พบผลลัพธ์ทั้งหมด 752 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กำลังชิงทรัพย์ในสถานบันเทิง: ความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
ก่อนที่จะเข้าบาร์โชว์เปลือยผู้เสียหายได้สอบถามว่าจะต้องเสียเงินเท่าใด พนักงานไม่บอกราคาแต่พูดว่า ไม่มีปัญหา ผู้เสียหายที่ 1 เข้าใจว่าน่าจะไม่เกิน 200 ถึง 300 บาท จึงเข้าไป ผู้เสียหายที่ 1 สั่งน้ำส้ม 2 แก้ว เมื่อนั่งอยู่ได้ประมาณ 4 ถึง 5 นาที ผู้เสียหายที่ 1 เรียกพนักงานคิดเงิน พนักงานเรียกเอาเงิน 8,600 บาท ผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมรับว่าราคาเครื่องดื่มเป็นเงิน 8,600 บาท การที่พนักงานเก็บเงินกับจำเลยทั้งสองได้ใช้แรงกายภาพและกระทำประทุษร้ายต่อผู้เสียหายทั้งสองเพื่อเอาให้ได้ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 1 โดยทุจริตจนผู้เสียหายที่ 1 ต้องยื่นเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ให้พนักงานเก็บเงินและผู้เสียหายทั้งสองถูกผลักออกไปจากบาร์เป็นการชิงทรัพย์ โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป จึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ต้องอยู่ในอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษให้ถูกต้องได้
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ต้องระวางโทษประหารชีวิตจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา288จำคุก10ปีลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78คงจำคุก6ปี4เดือนจึงเป็นการลงโทษที่ผิดพลาดต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขโดยกำหนดโทษจำเลยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7273/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนมาบวกกับโทษในคดีหลัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา58วรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่10)พ.ศ.2532ซึ่งใช้บังคับก่อนการกระทำผิดคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่1500/2537ของศาลชั้นต้นบทบัญญัติดังกล่าวนี้แก้ไขและใช้บังคับพร้อมกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา56วรรคสองซึ่งบัญญัติเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำผิดในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้เมื่อมาตรา58วรรคหนึ่งกับมาตรา56วรรคสองมีการแก้ไขพร้อมกันแสดงว่ามีเจตนาจะให้สอดคล้องกันทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้จำเลยกระทำความผิดอีกแม้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคหนึ่งจะได้บัญญัติว่าห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องก็ตามเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติย่อมจะต้องไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติเช่นเมื่อประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องโทษไว้อย่างไรการพิพากษาคดีย่อมจะต้องอาศัยประมวลกฎหมายอาญาในการกำหนดโทษมิให้ผิดไปจากประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้เช่นนี้ย่อมตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา58วรรคหนึ่งได้ว่าแม้ความปรากฎแก่ศาลเองก็ให้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีหลังปฎิบัติตามแต่สำหรับกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติการกระทำผิดของจำเลยก่อนที่ศาลพิพากษาเมื่อพนักงานคุมประพฤติรายงานว่าจำเลยเคยมีประวัติถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษลงโทษจำคุกและปรับโทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด2ปีและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติจำเลยโดยให้จำเลยมารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก3เดือนต่อครั้งภายในกำหนดระยะเวลา1ปีและให้จำเลยเว้นจากการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษหรือมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายใดๆแต่หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งได้ยอมรับต่อพนักงานคุมประพฤติว่ายังคงเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษอยู่ซึ่งรายงานดังกล่าวถือว่าเป็นรายงานที่เป็นผลร้ายต่อจำเลยศาลชั้นต้นปฎิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาพ.ศ.2522มาตรา13กล่าวคือแจ้งรายงานนั้นให้จำเลยทราบจำเลยแถลงไม่คัดค้านเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงานรายงานดังกล่าวมีลักษณะเช่นเดียวกับคำแถลงของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา58ที่แก้ไขแล้วศาลจึงนำโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกโทษในคดีหลังได้ในกรณีที่ศาลคดีหลังพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6898/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาทำสัญญาหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264, 265, 268 วรรคสอง, 341 เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 จำคุก 6 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219
จำเลยที่ 2 และผู้เสียหายทราบแล้วว่า ย.ถึงแก่ความตายแต่จำเลยที่ 2 ยังนำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังมิได้กรอกข้อความคงมีแต่ลายพิมพ์นิ้วมือของ ย.ในช่องผู้มอบอำนาจเรียบร้อยแล้วมาบอกให้ ส. กรอกข้อความ ส.กรอกข้อความว่า ย.มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินแทน การกระทำของจำเลยที่ 2เป็นการกระทำโดยพลการ เพื่อให้จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจไปใช้ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้เสียหาย แม้เป็นการกระทำที่ตรงกับความประสงค์ของย.ก็ตาม แต่การมอบอำนาจยังไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้มอบอำนาจถึงแก่ความตาย การมอบอำนาจก็สิ้นผล แต่จำเลยที่ 2 กลับทำให้การมอบอำนาจซึ่งยังมิได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ดูเสมือนเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ด้วยการกรอกข้อความ การกระทำดังกล่าวแม้ผู้เสียหายจะไม่เสียหายแต่ก็อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง
จำเลยที่ 2 และผู้เสียหายทราบแล้วว่า ย.ถึงแก่ความตายแต่จำเลยที่ 2 ยังนำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังมิได้กรอกข้อความคงมีแต่ลายพิมพ์นิ้วมือของ ย.ในช่องผู้มอบอำนาจเรียบร้อยแล้วมาบอกให้ ส. กรอกข้อความ ส.กรอกข้อความว่า ย.มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินแทน การกระทำของจำเลยที่ 2เป็นการกระทำโดยพลการ เพื่อให้จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจไปใช้ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้เสียหาย แม้เป็นการกระทำที่ตรงกับความประสงค์ของย.ก็ตาม แต่การมอบอำนาจยังไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้มอบอำนาจถึงแก่ความตาย การมอบอำนาจก็สิ้นผล แต่จำเลยที่ 2 กลับทำให้การมอบอำนาจซึ่งยังมิได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ดูเสมือนเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ด้วยการกรอกข้อความ การกระทำดังกล่าวแม้ผู้เสียหายจะไม่เสียหายแต่ก็อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์จากความดูแลโดยชอบธรรมของผู้ปกครอง/ผู้ดูแล ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา319คำว่าผู้ปกครองหมายถึงผู้มีฐานะทางกฎหมายเกี่ยวกันกับเด็กเช่นเป็นบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองส่วนผู้ดูแลหมายถึงผู้ควบคุมระวังรักษาเด็กโดยข้อเท็จจริงเช่นครูอาจารย์นายจ้างเป็นต้น ผู้เสียหายเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งในฐานะเป็นน้าและนายจ้างโดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์ด้วยในขณะที่ผู้เยาว์ทำงานอยู่กับผู้เสียหายการที่จำเลยขออนุญาตจากผู้เสียหายพาผู้เยาว์ออกไปข้างนอกหรือพาไปดูภาพยนตร์แต่ผู้เสียหายไม่อนุญาตนับเป็นการใช้อำนาจปกครองและดูแลผู้เยาว์ตามที่ได้รับมอบหมายจากบิดามารดาผู้เยาว์และตามความเป็นจริงเมื่อผู้เสียหายทราบว่าผู้เยาว์ถูกจำเลยพาไปร่วมประเวณีก็ได้เอาใจใส่ให้น. ไปตามจำเลยมาเจรจากันเมื่อได้รับการปฏิเสธก็ได้ติดตามไปพบจำเลยเมื่อเจรจาตกลงกันไม่ได้ก็พาผู้เยาว์ไปแจ้งความล้วนเป็นการแสดงตนใช้อำนาจปกครองดูแลผู้เยาว์ตามความเป็นจริงแม้ต่อมาภายหลังผู้เยาว์จะไปทำงานที่อื่นก็เป็นเวลาภายหลังเกิดเหตุแต่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์ยังอยู่ในความดูแลของผู้เสียหายการกระทำของจำเลยที่พาผู้เยาว์ไปร่วมประเวณีจึงเป็นการรบกวนสิทธิหรือแยกสิทธิในการควบคุมดูแลผู้เยาว์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควรเป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากความดูแลของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการแข่งรถโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา
รถจักรยานยนต์ซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเป็นทรัพย์สินซึ่งใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งให้ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเกี่ยวกับข้อเท็จจริงปลีกย่อย ไม่ถึงขั้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177
ในคดีก่อนประเด็นที่สำคัญของคดีก็คือโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ครอบครองที่พิพาทไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของที่ติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีหรือไม่จำเลยเบิกความแต่เพียงว่าผ.ยกที่พิพาทให้โจทก์ในคดีดังกล่าวแต่ผู้เดียวจึงเป็นข้อเท็จจริงในส่วนปลีกย่อยไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเท็จในการเบิกความเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตรและการฟ้องหย่า ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ในคดีที่จำเลยฟ้องขอหย่าและให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยหรือโจทก์ฝ่ายใดสมควรจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรนั้นข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องนำมาคำนึงถึงว่าฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแล้วบุตรจะได้รับความผาสุกและประโยชน์ดีที่สุดมีอยู่หลายประการ นิสัยและจิตใจของผู้ที่จะใช้อำนาจปกครองตลอดจนความสมัครใจของบุตรว่าจะอยู่กับฝ่ายใดล้วนเป็นเหตุที่ศาลจะนำมาพิจารณาชี้ขาดในประเด็นข้อนี้ได้ทั้งสิ้นมิใช่มีอยู่เพียงเหตุเดียวเฉพาะที่ศาลชั้นต้นยกมาอ้างอิงเท่านั้นดังนั้นคำเบิกความของจำเลยเกี่ยวกับเหตุเหล่านั้นจึงเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวมาแต่ต้นแม้ศาลจะได้ยกเอามาวินิจฉัย แต่ขณะจำเลยเบิกความข้อเท็จจริงนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี หากเป็นความเท็จ ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเลือกโทษจำคุกและรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20 และ 56
ในความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับนั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะเลือกลงโทษจำคุกแก่จำเลยแต่เพียงสถานเพียงได้และเมื่อศาลใช้ดุลพินิจเลือกที่จะลงโทษจำคุกจำเลยแต่เพียงสถานเดียวแล้ว ศาลย่อมนำบทบัญญัติมาตรา 56 ว่าด้วยการรอการลงโทษมาปรับใช้ได้อีก ดังนั้น ศาลจึงลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับและรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกและรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20 และ 56
ในความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับนั้นประมวลกฎหมายอาญามาตรา20เป็นบทบัญญัติที่ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะเลือกโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยแต่เพียงสถานเดียวได้และเมื่อศาลใช้ดุลพินิจเลือกที่จะลงโทษจำคุกจำเลยแต่เพียงสถานเดียวก็มิได้หมายความว่าศาลต้องลงโทษจำคุกไปทีเดียวจะรอการลงโทษไม่ได้แล้วศาลย่อมนำบทบัญญัติมาตรา56ว่าด้วยการรอการลงโทษมาปรับใช้ได้อีก