พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเมื่อจำเลยหลบหนี: ศาลรับฟ้องได้หากจำเลยเคยถูกควบคุมตัวโดยอำนาจศาล
คดีอาญา พนักงานอัยการจะต้องส่งตัวจำเลยมาพร้อมกับฟ้องเสมอ เว้นแต่จำเลยจะเป็นผู้อยู่ในอำนาจของศาลแล้ว
ศาลชั้นต้นได้รับฝากขังตัวผู้ต้องหาไว้จากพนักงานสอบสวนและออกหมายขังไว้แล้วผู้ต้องหาหลบหนีไปก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง กรณีเช่นนี้นับได้ว่าตัวจำเลยอยู่ในอำนาจศาลในคดีนี้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับฟ้องและดำเนินการต่อไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2514)
ศาลชั้นต้นได้รับฝากขังตัวผู้ต้องหาไว้จากพนักงานสอบสวนและออกหมายขังไว้แล้วผู้ต้องหาหลบหนีไปก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง กรณีเช่นนี้นับได้ว่าตัวจำเลยอยู่ในอำนาจศาลในคดีนี้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับฟ้องและดำเนินการต่อไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาฐานทำลายป่า: สถานที่กระทำผิดต้องระบุชัดเจน และการอ้างพยานผู้กระทำผิดก็ทำได้
คำบรรยายฟ้องที่ไม่ถือว่าเคลือบคลุมกฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานโจทก์เท่านั้นมิได้ห้ามโจทก์อ้างผู้ที่กระทำผิดเช่นเดียวกับจำเลยมาเป็นพยาน
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแผ้วถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่าอยู่โดยรอบจำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่า เป็นการถางที่มีประโยชน์ที่ไม่มีสภาพเป็นป่า ข้อเถียงดังนี้เป็นการเถียงข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแผ้วถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่าอยู่โดยรอบจำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่า เป็นการถางที่มีประโยชน์ที่ไม่มีสภาพเป็นป่า ข้อเถียงดังนี้เป็นการเถียงข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนในการบรรยายฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับป่าไม้ และข้อจำกัดในการอ้างพยานร่วมกระทำผิด
คำบรรยายฟ้องที่ไม่ถือว่าเคลือบคลุม.
กฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานโจทก์เท่านั้น. มิได้ห้ามโจทก์อ้างผู้ที่กระทำผิดเช่นเดียวกับจำเลยมาเป็นพยาน.
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแผ้วถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่าอยู่โดยรอบ. จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่า.เป็นการถางที่มีประโยชน์ที่ไม่มีสภาพเป็นป่า. ข้อเถียงดังนี้เป็นการเถียงข้อเท็จจริง. จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.
กฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานโจทก์เท่านั้น. มิได้ห้ามโจทก์อ้างผู้ที่กระทำผิดเช่นเดียวกับจำเลยมาเป็นพยาน.
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแผ้วถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่าอยู่โดยรอบ. จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่า.เป็นการถางที่มีประโยชน์ที่ไม่มีสภาพเป็นป่า. ข้อเถียงดังนี้เป็นการเถียงข้อเท็จจริง. จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาฐานปลอมแปลงพินัยกรรม: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดก
โจทก์เป็นน้องชายเจ้ามรดก โจทก์ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 แต่โจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในเมื่อยังมีทายาทโดยธรรมในลำดับก่อนตนยังมีชีวิตอยู่ตาม มาตรา 1630 และทั้งนี้ต้องต่อเมื่อเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดก และโจทก์ที่ 1, 2เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้ การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่4 ผู้เดียว ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหาย แต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1, 2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วยเพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม โจทก์ที่ 1, 2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1, 2 ด้วยแล้วจำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น โจทก์ที่ 1, 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดก และโจทก์ที่ 1, 2เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้ การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่4 ผู้เดียว ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหาย แต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1, 2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วยเพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม โจทก์ที่ 1, 2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1, 2 ด้วยแล้วจำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น โจทก์ที่ 1, 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีศุลกากร: ระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลางต่างกันเมื่อมี/ไม่มีการฟ้องคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 บัญญัติว่า "สิ่งใดๆ อันจะพึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจยึดในเวลาใดๆ และ ณ สถานที่ใดๆ ก็ได้
สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนดหกสิบวันสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด สามสิบวันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึด ให้ถือว่าเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดิน" นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีการร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดโดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลเท่านั้น หากพระราชบัญญัติศุลกากรฯประสงค์จะใช้บังคับแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย ก็คงจะได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลาง "นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด" ไว้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1327 วรรคแรก หากถือว่าของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอให้ศาลพิพากษาริบของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วให้ยกเป็นของแผ่นดินอีก
มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญานี้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติ เกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วย ฉะนั้นในคดีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลและศาลพิพากษาสั่งริบเรือของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 ต้องถือว่าเป็นการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคแรก ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเรือของกลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไม่ขัดกันกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 เพราะใช้บังคับต่างกรณีกัน ดังนี้จะนำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติไว้ใจความว่า เมื่อใดพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นให้ยกเอาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรขึ้นใช้บังคับมาบังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2512)
สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนดหกสิบวันสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด สามสิบวันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึด ให้ถือว่าเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดิน" นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีการร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดโดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลเท่านั้น หากพระราชบัญญัติศุลกากรฯประสงค์จะใช้บังคับแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย ก็คงจะได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลาง "นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด" ไว้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1327 วรรคแรก หากถือว่าของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอให้ศาลพิพากษาริบของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วให้ยกเป็นของแผ่นดินอีก
มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญานี้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติ เกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วย ฉะนั้นในคดีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลและศาลพิพากษาสั่งริบเรือของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 ต้องถือว่าเป็นการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคแรก ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเรือของกลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไม่ขัดกันกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 เพราะใช้บังคับต่างกรณีกัน ดังนี้จะนำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติไว้ใจความว่า เมื่อใดพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นให้ยกเอาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรขึ้นใช้บังคับมาบังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยผู้ไม่เป็นผู้เสียหาย และความรับผิดของผู้ถูกกล่าวหาตามหน้าที่
โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล. ได้มีคำสั่งให้โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นผู้ช่วยพยาบาลทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่าอาหารคนไข้และเก็บรักษาเงินสะสมโรงพยาบาล และให้ลงรายการจำนวนของและจำนวนเงินเกินกว่าที่จ่ายไปจริง อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และโดยทุจริต. ดังนี้ เมื่อตามฟ้องของโจทก์แสดงออกแจ้งชัดว่าโจทก์ที่ 1 ได้ร่วมกระทำผิดด้วยกับจำเลยที่ 1 และตนจะแก้ตัวอ้างความจำเป็นในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาที่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ตนรู้อยู่ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาไม่ได้.โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย.ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาได้.
ตามฟ้องโจทก์ที่ 2 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล.เอาหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ไปให้โจทก์ที่ 1 ทำบ้าง จำเลยที่ 2 ทำบ้าง และเป็นการกระทำโดยมิชอบและโดยทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2เสียหาย. เมื่อการมอบหมายงานอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะสั่งได้. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งมิใช่เป็นผู้กระทำหรือละเว้นกระทำ. จึงหาจำต้องรับผิดในความเสียหายนั้นแต่อย่างใดไม่. โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยอันเป็นความผิดตามมาตรา 267,268 ประมวลกฎหมายอาญาได้.
ตามฟ้องโจทก์ที่ 2 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล.เอาหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ไปให้โจทก์ที่ 1 ทำบ้าง จำเลยที่ 2 ทำบ้าง และเป็นการกระทำโดยมิชอบและโดยทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2เสียหาย. เมื่อการมอบหมายงานอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะสั่งได้. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งมิใช่เป็นผู้กระทำหรือละเว้นกระทำ. จึงหาจำต้องรับผิดในความเสียหายนั้นแต่อย่างใดไม่. โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยอันเป็นความผิดตามมาตรา 267,268 ประมวลกฎหมายอาญาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาหลังขอผัดฟ้องโดยเข้าใจผิด ไม่ขัดต่อข้อห้ามตามกฎหมาย
เมื่อไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องแล้ว หากเผอิญไปขอผัดฟ้องเข้าเพราะความเข้าใจผิด กรณีจึงไม่เข้าข้อห้ามตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 ที่ห้ามไว้ไม่ให้ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาหลังขอผัดฟ้องไปแล้ว แม้จะเกินกำหนด ไม่ถือเป็นเหตุต้องห้ามฟ้อง
เมื่อไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องแล้ว. หากเผอิญไปขอผัดฟ้องเข้าเพราะความเข้าใจผิด. กรณีจึงไม่เข้าข้อห้ามตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499. ที่ห้ามไว้ไม่ให้ฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยมิได้บรรยายฟ้องข้อหาที่จำเลยไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,83. ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปและมีคนตายโดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้. อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294. โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในข้อนี้. จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะขอให้ศาลลงโทษจำเลย. ศาลจะลงโทษจำเลยไม่ได้.
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์. แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา. คดีส่วนตัวจำเลยที่ 1 ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ด้วยแล้ว. เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้. เพราะโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิวาทเป็นเหตุให้คนตาย. ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาให้ยกฟ้องได้. โดยไม่ใช่กรณีที่ต้องอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213.
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์. แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา. คดีส่วนตัวจำเลยที่ 1 ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ด้วยแล้ว. เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้. เพราะโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิวาทเป็นเหตุให้คนตาย. ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาให้ยกฟ้องได้. โดยไม่ใช่กรณีที่ต้องอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องระบุองค์ประกอบความผิดให้ชัดเจน การพิพากษาคดีต้องยึดข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย หากโจทก์ไม่โต้แย้ง
ความผิดฐานขนสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต กับความผิดฐานไม่นำใบอนุญาตกำกับไปกับสุราที่ขน องค์ความผิดต่างกัน เป็นความผิดคนละฐานกัน โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขนสุราของกลางโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่าจำเลยมีใบอนุญาตขนถูกต้องแล้ว จะลงโทษจำเลยฐานไม่นำใบอนุญาตกำกับการขนสุราของกลางอันเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งซึ่งโจทก์มิได้กล่าวบรรยายมาในคำฟ้อง ขอให้ลงโทษด้วยนั้น ย่อมไม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีใบอนุญาตขนสุราของกลางโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงว่า จำเลยไม่มีใบอนุญาตขนสุรา หรือว่าใบอนุญาตขนสุราที่จำเลยอ้างนั้นไม่ใช่ใบอนุญาตขนสุราของกลาง ความผิดฐานขนสุราของกลางโดยไม่มีใบอนุญาตจึงยุติ โจทก์จะมาฎีกาโต้เถียงว่าใบอนุญาตขนสุราที่จำเลยอ้างไม่ใช่ใบอนุญาตขนสุราของกลางหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
(ประชุมใหญ่ ครั้ง 10/2509)
เมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีใบอนุญาตขนสุราของกลางโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงว่า จำเลยไม่มีใบอนุญาตขนสุรา หรือว่าใบอนุญาตขนสุราที่จำเลยอ้างนั้นไม่ใช่ใบอนุญาตขนสุราของกลาง ความผิดฐานขนสุราของกลางโดยไม่มีใบอนุญาตจึงยุติ โจทก์จะมาฎีกาโต้เถียงว่าใบอนุญาตขนสุราที่จำเลยอ้างไม่ใช่ใบอนุญาตขนสุราของกลางหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
(ประชุมใหญ่ ครั้ง 10/2509)