พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องฉ้อโกงต้องระบุความจริงควบคู่ความเท็จ หากระบุแต่ความเท็จ ฟ้องไม่สมบูรณ์
ข้อเท็จจริงที่ต้องกล่าวในฟ้องฐานฉ้อโกงนั้น ต้องกล่าวไม่เฉพาะแต่ความเท็จ จำต้องกล่าวถึงความจริงว่าเป็นประการใดด้วย ถ้ามีแต่ความเท็จอย่างเดียว ส่วนความจริงไม่ปรากฏ ก็เป็นฟ้องไม่สมบูรณ์ ตามคำพิพากษาฎีกาที่1048/2493
ฟ้องในข้อหาฐานฉ้อโกงที่กล่าวแต่ความเท็จ ไม่ได้กล่าวว่าความจริงเป็นประการใดด้วยนั้น ถ้าพอจะค้นหาความจริงได้ในฟ้องข้อนั้นเองหรือในฟ้องข้ออื่นแล้ว ศาลก็ย่อมหยิบยกเอาความจริงที่ค้นมาได้นั้น มาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์หาว่าจำเลยกล่าวเท็จนั้นเป็นเท็จจริงหรือไม่
ฟ้องข้อ 1 กล่าวหาว่า จำเลยฉ้อโกงโดยเอาความเท็จมากล่าวฟ้องข้อ 2 ว่า ถึงกำหนดแล้วจำเลยหาได้นำทรัพย์ที่เอาไปคืนให้โจทก์ไม่ ดังนี้เป็นเรื่องผิดคำรับรองหรือผิดสัญญาในทางแพ่ง เพราะโจทก์ไม่ได้ยืนยันมาในฟ้องว่าจำเลยได้ตั้งใจจะไม่คืนทรัพย์ให้แก่โจทก์มาตั้งแต่ต้นเพียงแต่ถึงกำหนดแล้ว ไม่คืนจะว่าเป็นความเท็จมาแต่ต้นย่อมไม่ได้ ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
ฟ้องในข้อหาฐานฉ้อโกงที่กล่าวแต่ความเท็จ ไม่ได้กล่าวว่าความจริงเป็นประการใดด้วยนั้น ถ้าพอจะค้นหาความจริงได้ในฟ้องข้อนั้นเองหรือในฟ้องข้ออื่นแล้ว ศาลก็ย่อมหยิบยกเอาความจริงที่ค้นมาได้นั้น มาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์หาว่าจำเลยกล่าวเท็จนั้นเป็นเท็จจริงหรือไม่
ฟ้องข้อ 1 กล่าวหาว่า จำเลยฉ้อโกงโดยเอาความเท็จมากล่าวฟ้องข้อ 2 ว่า ถึงกำหนดแล้วจำเลยหาได้นำทรัพย์ที่เอาไปคืนให้โจทก์ไม่ ดังนี้เป็นเรื่องผิดคำรับรองหรือผิดสัญญาในทางแพ่ง เพราะโจทก์ไม่ได้ยืนยันมาในฟ้องว่าจำเลยได้ตั้งใจจะไม่คืนทรัพย์ให้แก่โจทก์มาตั้งแต่ต้นเพียงแต่ถึงกำหนดแล้ว ไม่คืนจะว่าเป็นความเท็จมาแต่ต้นย่อมไม่ได้ ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้ฟ้องอาญาต้องมีเหตุอันควร การอ้างเพียงว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ไม่พอ
โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญา แต่มิได้อ้างเหตุที่ขอแก้ฟ้องเสียเลย กล่าวแต่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดข้อความบาง ประการ, ดังนี้ ย่อมไม่มีเหตุที่จะให้ศาลวินิจฉัยว่าควรให้แก้ฟ้องหรือไม่ ศาลย่อมยกคำร้องขอแก้ฟ้องนั้นได้เลยทีเดียว./
(อ้างฎีกาที่ 774/2481, และ ที่ 1110/2492).
(อ้างฎีกาที่ 774/2481, และ ที่ 1110/2492).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต้องพิสูจน์เจตนา: จำเลยต้องรู้ว่าข้อความเท็จ การฟ้องไม่สมบูรณ์หากขาดองค์ประกอบนี้
ห้องในคดีอาญาฐานแจ้งความเท็จ จะต้องกล่าวว่าข้อความเท็จนั้นจำเลยรู้ว่าเป็นเท็จ มิฉะนั้นเป็นฟ้งอที่ไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นเท็จ ฟ้องไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุเจตนา
ฟ้องในคดีอาญาฐานแจ้งความเท็จ จะต้องกล่าวว่าข้อความเท็จนั้นจำเลยรู้ว่าเป็นเท็จ มิฉะนั้นเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดกต่อเนื่องจากคดีเดิม แม้ฟ้องไม่สมบูรณ์แต่ถือว่าใช้ได้หากข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนเดิม
ในคดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ตัดสิทธิที่จะให้โจทก์ว่ากล่าวเอาส่วนของตน หรือว่ากล่าวกันในทางมรดก โจทก์จึงมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยโดยบรรยายฟ้องท้าวความถึงคดีเดิมด้วยดังนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นเรื่อง สืบเนื่องมาจากคดีก่อนฉะนั้นแม้คำบรรยายฟ้องจะขาดตกบกพร่องในรายละเอียดไปบ้าง เช่นไม่ได้กล่าวถึงวันเดือนปีที่เจ้ามรดกตาย ตนได้ปกครองทรัพย์มาอย่างไร เหล่านี้แต่เมื่อปรากฎว่าข้อความเหล่านี้มีชัดอยู่แล้วในสำนวนก่อนและในการพิจารณาคดีนี้จำเลยก็รับรองเวลาตายของเจ้ามรดกแล้ว ก็ย่อมถือวได้ว่าฟ้องของโจทก์ในคดีนี้สมบูรณ์แล้ว ไม่เป็นการฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอาญามาตรา 158(5) เนื่องจากข้อความในฟ้องขัดแย้งและขาดรายละเอียดการกระทำผิด
ฟ้องฐานแจ้งความเท็จและฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต ที่ถือว่ายังไม่สมบูรณ์ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย – ข้อหาไม่ชัดเจน – เหตุการณ์ต่อเนื่อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้ง 5 คนสมคบกันทำผิดกฎหมายหลายบทหลายกระทงโดยแยกรายละเอียดความผิดเป็นข้อๆ และตามฟ้อง ข้อ ก. ว่าจำเลยที่ 1-2 และ 3 ได้มีเจตนาสมคบกันบังอาจเอาความที่จำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จซึ่งอาจทำให้โจทก์เสียหายได้นั้น ไปแจ้งและร้องทุกข์แก่จำเลยที่ 3 ว่าโจทก์ได้ฉ้อโกงทรัพย์อันเป็นความผิดทางอาญาทำให้จำเลยที่ 3 อาศัยอำนาจในตำแหน่งเพื่อทำการทุจริต ซึ่งความจริงโจทก์มิได้ฉ้อโกงทรัพย์จำเลยที่1 เลย'
และตามข้อ ข. ว่า"จำเลยที่ 2-5 ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายได้สมบคบกันบังคับจับโจทก์ไปจากบ้าน ควบคุมกักขังไว้ 1 คืน ยึดถั่วลิสงของโจทก์ไว้ 1 กระสอบ วันรุ่งขึ้นจึงให้ประกันตัวไป ต่อมาจำเลยที่ 3 บังคับให้โจทก์ทำหนังสือรับว่าเป็นลูกหนี้จำเลยที่ 3 ก่อนที่จะปล่อยตัวโจทก์ไปโดยไม่มีประกันตัว" ดังนี้ฟ้องของโจทก์ ข้อ ก. มีข้อความขัดกันในตัวเอง เป็นคำกล่าวลอยๆไม่มีข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 ทำอะไร อย่างไร ไม่อาจเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามป.วิ.อ.มาตรา 158(5) ส่วนฟ้องของ ข. โจทก์แถลงว่าเป็นความผิดเนื่องจากการกระทำตามฟ้องข้อ ก. ไม่เป็นฟ้องที่ชอบเสียแล้ว ฟ้องข้อข.จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย
และตามข้อ ข. ว่า"จำเลยที่ 2-5 ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายได้สมบคบกันบังคับจับโจทก์ไปจากบ้าน ควบคุมกักขังไว้ 1 คืน ยึดถั่วลิสงของโจทก์ไว้ 1 กระสอบ วันรุ่งขึ้นจึงให้ประกันตัวไป ต่อมาจำเลยที่ 3 บังคับให้โจทก์ทำหนังสือรับว่าเป็นลูกหนี้จำเลยที่ 3 ก่อนที่จะปล่อยตัวโจทก์ไปโดยไม่มีประกันตัว" ดังนี้ฟ้องของโจทก์ ข้อ ก. มีข้อความขัดกันในตัวเอง เป็นคำกล่าวลอยๆไม่มีข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 ทำอะไร อย่างไร ไม่อาจเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามป.วิ.อ.มาตรา 158(5) ส่วนฟ้องของ ข. โจทก์แถลงว่าเป็นความผิดเนื่องจากการกระทำตามฟ้องข้อ ก. ไม่เป็นฟ้องที่ชอบเสียแล้ว ฟ้องข้อข.จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาประมาทต้องระบุรายละเอียดการกระทำที่เป็นเหตุแห่งความประมาท มิฉะนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์
ฟ้องหาว่าเขาขับรถยนต์โดยประมาทปราศจากความระมัดระวังอันควร เป็นวิสัยของปกติชนเป็นเหตุให้ชนรถผู้อื่นเสียหายและเกิดบาดเจ็บสาหัสขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก 2477 และ ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 259 ดังนี้ เมื่อฟ้องมิได้บรรยายว่าจำเลยมีความประมาทอย่างไรอันเป็นลักษณะของคดีที่จะทำให้จำเลยรู้ข้อหาในความประ มาทของตนได้ จัดว่าเป็นฟ้องไม่สมบูรณ์ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158(5)
(อ้างฎีกาที่ 241/2493)
(อ้างฎีกาที่ 241/2493)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องไม่สมบูรณ์ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ เนื่องจากไม่ระบุตัวผู้ร่วมกระทำความผิดชัดเจน แม้พยานหลักฐานแสดงว่ามีการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลย(คนเดียว)กับพวกที่ยังหลบหนีจับตัวยังไม่ได้ สมคบกันปล้นทรัพย์ผู้มีชื่อไป ขอให้ลงโทษฐานปล้นทรัพย์ ดังนี้รู้ไม่ได้ว่าพวกของจำเลยที่โจทก์กล่าวจะมีจำนวนคนเดียวหรือหลายคน ถือว่าโจทก์ไม่กล่าวถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องจึงฟังให้สมบูรณ์ในฐานความผิดปล้นทรัพย์ไม่ได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158(5) ฉะนั้นแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยกับพวกรวม 5 คนทำการปล้นทรัพย์ ศาลก็จะลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ไม่ได้ลงลงโทษได้แต่เพียงฐานชิงทรัพย์เท่านั้น
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกมีมีดเป็นสาตราวุธทำการปล้นทรัพย์ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดและปืนสั้นด้วย ย่อมถือว่าไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดสมตามฟ้องแล้ว จะถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องยังไม่ได้
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกมีมีดเป็นสาตราวุธทำการปล้นทรัพย์ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดและปืนสั้นด้วย ย่อมถือว่าไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดสมตามฟ้องแล้ว จะถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่สมบูรณ์ของฟ้องฐานปล้นทรัพย์: จำเลยไม่ทราบจำนวนพวกที่ร่วมกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลย(คนเดียว)กับพวกที่ยังหลบหนีจับตัวยังไม่ได้ สมคบกันปล้นทรัพย์ผู้มีชื่อไป ขอให้ลงโทษฐานปล้นทรัพย์ ดังนี้ รู้ไม่ได้ว่าพวกของจำเลยที่โจทก์กล่าวจะมีจำนวนคนเดียวหรือหลายคน ถือว่า โจทก์ไม่กล่าวถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องจึงฟังให้สมบูรณ์ในฐานความผิดปล้นทรัพย์ไม่ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ฉะนั้นแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยกับพวกรวม 5 คนทำการปล้นทรัพย์ ศาลก็จะลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เพียงฐานชิงทรัพย์เท่านั้น
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกมีมีดเป็นศาตราวุธทำการปล้นทรัพย์ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดและปืนสั้นด้วย ย่อมถือว่าไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดสมตามฟ้องแล้ว จะถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องยังไม่ได้
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกมีมีดเป็นศาตราวุธทำการปล้นทรัพย์ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดและปืนสั้นด้วย ย่อมถือว่าไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดสมตามฟ้องแล้ว จะถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องยังไม่ได้