พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่ชำระราคาประมูลและการรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516
ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกเงินราคาในส่วนที่ขาดจากการขายทอดตลาด เนื่องจากจำเลยผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องนำเอาที่ดินพิพาททั้งสามแปลงออกขายทอดตลาดซ้ำ และได้เงินสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ และให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 193/12 ซึ่งคดีนี้หลังจากจำเลยประมูลซื้อที่ดินพิพาทในราคาสูงสุดแล้วละเลยเสียไม่ชำระราคาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องนำที่ดินพิพาททั้งสามแปลงออกขายทอดตลาดซ้ำอีกถึงสองครั้ง เพราะผู้ประมูลครั้งที่สองก็ไม่ได้ชำระราคาและถูกริบมัดจำเช่นเดียวกัน จนกระทั่ง จ. เข้าประมูลซื้อและชำระราคาครบถ้วนเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2549 การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าว จึงต้องถือว่าวันที่ผู้สู้ราคาสูงสุดได้ชำระราคาครบถ้วนเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินในส่วนที่ขาดจากการขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ได้เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถยนต์ และความรับผิดของผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 686
บันทึกการส่งมอบรถยนต์มีข้อความว่า ข้าพเจ้าประสงค์ขอเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อคืนแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 9 ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะรับผิดชอบที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อกรณีที่เจ้าของได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการบอกเลิกสัญญาของข้าพเจ้า โดยเอกสารดังกล่าวระบุว่า บันทึกการส่งมอบรถยนต์เพื่อเลิกสัญญา และระบุสถานที่รับรถว่า เป็นการส่งมอบคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 9 กำหนดว่า ผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียวจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ โดยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนให้เจ้าของ ณ ภูมิลำเนาของเจ้าของ และผู้เช่าตกลงที่จะชำระบรรดาหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันบอกเลิกสัญญาแก่เจ้าของจนครบถ้วน และหากเจ้าของนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขาย หากได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชำระส่วนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของจนครบถ้วน การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ค้ำประกันย่อมแปลความหมายได้ว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนาบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้เจ้าของ และตกลงจะรับผิดในบรรดาหนี้ที่เกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 9 สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันตามข้อสัญญาดังกล่าว หาใช่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยคู่สัญญาสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาได้
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2558 ซึ่งเป็นเวลาภายหลัง ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับแล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด การที่โจทก์เพิ่งมีหนังสือแจ้งสิทธิการซื้อทรัพย์สินลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ส่งไปยังจำเลยที่ 2 ตามที่อยู่ที่ปรากฏตามสัญญาค้ำประกันโดยหนังสือดังกล่าวถูกส่งคืนกลับต้นทาง และโจทก์ขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 หลังจากนั้นโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 อีกครั้ง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 โดยจำเลยที่ 2 ได้รับเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดประโยชน์อันเป็นค่าสินไหมทดแทนเพียง 60 วัน เท่านั้น ส่วนค่าขาดราคาถือเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ค่าขาดราคา ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2558 ซึ่งเป็นเวลาภายหลัง ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับแล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด การที่โจทก์เพิ่งมีหนังสือแจ้งสิทธิการซื้อทรัพย์สินลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ส่งไปยังจำเลยที่ 2 ตามที่อยู่ที่ปรากฏตามสัญญาค้ำประกันโดยหนังสือดังกล่าวถูกส่งคืนกลับต้นทาง และโจทก์ขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 หลังจากนั้นโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 อีกครั้ง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 โดยจำเลยที่ 2 ได้รับเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดประโยชน์อันเป็นค่าสินไหมทดแทนเพียง 60 วัน เท่านั้น ส่วนค่าขาดราคาถือเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ค่าขาดราคา ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการประกันตัวที่ไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
สัญญาค้ำประกันการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ซึ่งระบุว่า "...หาก ร. ผู้ต้องหา/จำเลย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน หรือก่อให้นายประกันต้องถูกสั่งปรับในฐานะนายประกัน หรือการกระทำอื่นใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายประกัน ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบยอมใช้หนี้สินและค่าเสียหายอย่างใด ๆ นั้นทั้งหมด พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปี ให้กับนายประกันทันที..." ไม่ใช่กรณีที่จำเลยทั้งสามยอมชำระหนี้ต่อโจทก์ต่อเมื่อ ร. ไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 ที่ต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขายทองคำ: ไม่ใช่อายุความ 2 ปี แต่เป็น 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ขายทองคำผ่านระบบอินเทอร์เน็ต แต่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบทองคำที่ทำการขายทุกรายการภายในกำหนดเวลา 3 วันทำการนับแต่วันที่จำเลยส่งคำสั่งขายแต่ละรายการ โจทก์จึงใช้สิทธิตามสัญญาดำเนินการล้างฐานะเพื่อบังคับชำระหนี้โดยหักกลบลบหนี้เพื่อทอนบัญชีระหว่างจำนวนเงินค่าทองคำที่จำเลยสั่งขายกับจำนวนเงินค่าทองคำที่ได้จากการบังคับซื้อกลับ ซึ่งตามสัญญาซื้อขายทองคำแท่ง ข้อ 5.1 ระบุว่า หากปรากฏพฤติการณ์ดังต่อไปนี้ไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง ให้ภาระหนี้สินทั้งหมดของลูกค้าในบัญชีของลูกค้าถึงกำหนดชำระโดยพลัน และให้บริษัทสามารถดำเนินการการล้างฐานะซื้อขายทองคำได้ทันที...(1) เมื่อลูกค้าผิดนัดไม่ชำระค่าซื้อและ/หรือขายทองคำ และ/หรือผิดนัดการวางหลักประกัน และ/หรือผิดนัดชำระหนี้ใด ๆ ตามสัญญานี้ ภายในระยะเวลา และ/หรือเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญานี้ หรือตามข้อกำหนดของบริษัท และ/หรือไม่ชำระเงินจำนวนใด ๆ ภายใต้สัญญานี้ตามจำนวนที่ต้องชำระเมื่อถึงกำหนดชำระ และข้อ 5.3 วรรคสอง ระบุว่า ในกรณีที่บริษัทล้างฐานะรายการซื้อขายทองคำของลูกค้าแล้ว ทำให้เกิดส่วนต่างของราคาทองคำที่ซื้อขาย และ/หรือผลขาดทุน และ/หรือ มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ลูกค้ายินดีรับผิดชอบชำระส่วนต่าง และ/หรือผลขาดทุน และ/หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้กับบริษัททันทีที่ได้รับการทวงถามจากบริษัท พร้อมด้วยค่าเสียหายและดอกเบี้ยและ/หรือเบี้ยปรับ ในอัตราที่บริษัทกำหนดนับจากวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้บริษัทครบถ้วน การที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบทองคำให้โจทก์ตามกำหนด โจทก์จึงใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 5.1 (1) เพื่อดำเนินการล้างฐานะซื้อขายทองคำอันทำให้เกิดส่วนต่างของราคาทองคำที่ซื้อขายที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาข้อ 5.3 วรรคสอง ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นการเรียกเอาค่าเสียหายจากส่วนต่างของราคาทองคำเนื่องจากจำเลยมิได้ส่งมอบทองคำให้แก่โจทก์ภายในกำหนดตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว สิทธิเรียกร้องในลักษณะนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ดังที่จำเลยฎีกาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าส่วนกลางอาคารชุด: ศาลฎีกายกอายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4) แม้ข้อบังคับอาคารชุดมิได้กำหนด
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งผู้ร้องว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ครั้งที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอให้ผู้ร้องมาตรวจรับรองบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ครั้งที่ 1 จำนวน 44,959.86 บาท หากประสงค์จะคัดค้านบัญชีให้ยื่นคำแถลงคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือผู้ร้องตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากจำเลยทั้งสองเจ้าของห้องชุดพิพาทต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระแก่ผู้ร้องตามข้อบังคับของผู้ร้องและ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18 นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 ถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด รวมค่าใช้จ่ายส่วนกลางและเงินเพิ่ม 189,327.28 บาท กรณีเป็นเรื่องผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและเงินเพิ่ม 189,327.28 บาท มิใช่เป็นการโต้แย้งว่ากระบวนการในการจัดทำบัญชีส่วนเฉลี่ยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 342 คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ครั้งที่ 1 จึงไม่เป็นที่สุด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (14) และมาตรา 278 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จะเห็นได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานศาลและเป็นตัวแทนของคู่ความทุกฝ่ายทั้งโจทก์ ผู้ร้อง และจำเลย จึงมีอำนาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ประกอบกับโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ค่าส่วนกลางที่ผู้ร้องเรียกเก็บเป็นรายเดือนเมื่อเจ้าของรวมไม่ได้ชำระจึงถือเป็นเงินค้างจ่าย และ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) มาใช้บังคับ หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระจึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี อันเป็นการยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เมื่อ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องสำหรับเงินดังกล่าวไว้โดยเฉพาะจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อบังคับของผู้ร้องกำหนดให้ชำระค่าส่วนกลางเป็นรายเดือน แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระจึงถือเป็นเงินค้างจ่ายซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ซึ่งบัญญัติไว้ว่า เงินค้างจ่าย...และเงินอื่นๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ดังนั้น ค่าเบี้ยปรับและเงินเพิ่มอันเกิดจากการไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เป็นหนี้อุปกรณ์ของค่าใช้จ่ายส่วนกลาง จึงมีอายุความ 5 ปี เช่นกัน ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระและค่าเบี้ยปรับย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (14) และมาตรา 278 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จะเห็นได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานศาลและเป็นตัวแทนของคู่ความทุกฝ่ายทั้งโจทก์ ผู้ร้อง และจำเลย จึงมีอำนาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ประกอบกับโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ค่าส่วนกลางที่ผู้ร้องเรียกเก็บเป็นรายเดือนเมื่อเจ้าของรวมไม่ได้ชำระจึงถือเป็นเงินค้างจ่าย และ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) มาใช้บังคับ หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระจึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี อันเป็นการยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เมื่อ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องสำหรับเงินดังกล่าวไว้โดยเฉพาะจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อบังคับของผู้ร้องกำหนดให้ชำระค่าส่วนกลางเป็นรายเดือน แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระจึงถือเป็นเงินค้างจ่ายซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ซึ่งบัญญัติไว้ว่า เงินค้างจ่าย...และเงินอื่นๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ดังนั้น ค่าเบี้ยปรับและเงินเพิ่มอันเกิดจากการไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เป็นหนี้อุปกรณ์ของค่าใช้จ่ายส่วนกลาง จึงมีอายุความ 5 ปี เช่นกัน ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระและค่าเบี้ยปรับย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี