พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7478/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความครอบคลุมค่าฤชาธรรมเนียมศาลชั้นต้น คำพิพากษาเดิมสิ้นผล
โจทก์และจำเลยทั้งสี่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ กันในชั้นอุทธรณ์ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า เงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความจำนวนเงิน404,005 บาท ที่จำเลยทั้งสี่ได้วางศาลใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ตกเป็นของโจทก์หรือคืนให้แก่จำเลยทั้งสี่ คงมีระบุไว้แต่เพียงว่า โจทก์และจำเลยทั้งสี่ติดใจเรียกร้องต่อกันเพียงนี้ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากส่วนที่ศาลจะสั่งคืนและค่าทนายความให้ตกเป็นพับกรณีไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสี่จะตกลงกันเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เท่านั้นดังนั้นข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมหมายความรวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของโจทก์และจำเลยทั้งสี่แล้ว ถือได้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ในกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ได้พิพากษาเพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยทั้งสี่วางศาลใช้แทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7326/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งทรัพย์ & สิทธิยึดหน่วง: แม้ยังมิได้จดทะเบียน แต่การมอบครองที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดได้
การที่โจทก์ตกลงแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยว่าโจทก์ได้มอบการครอบครองให้แก่จำเลยแล้ว ดังนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินในฐานะผู้รับแบ่งทรัพย์ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะปรับบทกฎหมายในเรื่องสิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 มาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตามบทบัญญัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่ามีหนี้ที่เป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวกับโฉนดพิพาท ฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดพิพาทจนกว่าจะได้รับแบ่งทรัพย์ในฐานะผู้มีสิทธิอันชอบธรรมตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเลิกกันเนื่องจากประนีประนอมยอมความก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 7 สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วม จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คเลิกกันตามกฎหมาย เนื่องจากมีการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดียวกัน
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับ ไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6627/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุคัดค้านคำพิพากษาชัดแจ้ง การอ้างเพียงว่าเคยมีการประนีประนอมยอมความในคดีอาญา ไม่อาจใช้เป็นเหตุ
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยระบุเพียงว่าโจทก์นำมูลหนี้เดียวกันกับคดีนี้ไปฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา จนสามารถหาข้อยุติและประนีประนอมยอมความกับ โจทก์ไปแล้ว โจทก์กลัวนำตั๋วเงินในมูลหนี้เดิมในคดีอาญา มาฟ้องเป็นคดีนี้ ซึ่งโจทก์ควรแจ้งให้จำเลยทราบเพราะจำเลย ได้ติดต่อกับโจทก์ตลอดมาเพื่อผ่อนชำระหนี้ตามคดีอาญา ดังกล่าว โจทก์ฉกฉวยโอกาสที่จำเลยไม่ทราบฟ้องโจทก์ มาปิดช่องทางการต่อสู้คดีของจำเลยโดยขอให้ ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว จนศาลพิพากษา ให้จำเลยชำระหนี้ ซึ่งไม่เป็นธรรมแก่จำเลย คำขอให้ พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุ โดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือ ไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไร ทั้งจำเลยมิได้โต้แย้ง คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค ตามฟ้องดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และไม่ได้แสดงเหตุผลว่าหาก มีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไรคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวจำเลยยังมิได้กล่าว โดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น จึงเป็นคำขอให้พิจารณาใหม่ที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและการระงับสิ้นหนี้เดิมเมื่อมีสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาท ต่อมาการที่โจทก์ยอมรับเช็คซึ่งบริษัท น.เป็นผู้สั่งจ่าย เป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321วรรคแรก และเมื่อปรากฏว่าเช็คฉบับดังกล่าวไม่อาจเรียกเก็บเงินได้ โจทก์ได้ฟ้องผู้สั่งจ่ายและได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายผ่อนชำระ ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเช็คฉบับดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์ได้สิทธิใหม่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลเท่ากับว่าเช็คได้ใช้เงินแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย เมื่อหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจำนวน 600,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของหนี้ในเช็คจำนวน 1,700,000 บาท ซึ่งได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้วหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงย่อมระงับสิ้นไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเช็คเป็นการชำระหนี้แทนเงินสด เมื่อเช็คใช้ไม่ได้ สิทธิเรียกร้องระงับ หนี้เดิมก็ระงับตามไปด้วย
จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทต่อมาการที่โจทก์ยอมรับเช็คซึ่งบริษัทน. เป็นผู้สั่งจ่ายเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก และเมื่อปรากฏว่าเช็คฉบับดังกล่าวไม่อาจเรียกเก็บเงินได้ โจทก์ได้ฟ้องผู้สั่งจ่ายและได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายผ่อนชำระ ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเช็คฉบับดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์ได้สิทธิใหม่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลเท่ากับว่าเช็คได้ใช้เงินแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายเมื่อหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจำนวน 600,000 บาทเป็นส่วนหนึ่งของหนี้ในเช็คจำนวน 1,700,000 บาทซึ่งได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้วหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงย่อมระงับสิ้นไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ระงับตามยอม ศาลไม่รับฎีกา คดีเช็คพิพาทที่มูลหนี้เดียวกันกับคดีแพ่งที่ประนีประนอมยอมความแล้ว
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้เป็นมูลหนี้เดียวกันกับสัญญากู้ยืมเงินซึ่งโจทก์นำไปฟ้องต่อศาลแพ่งให้จำเลยชำระเงิน แก่โจทก์ คดีดังกล่าวโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้น เห็นว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น เป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำหน่ายคดีออกเสียจาก สารบบความผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเนื่องจากมีการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ทำให้มูลหนี้สิ้นผลผูกพัน และศาลไม่รับฎีกา
คดีแดงที่ 5863-5864/2541
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันสิ้นผลผูกพัน คดีจึงเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ร่วมไว้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันสิ้นผลผูกพัน คดีจึงเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ร่วมไว้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คพิพาทระงับหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาไม่รับฎีกาเนื่องจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้มี การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันสิ้นผลผูกพันคดีจึงเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดีออก จากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ร่วมไว้จึงเป็นการ ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้