พบผลลัพธ์ทั้งหมด 584 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4996/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเนื่องจากคดีฟ้องขับไล่มีค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 248 วรรคสอง
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นผู้เช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ร่วมจำเลยเข้ามาอยู่ในอาคารพิพาทโดยละเมิด ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหายแม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่า อาจนำอาคารพิพาทออกให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 320 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์จึงถือได้ว่าอาคารพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาทแม้จำเลยจะให้การและฟ้องแย้ง แต่ก็มิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ5,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6 ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเหมือนอย่างฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการคำนวณทุนทรัพย์คดี: การพิจารณาแยกส่วนการครอบครองที่ดินของจำเลยแต่ละคน
ตามฟ้องและแผนที่พิพาทไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันละเมิดในที่ดินของโจทก์ ปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยทั้งแปดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งแปดเข้ามาเป็นคดีเดียวกันก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใดนั้นย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไปยึดถือครอบครอง มิใช่นับรวมกัน เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 ยึดถือครอบครองปรากฎว่ามีเนื้อที่ไม่ถึงคนละ 50 ไร่ คำนวณเป็นราคาไม่เกินคนละสองแสนบาท คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 แต่ละคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินคนละสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคแรก แห่ง ป.วิ.พ.
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ม. โดยโจทก์ที่ 3 ผู้จัดการมรดกของ ม. เป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ได้ครอบครองและแสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นของตนเองมาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จำเลยทั้งเจ็ดจึงได้สิทธิครอบครอง โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยทั้งเจ็ดเพิ่งแสดงเจตนายึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ที่ 1 และสามีเคยขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนั้น แม้จะเป็นข้อกฎหมายแต่โจทก์มิได้ยกเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ม. โดยโจทก์ที่ 3 ผู้จัดการมรดกของ ม. เป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ได้ครอบครองและแสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นของตนเองมาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จำเลยทั้งเจ็ดจึงได้สิทธิครอบครอง โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยทั้งเจ็ดเพิ่งแสดงเจตนายึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ที่ 1 และสามีเคยขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนั้น แม้จะเป็นข้อกฎหมายแต่โจทก์มิได้ยกเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต ไม่เป็นละเมิด แม้จะมีการฟ้องขับไล่และชนะคดี
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งได้ฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนบ้านพิพาทและขนย้ายออกไปจากที่ดินส่วนที่โจทก์ขายฝากให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิทางศาลและได้กระทำโดยสุจริตซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิในที่ดินและการฟ้องขับไล่ แม้ยังมิได้เข้าครอบครอง ศาลย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิเจ้าของ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 บุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์บางส่วน ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เข้าครอบครองต่อมา ขอให้ขับไล่และห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยที่ 2 ให้การว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทกรณีย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 โต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วแม้จำเลยที่ 2 จะยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้องเรื่องตัวแทนเชิด และข้อจำกัดการฎีกาฟ้องขับไล่
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่อย่างใดและที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามยินยอมแสดงออกยอมรับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการกิจการเข้าหุ้นส่วนกันนั้น ก็มีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญที่จำเลยทั้งสามเข้าหุ้นส่วนกันนั้นเท่านั้นมิได้หมายความว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3อีกด้วย คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามมิได้ตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับชำระราคาที่ดินและตึกแถวพิพาทนั้นจากโจทก์ครบถ้วนแล้วจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ และพิพากษาให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่หลังคำพิพากษาถึงที่สุด: สิทธิในการบังคับคดีไม่ขาดอายุ
คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่จำเลยแต่จำเลยยังครอบครองที่พิพาทอยู่ตลอดมาโดยที่โจทก์ไม่ได้ดำเนินการร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาจนครบกำหนดระยะเวลาบังคับคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่พิพาทเช่นนี้เป็นการขอให้บังคับตามสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ซ้ำหลังคำพิพากษาถึงที่สุด แต่ไม่ได้บังคับคดี สิทธิยังคงมี การฟ้องใหม่ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่จำเลย แต่จำเลยยังครอบครองที่พิพาทอยู่ตลอดมาโดยที่โจทก์ไม่ได้ดำเนินการร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาจนครบกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีแล้ว ต่อมาโจทก์จึงมาฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่พิพาทเป็นคดีนี้ ดังนี้เป็นการขอให้บังคับตามสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้และไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้เช่าที่พิพาทเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิจากการฟ้องขับไล่
เมื่อคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์จะขับไล่ผู้ร้องด้วยดังที่อ้างว่าเป็นบริวารของจำเลย จึงถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินราชพัสดุ: โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ หากจำเลยเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 แต่เมื่อจำเลยทั้งสองเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิครอบครองของโจทก์ทั้งสอง จึงต้องถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินราชพัสดุและการฟ้องขับไล่: แม้เป็นที่ราชพัสดุ ผู้มีสิทธิครอบครองก่อนย่อมมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้จะไม่ปรากฏว่าขณะยื่นคำฟ้องที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่ แต่ก็ได้ความว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 75 ตารางวาใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัย ไม่ปรากฏว่าอยู่ในทำเลการค้า เชื่อว่าอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง แม้ที่พิพาทจะเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังตาม พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5แต่เมื่อจำเลยทั้งสองเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยโจทก์อนุญาตให้เข้าไปอยู่อาศัยชั่วคราว จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้