คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พนักงานสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐาน – ความผิดเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 บัญญัติให้พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รวบรวม พยานหลักฐานทุกชนิโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นหลักฐานที่พนักงานสอบสวนสืบหามาได้เอก หรือที่ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหายื่นต่อพนักงานสอบสวน เพื่อเป็นพยาน หรือที่บุคคลภายนอกส่งมา ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะได้ทราบข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา และเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิด
คำบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ต้องมีคำร้องทุกข์ หากไม่มีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนและอัยการไม่มีอำนาจ
ในคดีความผิดอันยอมความได้ ถ้าโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว หากจำเลยมิได้ยกข้อตอ่สู้ให้เป็นประเด็นขึ้นมาว่าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ โจทก์ก็ไม่มีข้อที่จะต้องนำสืบว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ระเบียบแล้ว แต่ถ้าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว ก็ไม่ทำให้ฟ้องนั้นไม่เป็นฟ้อง เพราะความข้อนี้มิใช่เป็นข้อความซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 บัญญัติให้โจทก์ต้องบรรยายมาในฟ้อง เมื่อโจทก์นำสืบว่าคดีได้มีการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลก็พิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายข้อหา เป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่าข้อหาความผิดอันยอมความได้นี้ได้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว และตามคำเบิกความของผู้เสียหาย ตำรวจผู้จับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการร้องทุกข์ของผู้เสียหายแต่ประการใด เมื่อไม่มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอันยอมความได้ต้องมีการร้องทุกข์ หากไม่มี พนักงานสอบสวนและอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีความผิดอันยอมความได้ ถ้าโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว หากจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ให้เป็นประเด็นขึ้นมาว่าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ โจทก์ก็ไม่มีข้อที่จะต้องนำสืบว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว แต่ถ้าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว ก็ไม่ทำให้ฟ้องนั้นไม่เป็นฟ้อง เพราะความข้อนี้มิใช่เป็นข้อความซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 บัญญัติให้โจทก์ต้องบรรยายมาในฟ้อง เมื่อโจทก์นำสืบว่าคดีได้มีการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลก็พิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายข้อหา เป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่าข้อหาความผิดอันยอมความได้นี้ได้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว และตามคำเบิกความของผู้เสียหาย ตำรวจผู้จับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการร้องทุกข์ของผู้เสียหายแต่ประการใด เมื่อไม่มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2413/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนเมื่อไม่ใช่ผู้ต้องหา: ไม่มีหน้าที่เปรียบเทียบจึงไม่เป็นความผิด
จำเลยเจรจาค่าเสียหายกับโจทก์ต่อหน้าพนักงานสอบสวนในการที่ส. ขับรถชนบุตรสาวโจทก์ และพนักงานสอบสวนได้ทำบันทึกไว้แม้จำเลยจะกล่าวความเท็จ แต่เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้ต้องหาในกรณีรถชนดังกล่าว พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีหน้าที่ทำการเปรียบเทียบ การที่พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบจึงไม่ถือเป็นการกระทำ โดยหน้าที่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนประกันภัยและประเด็นความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน
โจทก์ครอบครองตึกของผู้อื่นในฐานะผู้อาศัย โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยตึกนั้นได้ตาม มาตรา 863 ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเมื่อไฟไหม้ตึก มีแต่สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเครื่องตกแต่งของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2510 มาตรา 31 ที่จะแจ้งเหตุสงสัยให้นายทะเบียนออกคำสั่งให้บริษัทงดจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่หมายความถึงรองผู้กำกับซึ่งรักษาการแทนผู้กำกับการตำรวจและแจ้งไปยังนายทะเบียนในฐานะรักษาการแทนผู้กำกับการตำรวจ มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การแจ้งและคำสั่งของนายทะเบียนไม่มีผลให้บริษัทงดจ่ายค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ไม่จ้างคนยามเฝ้าสถานที่และจัดหาเครื่องดับเพลิงหลังจากที่ถูกวางเพลิงมาครั้งหนึ่ง ไม่เป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนความผิดประมวลรัษฎากรของพนักงานสอบสวนท้องที่
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2508 มิได้บัญญัติถึงเรื่องอำนาจสอบสวนไว้ การสอบสวนความผิดตามประมวลรัษฎากรย่อมเป็นไปตามบทบญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้นพนักงานสอบสวนท้องที่ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดตามประมวลรัษฎากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรับคำร้องทุกข์ของพนักงานสอบสวน ไม่ผูกพันกับอำนาจสอบสวน คดีต่อเนื่องพิจารณาได้หลายท้องที่
การพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์ไว้จะมีอำนาจรับคำร้องทุกข์นั้นหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้นั้นจะมีอำนาจสอบสวนในความผิดเรื่องนั้นด้วยหรือไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 124มิได้บังคับให้ร้องทุกข์เฉพาะต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนเสมอไปเหตุนี้ พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ซึ่งแม้จะมิได้มีอำนาจทำการสอบสวนในคดีใดเลย ก็ยังมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ในคดีนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรับคำร้องทุกข์ของพนักงานสอบสวน ไม่ต้องมีอำนาจสอบสวนคดีนั้นก็ได้
การพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์ไว้จะมีอำนาจรับคำร้องทุกข์นั้นหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้นั้นจะมีอำนาจสอบสวนในความผิดเรื่องนั้นด้วยหรือไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 124 มิได้บังคับให้ร้องทุกข์เฉพาะต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนเสมอไป เหตุนี้ พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ซึ่งแม้จะมิได้มีอำนาจทำการสอบสวนในคดีใดเลย ก็ยังมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ในคดีนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมผู้ต้องหาในคดีอาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีหมายจับ: การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
โจทก์แจ้งความว่า ย. ทำร้ายร่างกายโจทก์ ขอให้ดำเนินคดีแก่ ย.แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับหมวดไม่มีอำนาจจับกุมโจทก์โดยไม่มีหมายจับ แต่อำนาจจับกุมตามมาตรา 78 นี้ ก็เป็นอำนาจโดยทั่ว ๆ ไปและมีมาตรา 136 บัญญัติเรื่องอำนาจพนักงานสอบสวนในการจับกุมและควบคุมไว้โดยเฉพาะเมื่อจำเลยเป็นพนักงานสอบสวนคดีที่หาว่า ย. กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย และสอบสวนแล้วได้ความว่าโจทก์ก็เป็นผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย เพราะเป็นเรื่องวิวาทกัน ซึ่งความผิดนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่มีผู้ใดร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ เจ้าพนักงานก็ย่อมจับกุมและควบคุมตัวผู้กระทำความผิดไว้สอบสวนได้ จำเลยจึงมีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวโจทก์ซึ่งมาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าจำเลยในระหว่างการสอบสวนได้ เพียงเพราะเหตุที่จำเลยจับกุมและควบคุมตัวโจทก์ไว้โดยไม่มีหมายจับนั้น จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน: ความสมบูรณ์ของฟ้องและการปรับบทความผิด
บรรยายฟ้องว่า จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าเห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยได้เห็น ส.คนเดียวลักทรัพย์ มิได้เห็น ร. ร่วมลักทรัพย์ด้วย ดังนี้เป็นการบรรยายข้อความที่เป็นเท็จและที่เป็นจริงไว้ชัดแล้วว่าความจริงจำเลยมิได้เห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์แต่ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าได้เห็น ร. ร่วมกับ ส.ลักทรัพย์ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ใช่ว่าความจริงหรือเท็จจะอยู่ตรงที่ว่า ร. ได้ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์หรือไม่เท่านั้น
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
of 18