พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6942/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่ใช้เป็นตลาดนัด สัญญาอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
แม้ตามสัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำกับจำเลยมีคำว่าเช่าเพื่อ "ทำการเกษตร" และโจทก์เองก็รับว่า ในตอนทำสัญญาตกลงว่าจำเลยเช่าเพื่อปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่างทำการเกษตร แต่เมื่อจำเลยได้ใช้ที่ดินพิพาททำเป็นตลาดนัดสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนโคกระบือ ไม่เคยเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ในที่ดินพิพาทเลย จะถือว่าจำเลยเป็นผู้เช่านาและได้ทำนาในที่ดินพิพาทตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 5,21 หาได้ไม่ จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 31 สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการเช่าที่ต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: การไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี และภารจำยอมหมดประโยชน์
การจะรับฟังว่าภารจำยอมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1399 นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า ทางภารจำยอมมิได้ใช้สิบปีขึ้นไป ส่วนภารจำยอมสิ้นไปตามมาตรา 1400 โจทก์ก็จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าภารจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยกทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ใช้ที่ดินแปลงอื่นซึ่งซื้อจากบุคคลภายนอกไปสู่โรงงานของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น เป็นทางซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์ใช้เป็นประโยชน์สำหรับที่ดินแปลงอื่นเพื่อใช้ออกสู่โรงงาน ไม่ใช่สำหรับที่ดินแปลงสามยทรัพย์เพื่อใช้ออกทางสาธารณะ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าทางภารจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยทรัพย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนการครอบครองที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญฯ โดยการส่งมอบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ขาดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ครอบครองแล้วจริง แต่จากการที่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน ย่อมโอนการครอบครองกันได้โดยเพียงส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบ ฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทการที่โจทก์จำเลยซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1382 พยานบุคคลใช้ได้
การนำสืบข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 คู่ความอาจสืบพยานบุคคลได้ การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลประกอบระวางรูปแผนที่แบ่งแยก แล้วเชื่อข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานบุคคล จึงเป็นเรื่องใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือหักล้างพยานเอกสารในกรณีที่มีกฎหมายบังคับต้องมีเอกสารมาแสดงไม่
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยได้ขายที่พิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยได้ให้การว่า โจทก์ครอบครองที่พิพาทจริง แต่ไม่ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ จำเลยไม่ได้ขายที่พิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ขอทำนาในที่พิพาทแล้วตกลงให้ข้าวเปลือกเป็นค่าตอบแทนบิดาโจทก์และโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยเท่านั้น สาระสำคัญที่เป็นประเด็นพิพาทก็คือ โจทก์ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมายหรือเป็นเพียงครอบครองที่พิพาทแทนจำเลย ดังนั้นแม้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้แต่เพียงว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยหรือไม่ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการครอบครองของโจทก์นั้น ถ้าโจทก์ไม่ได้ครอบครองแทนจำเลยโจทก์ก็ต้องครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้สละประเด็นแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วจึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยได้ขายที่พิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยได้ให้การว่า โจทก์ครอบครองที่พิพาทจริง แต่ไม่ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ จำเลยไม่ได้ขายที่พิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ขอทำนาในที่พิพาทแล้วตกลงให้ข้าวเปลือกเป็นค่าตอบแทนบิดาโจทก์และโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยเท่านั้น สาระสำคัญที่เป็นประเด็นพิพาทก็คือ โจทก์ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมายหรือเป็นเพียงครอบครองที่พิพาทแทนจำเลย ดังนั้นแม้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้แต่เพียงว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยหรือไม่ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการครอบครองของโจทก์นั้น ถ้าโจทก์ไม่ได้ครอบครองแทนจำเลยโจทก์ก็ต้องครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้สละประเด็นแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วจึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลวิกลจริตและการเป็นคนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำว่า "บุคคลวิกลจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา 28 ใหม่) นั้นมิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้า เท่านั้น แต่หมายรวมถึงบุคคลผู้มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรือประกอบกิจการส่วนตัวของตนได้ จ. ไม่รู้สึกตัวเองและพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างซึ่งแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองฝ่อ หรือสมองเสื่อมขั้นรุนแรงไม่สามารถรักษาให้หายได้ ตลอดจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจส่วนตัวได้แสดงให้เห็นว่า จ. เป็นคนไม่มีสติสัมปชัญญะไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม(มาตรา 28 ใหม่) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าเช่า ณ ภูมิลำเนาเจ้าหนี้ และผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตามสัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างโจทก์และ ส. มิได้ระบุเรื่องสถานที่ชำระค่าเช่าไว้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324บัญญัติว่าต้องชำระหนี้ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้ ฉะนั้นแม้ทางปฏิบัติ ส. จะให้คนไปเก็บค่าเช่าก็เป็นเพียงข้อปฏิบัติระหว่างโจทก์และ ส. เท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ทำให้จำเลยทั้งสองมีฐานะเป็นผู้ให้เช่า ข้อปฏิบัติระหว่างโจทก์และ ส. หาโอนมาด้วยเพราะไม่ใช่สิทธิและหน้าที่ซึ่งเกิดขึ้นตามสัญญาเช่า การที่โจทก์นำค่าเช่าไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่ายังภูมิลำเนาปัจจุบันของจำเลยแล้วโจทก์จึงผิดนัดชำระค่าเช่า สำนวนคดีที่สองซึ่งรวมพิจารณากับคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิพากษาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนคดีที่สองให้เป็นโทษแก่โจทก์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนคดีที่สอง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีไม่ใช่การทำนิติกรรมที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ มิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 112(เดิม) จึงไม่เป็นนิติกรรมที่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฟ้องคดีต่อศาลแทนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการทำกล่องกระดาษ: พิจารณาความหมายของ 'อุตสาหกรรม' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำนิยามความหมายของคำว่า "อุตสาหกรรม" ไว้ว่า การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร ดังนี้ เมื่อกล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นนั้น จำเลยนำมาใช้สำหรับบรรจุเครื่องไฟฟ้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว กล่องกระดาษเช่นว่านี้โดยลำพังคงเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้ประจำอยู่กับสินค้าที่ผลิตเท่านั้นหาได้เป็นสินค้าที่จำเลยจำหน่ายได้ผลประโยชน์เป็นกำไรไม่เท่ากับการประดิษฐ์กล่องกระดาษนั้นมิได้อยู่ในความหมายที่ว่า เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้ายสิทธิเรียกร้องหนี้สินรายนี้ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปีโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของมีค่าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 620: เครื่องประดับราคาถูกไม่ใช่ของมีค่า
เครื่องประดับจำพวกตุ้มหู สร้อย แหวน ทำด้วยเงินราคาต่ำสุดคู่ละ 7 บาท สูงสุดคู่ละ 25 บาท เป็นเพียงเครื่องประดับทำด้วยเงินมีราคาต่ำ จึงเป็นของธรรมดาทั่ว ๆ ไป เท่านั้นถึงแม้จะมีจำนวนมากและรวมจำนวนกันแล้วมีราคา52,200 บาท ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้างชำรุด: ความรับผิดเกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระบุว่าถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย เมื่อปรากฏว่าสิ่งก่อสร้างตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างเป็นสิ่งก่อสร้างกับพื้นดินและชำรุดบกพร่องภายใน 5 ปี จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาและตามระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 วรรคแรก