนั้นจะเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้ เพราะประกาศเช่นนี้แม้จะได้ประกาศในหนังสือราชกิจจาก็เป็นประกาศธรรมดา
อนึ่งเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำผิดและมิได้รับว่าได้ทราบประกาศนี้แล้ว เช่นนี้ ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบว่าจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว มิฉะนั้นจะเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้ เพราะประกาศเช่นนี้แม้จะได้ประกาศในหนังสือราชกิจจาก็เป็นประกาศธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร และผลของประกาศที่เกินอำนาจ
พนักงานเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควรแต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร นั้นหามีอำนาจที่จะสั่งการวางระเบียบการแก่บุคคลภายนอกอันถึงจะเอาความผิดเป็นโทษอาญาอย่างใดไม่
ประกาศขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศให้ผู้ขายปลีกเนื้อหมูชำแหละมาจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าภายในกำหนด15 วันหากผู้ใดมิได้มาจดทะเบียนภายในกำหนดจะทำการจำหน่ายปลีกเนื้อหมูชำแหละในเขตเทศบาลกรุงเทพฯไม่ได้ดังนี้ เมื่อพ้นกำหนดตามประกาศแล้วบุคคลที่ต้องการประกอบอาชีพชนิดนั้นไม่มีทางที่จะทำการได้เป็นการสงวนอาชีพไว้แต่เฉพาะผู้ที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้วในระหว่างเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้นจึงเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากการป้องกันการค้ากำไรเกินควรประกาศเช่นนี้จึงย่อมไม่มีผลบังคับได้ตาม พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร
ประกาศขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศให้ผู้ขายปลีกเนื้อหมูชำแหละมาจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าภายในกำหนด15 วันหากผู้ใดมิได้มาจดทะเบียนภายในกำหนดจะทำการจำหน่ายปลีกเนื้อหมูชำแหละในเขตเทศบาลกรุงเทพฯไม่ได้ดังนี้ เมื่อพ้นกำหนดตามประกาศแล้วบุคคลที่ต้องการประกอบอาชีพชนิดนั้นไม่มีทางที่จะทำการได้เป็นการสงวนอาชีพไว้แต่เฉพาะผู้ที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้วในระหว่างเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้นจึงเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากการป้องกันการค้ากำไรเกินควรประกาศเช่นนี้จึงย่อมไม่มีผลบังคับได้ตาม พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตควบคุมการแปรรูปไม้: การพิสูจน์การประกาศและการปิดประกาศเพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยทำการแปรรูปไม้สัก ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตเหตุเกิดในป่าตำบลหนึ่ง อันเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้ซึ่งรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา พ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศ และได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณะที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการกำนันและที่สาธารณะสถานในท้องที่ซึ่งเกี่ยวข้องที่เกิดเหตุนี้แล้ว ขอให้ลงโทษ
จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิด เฉย ๆ แม้มิได้ต่อสู้ว่าตำบลที่เกิดเหตุไม่ใช่เหตุควบคุมแปรรูปไม้ และมิได้ต่อสู้ว่าไม่มีการปิดประกาศที่เกิดเหตุ ก็ดี ศาลก็ยังต้องวินิจฉัยว่าตำบลที่เกิดเหตุนั้น เป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้แล้วหรือไม่ และมีการประกาศและปิดสำเนาประกาศถูกต้องแล้วหรือไม่ด้วย ซึ่งในข้อวินิจฉัยนี้ แม้โจทก์จะมีพยานคือ ป่าไม้เขตและป่าไม้จังหวัดนั้น มาเบิกความว่าตำบลที่เกิดเหตุได้ประกาศกำหนดเป็นเขตควบคุมกรแปรรูปไม้และได้ปิดประกาศไว้ด้วยแล้วก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้นำตัวประกาศหรือสำเนา อันเจ้าหน้าที่รับรองว่า ถูกต้องมาแสดงให้ปรากฎ ทั้งผู้ปิดประกาศนั้น ก็ไม่มีมาเบิกความเช่นนี้ ศาลย่อมวินิจฉัยได้ว่า ที่ว่าที่เกิดเหตุเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยมีประกาศและปิดประกาศแล้วนั้น ฟังไม่ได้ จึงต้องพิพากษายกฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิด เฉย ๆ แม้มิได้ต่อสู้ว่าตำบลที่เกิดเหตุไม่ใช่เหตุควบคุมแปรรูปไม้ และมิได้ต่อสู้ว่าไม่มีการปิดประกาศที่เกิดเหตุ ก็ดี ศาลก็ยังต้องวินิจฉัยว่าตำบลที่เกิดเหตุนั้น เป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้แล้วหรือไม่ และมีการประกาศและปิดสำเนาประกาศถูกต้องแล้วหรือไม่ด้วย ซึ่งในข้อวินิจฉัยนี้ แม้โจทก์จะมีพยานคือ ป่าไม้เขตและป่าไม้จังหวัดนั้น มาเบิกความว่าตำบลที่เกิดเหตุได้ประกาศกำหนดเป็นเขตควบคุมกรแปรรูปไม้และได้ปิดประกาศไว้ด้วยแล้วก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้นำตัวประกาศหรือสำเนา อันเจ้าหน้าที่รับรองว่า ถูกต้องมาแสดงให้ปรากฎ ทั้งผู้ปิดประกาศนั้น ก็ไม่มีมาเบิกความเช่นนี้ ศาลย่อมวินิจฉัยได้ว่า ที่ว่าที่เกิดเหตุเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยมีประกาศและปิดประกาศแล้วนั้น ฟังไม่ได้ จึงต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตควบคุมการแปรรูปไม้: การพิสูจน์ประกาศและการปิดประกาศ
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยทำการแปรรูปไม้สัก ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เหตุเกิดในป่าตำบลหนึ่ง อันเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้ซึ่งรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา พ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศ และได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการกำนันและที่สาธารณะสถานในท้องที่ซึ่งเกี่ยวข้องที่เกิดเหตุนี้แล้ว ขอให้ลงโทษ
จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดเฉยๆ แม้มิได้ต่อสู้ว่าตำบลที่เกิดเหตุไม่ใช่เขตควบคุมแปรรูปไม้ และมิได้ต่อสู้ว่าไม่มีการปิดประกาศณที่เกิดเหตุก็ดีศาลก็ยังต้องวินิจฉัยว่าตำบลที่เกิดเหตุนั้น เป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้แล้วหรือไม่ และมีการประกาศและปิดสำเนาประกาศถูกต้องแล้วหรือไม่ด้วย ซึ่งในข้อวินิจฉัยนี้แม้โจทก์จะมีพยานคือ ป่าไม้เขตและป่าไม้จังหวัดนั้น มาเบิกความว่าตำบลที่เกิดเหตุได้ประกาศกำหนดเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้และได้ปิดประกาศไว้ด้วยแล้วก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้นำตัวประกาศหรือสำเนา อันเจ้าหน้าที่รับรองว่า ถูกต้องมาแสดงให้ปรากฏ ทั้งผู้ปิดประกาศนั้นก็ไม่มีมาเบิกความเช่นนี้ ศาลย่อมวินิจฉัยได้ว่าที่ว่าที่เกิดเหตุเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยมีประกาศและปิดประกาศแล้วนั้นฟังไม่ได้
จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดเฉยๆ แม้มิได้ต่อสู้ว่าตำบลที่เกิดเหตุไม่ใช่เขตควบคุมแปรรูปไม้ และมิได้ต่อสู้ว่าไม่มีการปิดประกาศณที่เกิดเหตุก็ดีศาลก็ยังต้องวินิจฉัยว่าตำบลที่เกิดเหตุนั้น เป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้แล้วหรือไม่ และมีการประกาศและปิดสำเนาประกาศถูกต้องแล้วหรือไม่ด้วย ซึ่งในข้อวินิจฉัยนี้แม้โจทก์จะมีพยานคือ ป่าไม้เขตและป่าไม้จังหวัดนั้น มาเบิกความว่าตำบลที่เกิดเหตุได้ประกาศกำหนดเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้และได้ปิดประกาศไว้ด้วยแล้วก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้นำตัวประกาศหรือสำเนา อันเจ้าหน้าที่รับรองว่า ถูกต้องมาแสดงให้ปรากฏ ทั้งผู้ปิดประกาศนั้นก็ไม่มีมาเบิกความเช่นนี้ ศาลย่อมวินิจฉัยได้ว่าที่ว่าที่เกิดเหตุเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยมีประกาศและปิดประกาศแล้วนั้นฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและผลกระทบจากประกาศที่ขัดแย้งกับหมายเรียก ศาลพิจารณาความสุจริตของผู้ถูกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยแต่ส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้จำเลยไม่ได้ ศาลจึงประกาศเรียกจำเลยทางหนังสือพิมพ์ในประกาศมีกำหนดไว้ว่าให้จำเลยยื่นคำให้การในวันที่ 9 พฤษภาคม 2492 แต่จำเลยกลับมาขอรับสำเนาฟ้อง และหมายเรียกไปจากศาลเองในวันที่ 23 เมษายน 2492 แล้วเพิ่งมายื่นคำให้การเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2492 ดังนี้แม้จะเกินกำหนด 8 วัน แต่เมื่อจำเลยยืนยันว่าเข้าใจโดยสุจริตว่ายื่นคำให้การได้ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2492 ตามกำหนดในประกาศแลศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยอาจเข้าใจดังนั้นได้จริง ศาลก็มีอำนาจสั่งว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมงในแม่น้ำ: การตีความประกาศกระทรวงเกษตรฯ เรื่องเครื่องมือประมงที่อนุญาต
จำเลยใช้แหทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งมีสภาพเป็นแม่น้ำ ในฤดูปลามีไข่ เมื่อไม่ผิดข้อห้ามตามประากาศข้อ 3 และเมื่อไม่ปรากฏว่าแหนั้นเป็นเครื่องมือต้องห้ามแล้ว จำเลยไม่มีความผิด
เครื่องมือที่ระบุให้ใช้ในประกาศข้อ 4 เป็นเรื่องจับสัตว์น้ำในที่ไม่มีสภาพเป็นแม่น้ำ
เครื่องมือที่ระบุให้ใช้ในประกาศข้อ 4 เป็นเรื่องจับสัตว์น้ำในที่ไม่มีสภาพเป็นแม่น้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประกาศกระทรวงเกษตราธิการเรื่องเครื่องมือทำการประมงในแม่น้ำช่วงฤดูปลามีไข่: การใช้เครื่องมือที่ไม่ต้องห้าม
จำเลยใช้แหทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งมีสภาพเป็นแม่น้ำในฤดูปลามีไข่ เมื่อไม่ผิดข้อห้ามตามประกาศข้อ 3 และเมื่อไม่ปรากฏว่าแหนั้นเป็นเครื่องมือต้องห้ามแล้วจำเลยไม่มีความผิด
เครื่องมือที่ระบุให้ใช้ในประกาศข้อ 4 เป็นเรื่องจับสัตว์น้ำในที่ไม่มีสภาพเป็นแม่น้ำ
เครื่องมือที่ระบุให้ใช้ในประกาศข้อ 4 เป็นเรื่องจับสัตว์น้ำในที่ไม่มีสภาพเป็นแม่น้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของกลางที่ถูกริบต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดโดยตรง การฝ่าฝืนประกาศไม่ใช่เหตุริบ
ของกลางที่จะพึงริบตามมาตรา 29 นั้นจะต้องเป็นของที่เกี่ยวแก่การกระทำผิดในการค้ากำไรโดยตรง ตาม มาตรา 18 ส่วนสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิด ตาม มาตรา 17 คือกระทำฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคณะกรรมการหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นของอันจะพึงริบตามมาตรา 29
สุกรของกลางที่นำออกนอกเขตจังหวัดฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการฯไม่เป็นของอันจะพึงริบ ให้คืนเจ้าของไป
เมื่อไม่มีของกลางที่ศาลได้สั่งให้ริบไว้ คงให้จ่ายเงินรางวัลจากค่าปรับเท่านั้น
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2493
สุกรของกลางที่นำออกนอกเขตจังหวัดฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการฯไม่เป็นของอันจะพึงริบ ให้คืนเจ้าของไป
เมื่อไม่มีของกลางที่ศาลได้สั่งให้ริบไว้ คงให้จ่ายเงินรางวัลจากค่าปรับเท่านั้น
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2493
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการส่วนจังหวัดออกประกาศห้ามค้ากำไรเกินควรโดยอาศัย พ.ร.บ. ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490
ประกาศที่คณะกรรมการส่วนจังหวัดไม่มีอำนาจออกตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 8(8) นั้น แม้จะมีการฝ่าฝืนก็ยังไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดเกินอำนาจ พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร ไม่เป็นความผิด
ประกาศที่คณะกรรมการส่วนจังหวัดไม่มีอำนาจออกตามพ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 8(8) นั้นแม้จะมีการฝ่าฝืนก็ยังไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2493)