คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5102/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีราคาทรัพย์สินไม่เกิน 200,000 บาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดมีที่ดินรวมกันเนื้อที่300 ไร่เศษ แต่สิทธิครอบครองที่ดินซึ่งโจทก์แต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นของตนเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ เมื่อที่ดินที่โจทก์แต่ละคนกล่าวอ้างว่าเป็นของตนมีราคาไม่เกิน 200,000 บาทศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ด โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดฎีกา ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีโดยอ้างสัญญาปลอมต้องระบุเหตุผลแห่งการปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การว่าจำเลยทั้งสามไม่เคยทำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกัน สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่โจทก์กับพวกร่วมกันปลอมขึ้นดังนี้ คำให้การของจำเลยทั้งสามเป็นการต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาปลอมเป็นสำคัญข้อที่ว่าจำเลยทั้งสามไม่เคยทำสัญญากับโจทก์ไม่ทำให้เปลี่ยนประเด็นเป็นอย่างอื่นเมื่อจำเลยทั้งสามไม่อ้างเหตุว่าปลอมอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่มิได้ให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา177 วรรคสอง จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบและการพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ถอนฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่มีอำนาจที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยมาเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1 ก่อน ซึ่งจำเลยที่ 1 อ้างเป็นเหตุขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปนั้นถึงที่สุด คดีก็ไม่มีเหตุที่จะให้ยกขึ้นพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาล: ไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบังคับใช้ในคดีอาญา
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคแรก จึงจะนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ มาอนุโลมบังคับใช้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกา: การยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาผ่านผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องของโจทก์ได้ขอให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งที่นั่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาโดยยื่นพร้อมฎีกาต่อศาลชั้นต้น เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคท้าย แล้วศาลชั้นต้นจึงต้องส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปยังผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง กรณีพิพาทขับไล่และค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทคู่ความจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ชอบ โดยฟังข้อเท็จจริงบางส่วนตามที่ทนายจำเลยที่ 2 แถลงรับ แต่ยังมีข้อเท็จจริงอื่น ๆ ในคำฟ้อง คำให้การและเอกสารประกอบคำให้การซึ่งหากนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็จะไม่วินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของที่ดินที่ตึกแถวพิพาทปลูกอยู่และเป็นการปลูกสร้างโดยไม่มีสิทธิในที่ดินของโจทก์ร่วมแต่อย่างใดนั้น เป็นการคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังข้อเท็จจริงที่สมควรจะฟัง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การฟ้องคดีที่มูลคดีเกิดในเขตศาล และการยื่นคำร้องขอฟ้องต่อศาลที่ไม่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การยื่นคำร้องขอฟ้องคดีต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิม กฎหมายให้พิจารณาถึงความสะดวกเป็นสำคัญว่าจะให้ฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นหรือไม่ เมื่อมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรีโจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดชลบุรีได้และโจทก์จะยื่นคำร้องเมื่อศาลจังหวัดชลบุรีมีคำสั่งรับฟ้องแล้วก็ได้เมื่อศาลจังหวัดชลบุรีได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรีแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิมศาลจังหวัดชลบุรีมีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารในสำนวนคดีอาญาที่ยังไม่ได้รวมสำนวน ไม่ถือเป็นเหตุให้ต้องพิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 53
การที่พยานหลักฐานรวมอยู่ในสำนวนคดีอื่นซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำสำนวนมาผูกรวมกับสำนวนอีกคดีหนึ่ง แต่ยังไม่ได้นำมาผูกรวม มิใช่กรณีเอกสารในสำนวนสูญหายหรือบุบสลายทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเสร็จสิ้นแล้วย่อมไม่มีกรณีเป็นการขัดข้องต่อการพิจารณาพิพากษาคดี ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 53 ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และการยกปัญหาข้อกฎหมายในชั้นอุทธรณ์
โจทก์เพิ่งยกปัญหาเรื่องการดำเนินการกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นได้ เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ได้มีโอกาสคัดค้านตั้งประเด็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคสอง ในคดีเดิมผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องทำสัญญาต่างตอบแทนกับบ.หรือโจทก์ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้วว่าไม่มีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างผู้ร้องกับโจทก์หรือระหว่างผู้ร้องกับ บ. การที่ผู้ร้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่ามีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างผู้ร้องกับบ. ขึ้นมาอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: การพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 และผลกระทบจากประกาศ คสช.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสองที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง บัญญัติไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า ฯลฯ (2) คู่ความที่ขอแก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณีและคดีไม่เกี่ยวกับความงบเรียบร้อยของประชาชนให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องไว้2 ประการ คือ ประการแรก กรณีที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน และคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องแต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็อาจยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวได้ประการที่สอง กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ย่อมจะยื่นคำร้องหลังวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานได้ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ มาใช้แก่คดีนี้ได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยในชั้นพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ในชั้นนี้เป็นเรื่องการพิจารณาว่าการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 หรือไม่ จึงไม่ต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาพิจารณา
of 32