พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ โดยมีคำขอต่างกัน ศาลยกฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่า ที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นรวม11 รายการ เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท.ต่อมา ท.ถึงแก่กรรม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.แก่กองมรดก ท.ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกันให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน เพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาท กับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท.ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างเหตุเดียวกันอีก แม้โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยก็ตาม แต่ในการที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท.และเป็นทรัพย์มรดกของ ท.ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน กรณีจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับคดี: ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เป็นกฎหมายเฉพาะเหนือกว่า ป.พ.พ. มาตรา 213
โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่บทบัญญัติในการบังคับคดี มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. กรณีจำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา และศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่าการที่จำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่ายถือไม่ได้ว่าเป็นการผลิตตามความหมายของคำว่าผลิตตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 4 และขอให้ลงโทษสถานเบา จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่าจำเลยไม่ได้แบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่าย ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่ายหรือไม่ จึงยุติไปแล้วจำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันว่า จำเลยได้แบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้องนั้นหาได้ไม่เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และผลกระทบต่อสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองค้างชำระหนี้แก่โจทก์ นับถึงวันฟ้องคิดเป็นต้นเงิน 960,000 บาท และดอกเบี้ย 49,106.32 บาท รวมเป็นเงิน1,009,106.32 บาท โจทก์อุทธรณ์ว่า นับถึงวันฟ้องจำเลยทั้งสองค้างชำระดอกเบี้ย54,826.87 บาท เมื่อรวมกับต้นเงิน 960,000 บาท แล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น1,014,826.87 บาท ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคหนึ่งโจทก์จึงหามีสิทธิฎีกาโต้แย้งปัญหาดังกล่าวอีกได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเกินกรอบ ป.วิ.พ.มาตรา 224 ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 และศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษากลับให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้ร้องจะฎีกาต่อมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย และศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่วินิจฉัยในข้อเท็จจริง และยกฎีกาผู้ร้องให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กับคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รูปแบบคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง: การใช้แบบพิมพ์ที่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 และ 156
ป.วิ.พ.มาตรา 67 วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้การยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงานคู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์นั้น..." และมาตรา 156วรรคท้าย บัญญัติโดยชัดแจ้งให้การอุทธรณ์คำสั่งต้องทำเป็นคำร้อง ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง(แบบ 7) เท่านั้นหาใช่ต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งทั่วไปโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ไม่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอของจำเลยที่ขอฎีกาอย่างคนอนาถาโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง (แบบ 7) ตามที่ศาลจัดไว้ตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งจึงเป็นการใช้แบบพิมพ์ถูกต้องแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 จัดทำอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ย่อมเป็นการสั่งโดยผิดหลงและไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา และให้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยที่ 1 เสียด้วยก็เป็นการสั่งและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งหมดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 หลังศาลมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องฉบับแรกขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาท 11 ห้อง ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบให้แก่โจทก์โดย อ้างว่า การส่งมอบไม่ถูกต้องเพราะคดียังไม่ถึงที่สุดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบห้อง พิพาททั้งสิบห้าห้องรวมทั้งทรัพย์สินให้แก่โจทก์แล้ว จึง ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาและไต่สวนคำร้องของ ผู้ร้องอีกต่อไป ให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดในประเด็นที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาท 11 ห้อง ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบให้แก่โจทก์แล้ว หากผู้ร้องไม่พอใจอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้น ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ผู้ร้อง กลับมายื่นคำร้องอีกฉบับว่าการส่งมอบห้องพิพาทไม่ถูกต้อง ผู้ร้องยังครอบครองห้องพิพาทอีก 4 ห้อง การบังคับคดียังไม่ เสร็จสิ้น และการด่วนคืนห้องพิพาทให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง ขอให้ไต่สวนคำร้องของ ผู้ร้องฉบับแรกและคืน ห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องให้แก่ผู้ร้อง คำร้องฉบับหลังจึง มีข้ออ้างเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก แม้จะมีคำขอต่างกัน โดยขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกและขอให้คืนห้องพิพาททั้ง สิบห้าห้อง ก็สืบเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จึง เป็นการขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี หรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และปัญหาเรื่องการดำเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดต้องแสดงการยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างโจทก์ชัดเจนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดระบุไว้ชัดเจนว่า ขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามด้วยความสมัครใจเอง อ้างว่ายังมีสิทธิที่จะยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) กรณีเป็นเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ดังนั้น คำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเป็นคำให้การตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จึงต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่าผู้ร้องสอดยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น แต่คำร้องสอดหาได้แสดงเช่นที่กล่าวมาแล้วไม่ จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งไม่รับคำร้องสอดของผู้ร้องสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้และการให้เหตุผลที่ไม่ชัดเจนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 และการยกข้ออ้างใหม่ในชั้นอุทธรณ์
จำเลยกล่าวในคำให้การในตอนแรกว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินกับโจทก์ทั้ง 3 ฉบับ และนำที่ดินโฉนดที่พิพาทจำนองต่อโจทก์เป็นประกันหนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องโจทก์ทั้ง 3 ฉบับจริง แต่จำเลยไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับนั้น การจำนองที่ดินประกันหนี้ตามสัญญากู้จึงเป็นการประกันหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ดังนี้เป็นเพียงคำให้การที่ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์เท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจำเลยไม่ได้รับเงินจากโจทก์จึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามที่กล่าวอ้างของตน
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่าหากศาลฟังว่าสัญญากู้และการจำนองที่ดินเป็นประกันสมบูรณ์ตามกฎหมายและจำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวบังคับจำนองก็ตาม กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าเป็นคำให้การที่มีเงื่อนไขไม่แจ้งชัดว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ มิใช่เป็นคำปฏิเสธเหมือนในตอนแรก คำให้การในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองและการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ถูกต้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่าหากศาลฟังว่าสัญญากู้และการจำนองที่ดินเป็นประกันสมบูรณ์ตามกฎหมายและจำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวบังคับจำนองก็ตาม กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าเป็นคำให้การที่มีเงื่อนไขไม่แจ้งชัดว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ มิใช่เป็นคำปฏิเสธเหมือนในตอนแรก คำให้การในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองและการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ถูกต้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่หน่วยราชการโดยวิธีปิดหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 การนับระยะเวลาให้มีผลใช้ได้
คำสั่งของศาลภาษีอากรที่สั่งในคำฟ้องของโจทก์ในตอนต้นที่ว่า"รับคำฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน" เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรสั่งว่าในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ส่วนคำสั่งศาลภาษีอากรที่สั่งต่อไปว่า "เนื่องจากจำเลยเป็นหน่วยราชการมีภูมิลำเนาแน่นอนการส่งหากไม่มีผู้รับให้ปิด" นั้น เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรได้สั่งไว้เป็นการล่วงหน้าว่า หากส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ ก็ให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคแรก โดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการของจำเลย เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยแล้ว เจ้าหน้าที่งานสารบรรณของจำเลยไม่เต็มใจรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ เท่ากับว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาไม่อาจทำได้ เจ้าพนักงานศาลจึงปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการของจำเลย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540ดังนี้ จึงเป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคแรก มิได้เป็นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตามข้อความในคำสั่งศาล ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 76 เมื่อศาลภาษีอากรมิได้กำหนดระยะเวลาการปิดหมายไว้ว่าจะให้มีผลใช้ได้เมื่อใด ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยการปิดหมายในคดีนี้ จึงมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่วันปิดหมาย คือมีผลเมื่อพ้นวันที่ 9 ธันวาคม 2540 จำเลยยื่นคำให้การเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2540 จึงเป็นการยื่นคำให้การภายในกำหนดแล้ว