คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนปรนกำหนดเวลาชำระหนี้และการไม่ถือเป็นผิดนัดสัญญาซื้อขายที่ดิน
โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงเลื่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญากันหลายครั้ง สาเหตุของการเลื่อนวันนัดมีทั้งจากฝ่ายโจทก์บ้างและฝ่ายจำเลยทั้งสองบ้าง แสดงว่าคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันโดยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามสัญญาเรื่องกำหนดเวลาโอนที่ดินพิพาท ถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ถือเอาการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ดังนั้นการที่นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ไปพบกับจำเลยทั้งสองที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครนายกตามกำหนดวันนัดในสัญญาและได้จัดเตรียมแคชเชียร์เช็คและเงินสดสำหรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว แต่เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากแคชเชียร์เช็คที่นาย ว.นำไปเกิดหายไป และขณะนั้นก็เป็นเวลาประมาณ16 นาฬิกา ใกล้เวลาเลิกทำงานของทางราชการย่อมไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทัน ทั้งวันนัดโอนดังกล่าวก็เป็นวันศุกร์ การที่โจทก์ขอเลื่อนการจดทะเบียนการโอนไปเป็นวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดทำการใหม่ของทางราชการ พออนุโลมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดชำระหนี้ จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัด และไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ ค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งให้โจทก์เป็นที่ปรึกษาทำการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูล และเจรจากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเรื่องการประมูลก่อสร้างทางด่วนสายท่าเรือ-ดาวคะนอง เพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างทางด่วนดังกล่าวกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เช่นนั้น สัญญาดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ใช้อิทธิพลวิ่งเต้นหรือเข้าแทรกแซงในกิจการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของราชการแต่อย่างใด จึงไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลใช้บังคับกันได้โดยสมบูรณ์ และเมื่อจำเลยที่ 3ว่าจ้างโจทก์ทำการงานให้จำเลยที่ 3 แม้โจทก์กับจำเลยที่ 3มิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้างหรือค่าตอบแทนที่โจทก์เรียกว่าบำเหน็จและค่าใช้จ่ายโดยแจ้งชัด ก็ถือได้ว่าได้มีสัญญาผูกพันจำเลยที่ 3 ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างให้โจทก์ทำนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 3 เป็นผลสำเร็จ ทำให้จำเลยที่ 3 กับกิจการร่วมค้าได้ทำสัญญาก่อสร้างงานตามโครงการทางด่วนท่าเรือ-ดาวคะนอง ช่วงที่ 1 กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่โจทก์ทำนั้น แต่เมื่อไม่มีข้อตกลงกันโดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 3 จะให้สินจ้างแก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใดก็จำเป็นที่จะต้องตีความสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย และศาลมีอำนาจกำหนดสินจ้างให้แก่โจทก์ได้ตามผลสำเร็จของงานโดยพิเคราะห์ความยากง่ายในการดำเนินการของการงานที่จำเลยที่ 3 จ้างให้โจทก์ทำประกอบด้วย และจำเลยที่ 3 ยังต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของสินจ้างที่จำเลยที่ 3 ต้องจ่ายให้โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8052/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อนผิดนัดและการคืนเงินมัดจำ กรณีคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญา และเรียกเงินมัดจำกับเบี้ยปรับจากจำเลยก็เพราะกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ที่โจทก์ฎีกาว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายแต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยายแล้วโจทก์จึงขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและเบี้ยปรับแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยได้ จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้มาและโจทก์ฎีกาในข้อนี้อีก ก็ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ร่วมหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อทวงหนี้เกิน 2 ปีหลังผิดนัด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลยบันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพความรับผิดโดยสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18/8วรรคสาม(เดิม) แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295แม้ห้างถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119แล้วก็ตามเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น2ปีนับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7649/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระทบต้นเงิน: สิทธิในการคิดดอกเบี้ยซ้ำเมื่อผิดนัด
สัญญากู้ยืมตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า1 ปี ทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น มีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปี ทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึง 1 ปี แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ผิดนัดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การผิดนัด และผลกระทบต่อดอกเบี้ย
ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอม จำเลยทั้งสองตกลงยอมให้ค่าปรับแก่โจทก์ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการปลอดภาระผูกพันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นก่อนวันอันถึงกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เว้นแต่ภาระจำนองที่จำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการปลอดจำนองในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่จากคำแถลงของโจทก์ได้ความว่าเมื่อถึงวันนัดไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่คู่ความต่างเลื่อนไปในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียนนิติกรรม การทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่อาจจะกระทำได้ โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการปลอดภาระจำนองแต่ประการใด ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ให้สิทธิแก่โจทก์บังคับคดีโดยถือเอาสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสองต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้อยู่แล้ว แสดงว่าแม้หากจำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียน โจทก์ก็สามารถใช้คำพิพากษาตามยอมแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ได้โดยปลอดภาระจำนองตามกำหนดนัดในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และการบังคับคดีในลักษณะนี้ก็มิใช่เป็นการบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงหาจำต้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอีกแต่ประการใดไม่ ดังนั้น เพียงการที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปรับจำเลยทั้งสองได้
การที่โจทก์เพิ่งดำเนินการบังคับคดีชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยทั้งสองแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2536 โดยต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารนับแต่วันที่ 28 ตุลาคม2535 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2536 จึงเท่ากับเป็นการเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่โจทก์ผิดนัดไม่ดำเนินการตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยส่วนนี้จากเงินที่ต้องชำระแก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ 650,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 2ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์โดยมีใจความสำคัญว่า ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้ จำเลยที่ 2จึงเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ส่วนข้อตกลงอื่น ๆ ที่ระบุว่าเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้จนครบแล้ว เจ้าหนี้จะดำเนินการถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาให้แก่ลูกหนี้ต่อไปเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันและไม่ใช่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระหนี้แทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน แม้มีข้อตกลงถอนฟ้องอาญาเพิ่มเติม ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด
จำเลยที่1กู้ยืมเงินโจทก์650,000บาทโดยมีจำเลยที่2ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์โดยมีใจความสำคัญว่าผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทนจำเลยที่1แก่โจทก์ถ้าจำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระหนี้ดังนี้จำเลยที่2จึงเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ส่วนข้อตกลงอื่นๆที่ระบุว่าเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้จนครบแล้วเจ้าหนี้จะดำเนินการถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาให้แก่ลูกหนี้ต่อไปเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันและไม่ใช่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์จำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระหนี้แทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 6 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาจ้างย่อยและขนส่งหินคลุก เริ่มนับแต่จำเลยผิดนัด
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยให้ทำการย่อยและขนส่งหินคลุกกองรายทางใช้สำหรับราดยางในทางหลวง ตามสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้เสร็จภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2522 และส่งมอบงานงวดที่ 2 ให้เสร็จภายในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่ครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่ 1 คือ วันที่ 3 ตุลาคม 2522 จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าว ดังนั้น อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2532 จึงเกินกำหนด 10 ปีคดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ตามมาตรา 188 เดิม(มาตรา 193/10 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีผิดสัญญาจ้างทำของ เริ่มนับแต่วันจำเลยผิดนัดชำระหนี้
สิทธิเรียกร้องในเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างทำของในข้อที่ไม่ชำระหนี้เลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นมาทำการงานแทนนั้น จำเลยได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่เมื่อครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่ 1 วันครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่ 1 ตามสัญญาข้อ 4 คือ วันที่ 3 ตุลาคม 2522 ดังนั้นจำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2522 โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องกับจำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าว อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 163 เดิม (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2532 นับจากวันที่ 4 ตุลาคม 2522 ถึงวันฟ้องเกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30ที่แก้ไขไหม่) จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 เดิม (มาตรา 193/10ที่แก้ไขใหม่)
of 41