พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดร่วมรับผิดชอบหนี้สินของห้าง หากห้างล้มละลาย หุ้นส่วนผู้จัดการก็มีสิทธิถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1โดยมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่1ซึ่งต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1070,1077(2),1080ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดคดีถึงที่สุดจำเลยที่2ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ต่อโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงว่าตนมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อคดีล้มละลายอื่นที่มีโจทก์เดียวกัน
ขณะโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ล้มละลายในคดีนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในอีกคดีหนึ่ง ของศาลชั้นต้นไปก่อนแล้ว แม้โจทก์ในคดีนี้กับโจทก์ในคดี ดังกล่าวจะเป็นคนเดียวกัน คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังกล่าวก็ยังมีผลอยู่ และใช้ยันแก่โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จึงต้องจำหน่ายคดีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ออกจากสารบบความตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่มีผลยันแก่โจทก์ในคดีล้มละลายที่ฟ้องซ้ำ
ขณะโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่2และที่3ล้มละลายในคดีนี้จำเลยที่2และที่3ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นไปก่อนแล้วแม้โจทก์ในคดีนี้กับโจทก์ในคดีดังกล่าวจะเป็นคนเดียวกันคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังกล่าวก็ยังมีผลอยู่และใช้ยันแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153จึงต้องจำหน่ายคดีจำเลยที่2และที่3ในคดีนี้ออกจากสารบบความตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเรียกเก็บได้
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนบริษัทไม่
กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ถือหุ้น ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้ สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระแก่จำเลยผู้ร้องก็ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งยกคำสั่งยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องโดยมิได้กำหนดให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น ยังไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119วรรคสาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ถือหุ้น ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้ สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระแก่จำเลยผู้ร้องก็ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งยกคำสั่งยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องโดยมิได้กำหนดให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น ยังไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119วรรคสาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหลังพิทักษ์ทรัพย์: ผู้คัดค้านทวงหนี้จากผู้ดูแลทรัพย์ที่สูญหายไม่ได้ เพราะสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นหลังศาลมีคำสั่ง
การที่ผู้คัดค้านจะใช้ สิทธิเรียกร้องของจำเลยทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119ได้นั้นสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และแม้มีบุคคลใดที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้คัดค้านในกรณีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านได้ยึดไว้สูญหายไปก็เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านต้องติดตามเอาคืนมาหรือเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่ต้องรับผิดต่อไปเมื่อสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องต้องรับผิดเนื่องจากทรัพย์สินที่ยึดสูญหายไปเกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา119เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านได้และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินระหว่างการล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้เหนือการโอนสินสมรสหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มาระหว่างสมรสของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ จึงเป็นสินสมรส การที่ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้โดยมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร่วมกัน การที่ผู้คัดค้านที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วย เมื่อการโอนได้กระทำขึ้นภายหลังจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกอยู่แก่ผู้ร้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 24 นิติกรรมการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้จึงฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ผู้ร้องมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 หรือไม่เพราะศาลมิได้เพิกถอนการโอนตามมาตราดังกล่าว
คำว่าการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 นั้น หมายถึงการโอนหรือกระทำใด ๆ ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ หาใช่การโอนหรือการกระทำใด ๆ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่
คำว่าการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 นั้น หมายถึงการโอนหรือกระทำใด ๆ ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ หาใช่การโอนหรือการกระทำใด ๆ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การเพิกถอนสิทธิในส่วนของลูกหนี้
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114หมายถึงการโอนหรือการกระทำใดๆก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้การที่ผู้คัดค้านที่1จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้โดยมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสไว้ผู้คัดค้านที่1กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกันการที่ผู้คัดค้านที่1โอนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่2ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วยเมื่อได้โอนภายหลังวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดการโอนเฉพาะส่วนของลูกหนี้ย่อมตกเป็นโมฆะจึงหาจำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่2รับโอนทรัพย์สินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: โมฆะแม้ผู้ซื้อสุจริตและชำระราคาแล้ว
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสเมื่อผู้คัดค้านที่1จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้ซึ่งเป็นภริยาโดยมิได้ตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นไว้ผู้คัดค้านที่1กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันการที่ผู้คัดค้านที่1โอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านที่2ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วยเมื่อการโอนได้กระทำขึ้นภายหลังวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22และ24การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ย่อมตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้ เมื่อการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในส่วนของลูกหนี้กระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดย่อมตกเป็นโมฆะไม่ว่าผู้คัดค้านที่2รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114หรือไม่ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาของลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้
นับตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โดยเด็ดขาดจำเลยที่1เป็นต้นไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22(3)จำเลยที่1ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีได้อีกการที่จำเลยที่1เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ขายทอดตลาดและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงการยื่นอุทธรณ์ภายหลังที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยผู้ใช้สิทธิเรียกร้องก่อนการพิทักษ์ทรัพย์: ไม่เป็นเหตุให้เกิดหนี้ซ้ำ
ก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดคดีที่ ส. ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยฟ้องผู้ร้องยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ซึ่ง ส. เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยได้ขอหมายเรียกจำเลยมาในคดีนั้นแล้ว แต่จำเลยมิได้เข้ามาในคดี ดังนั้น ส. จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้จากผู้ร้องเท่าจำนวนที่ผู้ร้องลูกหนี้เดิมค้างชำระแก่จำเลยนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234, 235 แล้ว และไม่มีหนี้ในส่วนนี้ที่ ส. จะนำไปใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้อีก เมื่อคดีแพ่งดังกล่าวได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้ผู้ร้องชำระหนี้แก่ ส. ส. จึงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้อง ซึ่งอาจบังคับเอาแก่ผู้ร้องได้ตามกฎหมาย เมื่อผู้ร้องได้ชำระหนี้แก่ ส. ไปตามคำพิพากษาแล้ว จึงเป็นการชำระหนี้ที่ได้ทำให้บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315การชำระหนี้ดังกล่าวหาใช่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 ไม่ ผู้ร้องจึงไม่ได้เป็นหนี้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอีกต่อไปเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้จำนวนดังกล่าวซ้ำอีก