พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าภาษีที่ประเมินเกิน การฟ้องโดยไม่ระบุจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายจริงไม่ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าภาษีที่จำเลยคิดเกินไป โดยบรรยายข้อหาชัดแจ้งว่าจำเลยประเมินค่ารายปีผิดความจริงเป็นเหตุให้คิดค่าภาษีเกินไป 1300 บาทขอให้คืนส่วนที่เกิน โดยมิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องเสียค่าภาษีจริง ๆ เท่าใด ดังนี้ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์มีอำนาจฟ้องนายกเทศมนตรีในฐานะบุคคลธรรมดาให้รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลเมืองซึ่งตนดำรงค์ตำแหน่งอยู่ได้
จำเลยคัดค้านข้อเท็จจริงที่ศาลล่างชี้ขาดมา แต่ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างมิได้ชี้ขาดดังฎีกาของจำเลย ดังนี้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อฎีกาข้อนั้น
เมื่อจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว การที่จำเลยคัดค้านไม่ยอมให้สามีโจทก์เป็นคู่ความร่วมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลแก่คดีโจทก์อย่างใด
โจทก์มีอำนาจฟ้องนายกเทศมนตรีในฐานะบุคคลธรรมดาให้รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลเมืองซึ่งตนดำรงค์ตำแหน่งอยู่ได้
จำเลยคัดค้านข้อเท็จจริงที่ศาลล่างชี้ขาดมา แต่ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างมิได้ชี้ขาดดังฎีกาของจำเลย ดังนี้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อฎีกาข้อนั้น
เมื่อจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว การที่จำเลยคัดค้านไม่ยอมให้สามีโจทก์เป็นคู่ความร่วมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลแก่คดีโจทก์อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดแผลถึงขั้นเป็นอันตรายทางกฎหมาย: การพิจารณาบาดแผลและอาการรักษาเพื่อประเมินความร้ายแรง
บาดแผลที่ถือว่าถึงบาดเจ็บ บาดแผลตามข้อเท็ดจิงสาลอุธรน์ฟังมานั้นจะถึงบาดเจ็บหรือไม่เปนปัญหาข้อกดหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บทางการแพทย์ เพื่อกำหนดความผิดทางอาญา
อย่างไรเรียกว่าทนทุกข์ เวทนากล้าเกินกว่า 20 วัน หรือไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้โดยปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดเจ็บสาหัสตามกฎหมาย: การประเมินระยะเวลาที่ไม่สามารถประกอบอาชีพ
อย่างไรเรียกว่าบาดเจ็บสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความรุนแรงของบาดแผล: บาดแผลหนังขาดถือเป็นบาดเจ็บหรือไม่
บาดแผลหนังขาดเรียกว่าถึงบาดเจ็บ เทียบฎีกาที่ 467/2468 , 712/2469 ปัญหากฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินบาดเจ็บทางกาย: บวมช้ำถือเป็นบาดเจ็บหรือไม่
บาดแผลอย่างไรเรียกว่าถึงบาดเจ็บ บาดเจ็บหรือไม่บาดเจ็บเปนปัญหากฎหมาย ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13962/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบรวมบริษัทและการประเมินเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน: ฐานะนายจ้างใหม่
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 45 ให้ความสำคัญเรื่องการเรียกเก็บเงินสมทบโดยคำนึงถึงตัวนายจ้างเป็นหลัก หากข้อเท็จจริงจากตัวนายจ้างเปลี่ยนแปลงไปย่อมทำให้การประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบจากนายจ้างเปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อโจทก์เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือเดียวกันเข้าด้วยกันและก่อนควบรวมกิจการบริษัททั้ง 7 แห่งต่างก็มีฐานะเป็นนายจ้างแยกจากกันซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แยกประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบแยกกันไปตามรายกิจการ เมื่อบริษัททั้ง 7 มาควบรวมกิจการกันเป็นบริษัทใหม่ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวนายจ้างของแต่ละบริษัทเปลี่ยนแปลงไป ต้องถือว่าบริษัทโจทก์ที่จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นใหม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลใหม่และเป็นนายจ้างใหม่ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ใหม่ด้วย เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนในอัตราเงินสมทบร้อยละ 0.40 ของค่าจ้าง การที่โจทก์จะขอนำระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบของบริษัทในเครือมารวมคำนวณเพื่อขอลดอัตราดังกล่าวเพื่อชำระเงินสมทบน้อยลงย่อมไม่ชอบ ทั้งการควบรวมบริษัทในเครือเข้าด้วยกันก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของโจทก์ในการดำเนินธุรกิจ มิใช่เพื่อประโยชน์ของลูกจ้างโดยตรง และวิธีการในการประเมินเงินสมทบได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วใน พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 โจทก์จะยกอ้างเอาสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1243 ซึ่งเป็นหลักทั่วไปมาปรับใช้แก่กรณีของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12751/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรศุลกากร การไม่อุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับ และฟ้องซ้ำซ้อนที่ไม่เป็นผล
ตามคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 716/2553 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ โจทก์ในคดีดังกล่าวฟ้องขอให้จำเลยในคดีนี้รับผิดข้อหาร่วมกันนำหรือพาสินค้าหลบหนีภาษีอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งมีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีนี้มีปัญหาว่า จำเลยต้องรับผิดชำระค่าอากร เงินเพิ่มอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มหรือไม่เพียงใด จะเห็นได้ว่า คำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 716/2553 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ย่อมมีผลเฉพาะในส่วนอาญาที่ขอให้ลงโทษจำเลยเท่านั้น ศาลในคดีอาญาไม่อาจพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าอากร เงินเพิ่มอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ มูลคดีของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นเรื่องทางแพ่งโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องเดียวกับคดีอาญาในความหมายที่บัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
ตามมาตรา 112 ฉ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน กฎหมายให้สิทธิผู้นำของเข้าอุทธรณ์การประเมินเช่นนี้ หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจการประเมิน การประเมินนั้นเป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยมิได้สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
ตามมาตรา 112 ฉ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน กฎหมายให้สิทธิผู้นำของเข้าอุทธรณ์การประเมินเช่นนี้ หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจการประเมิน การประเมินนั้นเป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยมิได้สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีป้ายรายปี: การประเมินถูกต้องตามกฎหมาย แต่เงินเพิ่มยกเว้นเมื่อแก้ไขแบบแสดงรายการก่อนแจ้งการประเมิน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายเป็นรายปี ซึ่งคำว่า รายปี ย่อมมีความหมายว่า เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายปีละหนึ่งครั้งเพียงคราวเดียวโดยไม่ต้องคำนึงว่าป้ายได้ติดตั้งหรือแสดงไว้ในปีนั้นครบทั้งปีหรือไม่ ยกเว้นตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย ที่กำหนดว่าเฉพาะป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกที่ให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี ไม่ต้องเสียภาษีป้ายเป็นรายปีแต่ให้คิดเป็นรายงวด งวดละสามเดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี เท่านั้น
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทเพิ่มเติมก่อนแจ้งการประเมิน จึงพอถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (2)
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทเพิ่มเติมก่อนแจ้งการประเมิน จึงพอถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองหลังผู้จำนองเสียชีวิต, เบี้ยปรับภาษีอากร และการประเมินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี หลังจากรู้ว่า ก. ตายก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับจำนองได้ เพราะเหตุดังกล่าวไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาจำนองระงับสิ้นไปตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 744
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง