คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับบทลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานมีวัตถุระเบิด และการปรับบทลงโทษฐานบุกรุก
ความผิดฐานมีวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ นั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบังอาจมีลูกระเบิดขว้างชนิดสังหารแบบ 88 บ. 61 จำนวน 1 ลูก อันเป็นลูกระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม ก็เป็นฟ้องที่ครบถ้วนองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 3, 5 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2501)(12) แล้วไม่จำต้องบรรยายว่า.เป็นลูกระเบิดที่ใช้ขว้างและระเบิดได้
ความผิดฐานบุกรุก เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 362 และ 364 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษอาญาและการยืนยันสถานะผู้เสียหาย แม้มีคดีอื่นที่เกี่ยวข้อง ศาลฎีกาห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 13 ศาลปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 13 ได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ถูกจำเลย 3 คนในอีกคดีหนึ่งทำร้ายร่างกาย แล้วโจทก์ได้แจ้งความต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านให้จับกุมจำเลย 3 คนนั้น จำเลยไม่จับ กลับรายงานเท็จว่าโจทก์กับจำเลย 3 คนนั้นทะเลาะวิวาทกัน แม้ในคดีอีกเรื่องหนึ่งนั้นโจทก์ถูกฟ้องว่าสมัครใจวิวาทกับจำเลย 3 คนนั้น โจทก์รับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษไปแล้วหลังจากพิพากษาคดีนี้ แต่เมื่อคดีนี้ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงต้องกันมาว่าโจทก์ถูกทำร้ายฝ่ายเดียวโจทก์เป็นผู้เสียหาย จำเลยจะฎีกาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะโจทก์สมัครใจวิวาทกับอีกฝ่ายหนึ่งหาได้ไม่ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการปรับบทลงโทษและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องผู้เสียหายในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 13 ศาลปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 13 ได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ถูกจำเลย 3 คนในอีกคดีหนึ่งทำร้ายร่างกาย แล้วโจทก์ได้แจ้งความต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านให้จับกุมจำเลย 3 คนนั้น จำเลยไม่จับกลับรายงานเท็จว่าโจทก์กับจำเลย 3 คนนั้นทะเลาะวิวาทกัน แม้ในคดีอีกเรื่องหนึ่งนั้น โจทก์ถูกฟ้องว่าสมัครใจวิวาทกับจำเลย 3 คนนั้น โจทก์รับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษไปแล้วหลังจากพิพากษาคดีนี้ แต่เมื่อคดีนี้ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงต้องกันมาว่าโจทก์ถูกทำร้ายฝ่ายเดียวโจทก์เป็นผู้เสียหาย จำเลยจะฎีกาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะโจทก์สมัครใจวิวาทกับอีกฝ่ายหนึ่งหาได้ไม่ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญาและการเลือกปรับบทลงโทษ: ศาลมีอำนาจพิจารณาจากข้อเท็จจริงแม้โจทก์ขอหลายมาตรา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานบังอาจยักยอกทรัพย์ของทางราชการที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาโดยนำไปขายให้ผู้อื่น อันเป็นการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151,157,158, 352 และ 353 เช่นนี้ เมื่อมาตราดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่บรรยายในฟ้องทั้งสิ้น และการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามมาตราใดย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะพึงเลือกปรับบทลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และเมื่อศาลปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นการลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาที่โจทก์สืบสมตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตามกฎหมายใหม่ที่มีโทษเบากว่าหลังกระทำผิด โดยอาศัยหลักกฎหมายที่ให้ใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
เมื่อตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำผิด ข้อ 14 ในส่วนที่เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 ได้แก้ไขใหม่ให้ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าระวางโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกยี่สิบปี ในการลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตามวรรคนี้จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม มาตรา 340 วรรค 4 ที่แก้ไขใหม่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3ซึ่งบัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตามกฎหมายใหม่ที่เบากว่าเดิมหลังกระทำผิด โดยใช้หลักกฎหมายที่ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด
เมื่อตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำผิด ข้อ 14 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 ได้แก้ไขใหม่ให้ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าระวางโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกยี่สิบปี ในการลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตามวรรคนี้จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 340 วรรค 4 ที่แก้ไขใหม่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ซึ่งบัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษทางอาญา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขบทที่ศาลชั้นต้นปรับผิดพลาดได้ แต่ห้ามเพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษจำเลยตามบทหนัก จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดหลายกระทงให้ลงโทษตามกระทงที่หนักที่สุด ส่วนกำหนดโทษให้คงเดิมดังนี้ เป็นเรื่องศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยมาไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาแก้เสียให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษทางอาญา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้บทลงโทษที่ไม่ถูกต้องได้ โดยไม่เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจำเลยตามบทหนักจำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดหลายกระทง ให้ลงโทษตามกระทงที่หนักที่สุด ส่วนกำหนดโทษให้คงเดิม ดังนี้ เป็นเรื่องศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยมาไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาแก้เสียให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ศาลปรับจำเลยแต่ละคนเกินสี่เท่าของราคาของ ซึ่งขัดต่อกฎหมาย
กรณีที่พระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยนั้น ถ้าศาลพิพากษาปรับจำเลยแต่ละคนคนละสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรด้วย ก็ย่อมเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกินกว่าสี่เท่า อันเป็นการผิดข้อความที่บัญญัติไว้และกรณีเช่นนี้ย่อมจะนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ซึ่งให้ปรับเรียงตามรายตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานลักทรัพย์: การปรับบทลงโทษเมื่อกฎหมายใหม่ไม่ถือว่าการลักของใช้ราชการเป็นเหตุฉกรรจ์
เหตุเกิดในขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา จำเลยทั้ง 4 คนสมคบกันลักของใช้สำหรับราชการ และลักในเวลาค่ำคืน แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มิได้บัญญัติว่าการลักของใช้ในราชการเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 294(4) ไม่ได้(เทียบฎีกาที่ 535/2500) แต่ว่าโดยที่การกระทำของจำเลยยังเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์อยู่อีก 2 ประการ คือ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ยังบัญญัติไว้ให้เป็นเหตุฉกรรจ์อยู่ในอนุมาตรา (1) และ (7) ซึ่งตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 293(1) และ (11) และโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 293 เบากว่าโทษในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 เช่นนี้ ต้องวางบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 293(1) และ(11)
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานทีศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ
of 15