คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้เอาประกันภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยและการเรียกผู้เอาประกันภัยเข้าสู่คดี: ผู้รับประกันภัยยังต้องรับผิดแม้ไม่ได้เรียกผู้เอาประกันภัย
การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสองตอนท้ายบัญญัติว่าในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัย ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้น ก็เพื่อจะได้พิจารณาความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายละเลยไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่ อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย และทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัย และผลของการไม่เรียกผู้เอาประกันภัยเข้าสู่คดี
การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสองตอนท้าย บัญญัติว่าในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัย ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้น ก็เพื่อจะได้พิจารณาความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายละเลยไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย และทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดได้จำกัดเฉพาะค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงต่อผู้เอาประกันภัย
ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกได้เพียงเท่ากับจำนวนที่บุคคลนั้นได้กระทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยเท่านั้น จะเรียกร้องเต็มตามจำนวนที่ผู้รับประกันภัยต้องชำระให้แก่ผู้เอาประกันซึ่งเกินกว่าค่าเสียหายที่บุคคลภายนอกได้กระทำละเมิด หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8789/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายหากมิได้เป็นผู้ทำละเมิด
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถชนรถคันอื่นจนทำให้เกิดความเสียหายแก่รถอื่นถึง 3 คัน ย่อมเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถด้วยความเร็วสูงในขณะเมาสุรา เมื่อตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ท้ายตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ข้อ 7 ระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจาก 7.6 การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่ มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่าเงื่อนไขตาม 7.6 บริษัทจะไม่นำมาเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิด เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกไปแล้วตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 8 วรรคสาม โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากผู้เอาประกันภัยได้
ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันภัยที่จะถูกเรียกค่าสินไหมทดแทนคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยนั้น หมายถึง ผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก แต่ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยมิใช่เป็นผู้ทำละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6686/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อยกเว้นความรับผิดในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ต้องตีความโดยเคร่งครัดและเป็นประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัย
ผู้รับประกันภัยเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันภัย เงื่อนไขที่ยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ถ้ามีข้อสงสัยต้องตีความให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งตามเงื่อนไขความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อรถยนต์สูญหาย โดยในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และยักยอกทรัพย์ ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย และมีข้อยกเว้นความรับผิดว่าการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์ โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น เงื่อนไขที่ยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยนี้จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าหมายถึงความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์ ที่กระทำโดยบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายหรือครอบครองตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ เท่านั้น เนื่องจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์โดยบุคคลดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยง่ายจึงมีความเสี่ยงสูง กรมธรรม์จึงไม่อาจให้ความคุ้มครองได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายเพราะถูก ว. ยักยอกไป ซึ่ง ว. เป็นผู้รับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจากจำเลยที่ 2 ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เพื่อนำไปขาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4750/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคุ้มครองประกันภัยรถจักรยานยนต์จำกัดเฉพาะผู้เอาประกันภัยที่ระบุชื่อ แม้ผู้ขับขี่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
คดีนี้ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 2 นำรถจักรยานยนต์ไปประกันภัยกับจำเลยตามหนังสือรับรองการประกันภัย โจทก์ที่ 2 มอบให้โจทก์ที่ 1 ครอบครองใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวขับไปโรงเรียน ต่อมาโจทก์ที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ประสบอุบัติเหตุทำให้ได้รับบาดเจ็บและทุพพลภาพ ตามหนังสือรับรองการประกันภัยระบุคุ้มครองถึงการสูญเสียชีวิต การสูญเสียสายตาและทุพพลภาพถาวร... ตามรายชื่อผู้ครอบครอง/ผู้เอาประกันภัยที่ระบุด้านล่าง... แสดงว่า หนังสือรับรองการประกันภัยดังกล่าวคุ้มครองเฉพาะบุคคลที่ระบุชื่อไว้ในช่องผู้ครอบครอง/ผู้เอาประกันภัยเท่านั้น เมื่อช่องผู้ครอบครอง/ผู้เอาประกันภัย ระบุชื่อโจทก์ที่ 2 เท่านั้น มิได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 1 ด้วย แม้โจทก์ที่ 1 จะเป็นผู้ครอบครองใช้รถจักรยานยนต์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4623/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยอุบัติเหตุตกแก่ทายาทเมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย
ส. เป็นผู้เอาประกันภัยสัญญาประกันภัยอุบัติเหตุไว้กับจำเลย โดยระบุให้ธนาคาร ก. เป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมา ส. ถึงแก่ความตาย และไม่ปรากฏว่าธนาคาร ก. แสดงเจตนาขอรับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยดังกล่าว ธนาคาร ก. จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ เมื่อสิทธิของผู้รับประโยชน์ยังไม่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ส. ผู้เอาประกันภัยในฐานะคู่สัญญาย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ แต่เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายแล้ว ค่าสินไหมทดแทนไม่ใช่ทรัพย์มรดกที่ ส. มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย เพราะได้มาหลังจาก ส. ถึงแก่ความตายแล้ว จึงต้องอาศัยบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง เงินดังกล่าวจึงตกแก่ทายาทของ ส. เสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก โจทก์เป็นมารดาของ ส. ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของ ส. จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุดังกล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9481/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัย: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากไม่ทราบความสัมพันธ์ของผู้ขับขี่กับผู้เอาประกันภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 31-0857 กรุงเทพมหานคร และหมายเลขทะเบียน 31-4326 กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยสารไม่ประจำทางหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ในทางการที่จ้างหรือตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เอาประกันภัยรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 เวลา 16.40 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารคันดังกล่าวออกจากหน้าบริษัท ท. แล้วเลี้ยวซ้ายเพื่อตรงออกปากซอยนิคมอุตสาหกรรมบางพลีซอย 7 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนด้วยความเร็วสูงและไม่สามารถหยุดห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับพุ่งเข้าชนรถโดยสารทั้งสองคันของโจทก์ที่จอดดับเครื่องยนต์อยู่ริมถนนหน้าบริษัท ด. เพื่อรอรับคนงานจนรถโดยสารทั้งสองคันของโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ที่จำเลยที่ 1 ขับ ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และขอให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัย อันมีลักษณะเป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถโดยสารคันดังกล่าว ซึ่งการรับประกันภัยค้ำจุนนั้น ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง แต่คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้ขับรถในฐานะใดหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ผู้เอาประกันภัย อันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 4 ย่อมไม่มีโอกาสทราบว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยเหตุใด อันจะทำให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัย ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำฟ้องประกันภัย: จำเลยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ แม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยโดยตรง
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้วว่า อ. ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัย เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัย จำเลยให้การรับว่าเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน ทน 8489 กรุงเทพมหานคร ที่ อ. เป็นผู้ขับจึงอาจต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ ข้อที่ว่าจำเลยรับประกันภัยไว้จากผู้ใดเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบดีอยู่แล้ว เพราะ ป.พ.พ. มาตรา 867 บัญญัติว่า "สัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" และวรรคสองของมาตราดังกล่าวกำหนดหน้าที่ของผู้รับประกันภัยว่าผู้รับประกันภัยจะต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความถูกต้องตามสัญญานั้นแก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง และกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องลงลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและมีรายการต่าง ๆ ได้แก่ วัตถุที่เอาประกันภัย ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง ราคาแห่งมูลประกันภัยถ้าได้กำหนดกันไว้ จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย จำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย ถ้าหากสัญญามีกำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดไว้ ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย ชื่อของผู้รับประโยชน์ถ้าจะมี วันทำสัญญาประกันภัย และสถานที่และวันที่ได้ทำกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยอีก คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
ตามฟ้องของโจทก์ นอกจากโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 แล้ว ยังพอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดสำหรับความรับผิดต่อบุคคลภายนอกของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถซึ่งขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเองด้วย ดังนั้น แม้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็ยังจะต้องพิจารณาต่อไปว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามพยานหลักฐานของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชอบสำหรับความรับผิดต่อบุคคลภายนอกของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยรถที่โจทก์รับประกันภัยและต่อโจทก์
of 13