พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6467/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องผู้ถือหุ้นเรียกค่าภาษี
การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 2-10ที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบจำนวนมูลค่าหุ้น ให้ร่วมรับผิดชำระค่าภาษีที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่แก่โจทก์นั้น มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2-10 ต่อศาลภาษีอากรกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5820/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: การรอให้กรรมการที่ชอบดำเนินการแทนก่อน
เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในฐานะผู้ถือหุ้นที่ใช้อำนาจครอบงำการจัดการเพื่อรักษาผลประโยชน์จากการลงทุนในบริษัทโดยฟ้องเพิกถอนรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่ ย.ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งกับพวกจัดทำอันเป็นเท็จ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทแล้ว ขั้นต่อไปย่อมเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบจะเข้ามาดำเนินกิจการ แล้วพิจารณาว่าสมควรฟ้องร้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ย.ในฐานะผู้แทนโดยมิชอบของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 หรือไม่ต่อไป โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหาได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะก้าวล่วงมาฟ้องในชั้นนี้เสียเองต่อบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8 และจำเลยอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5820/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: ต้องรอให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบเข้ามาดำเนินคดีเพื่อเพิกถอนนิติกรรม
เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในฐานะผู้ถือหุ้นที่ใช้อำนาจครอบงำการจัดการเพื่อรักษาผลประโยชน์จากการลงทุนในบริษัทโดยฟ้องเพิกถอนรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่ ย.ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งกับพวกจัดทำอันเป็นเท็จ จนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8มาเป็น ย. เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทแล้ว ขั้นต่อไปย่อมเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบจะเข้ามาดำเนินกิจการ แล้วพิจารณาว่าสมควรฟ้องร้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ย. ในฐานะผู้แทนโดยมิชอบของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6หรือไม่ต่อไป โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหาได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะก้าวล่วงมาฟ้องในชั้นนี้เสียเองต่อบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8และจำเลยอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นที่มีการลงนามและประทับตราจากกรรมการบริษัท ย่อมใช้ยันบริษัทได้ แม้ไม่ได้จดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้น
เมื่อการโอนหุ้นมีกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทลงชื่อเป็นพยานพร้อมกับประทับตราสำคัญของบริษัท แม้จะไม่มีการจดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักงานผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น การโอนนั้นสามารถใช้ยันบริษัทได้ ไม่เป็นกรณีที่ต้องตกอยู่ในบังคับมาตรา 1129วรรคสาม ความรับผิดของผู้โอนสำหรับจำนวนเงินในมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1133 นั้น หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบต่อบริษัท ทั้งที่ได้โอนหุ้นนั้นไปแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีอำนาจใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อเรียกค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นได้ หากลูกหนี้ไม่ดำเนินการ
บริษัทจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ และกรรมการของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เรียกร้องผู้ถือหุ้นให้ชำระค่าหุ้นที่ยังค้างชำระเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ส่งชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การเพียงว่ากรรมการของจำเลยที่ 1เท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างโดยกรรมการต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา1120 และมาตรา 1121 บุคคลอื่นแม้จะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1ก็ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3หาได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในมาตราดังกล่าว โจทก์จึงยังหามีสิทธิเรียกร้องไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.ไม่มี สิทธิครอบครอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นลูกหนี้ เพื่อนำมาชำระหนี้
บริษัทจำเลยที่ 1 ซื้อก๊าซไนโตรเจนเหลวไปจากโจทก์ แล้วไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และกรรมการของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ต้องเสียประโยชน์โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ส่งชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นและการชำระค่าหุ้น: สิทธิและหน้าที่ของผู้ถือหุ้นตามบัญชีรายชื่อและการสันนิษฐานตามกฎหมาย
ตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ในวันประชุมตั้งบริษัทจำเลยเอกสารหมาย จ.2 ปรากฎลายมือชื่อของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองลงชื่อจองหุ้น และค้างชำระค่าหุ้น อยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปและยังมีบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญครั้งที่ 1/2525 ที่บริษัทจำเลย ส่งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานครเอกสาร หมาย จ.9 เป็นพยานสนับสนุนอีกซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1024 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ทุกประการ ผู้ร้องคัดค้านไม่สามารถนำสืบหักล้างพยานหลักฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ดังนี้ฟังได้ว่า ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองยังคงถือหุ้นและค้างชำระค่าหุ้น และค้างชำระค่าหุ้นอยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทวงหนี้ไปจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารราชการมีน้ำหนักหักล้างพยานไม่ได้ ผู้ถือหุ้นค้างชำระ
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่บริษัทจำเลยส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เป็นเอกสารราชการ กฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1141 เมื่อบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวระบุว่าผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นและยังคงค้างค่าหุ้นอยู่ และผู้ร้องไม่อาจนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงต้องฟังว่าผู้ร้องถือหุ้นและค้างค่าหุ้นตามที่ระบุไว้ บริษัทจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องซึ่งถือหุ้นและค้างค่าหุ้นบริษัทจำเลยอยู่ต้องชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัท
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร, ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบหนี้บริษัท, อำนาจฟ้อง
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้น การแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิพากษาคดีในปัญหาข้อนี้ อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้