คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาระจำยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางโดยอาศัยอนุญาต ไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม แม้ใช้เป็นเวลานาน
เมื่อจำเลยซื้อที่ดินมาแล้วก็ได้สร้างกำแพงกั้นตลอดแนวระหว่างที่ดินของโจทก์จำเลย คงเว้นเป็นช่องกว้าง 3.85 เมตร เพื่อให้โจทก์ใช้ผ่านเข้าออกแต่ได้สร้างประตูเหล็กบานเลื่อนกั้นไว้ในที่ดินของจำเลย มีสายยูคล้องกุญแจและสามารถใส่กุญแจได้เมื่อไม่ประสงค์ให้โจทก์ใช้ แสดงถึงการหวงกันมิให้โจทก์หรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทโดยพลการ จึงถือได้ว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิและการอนุญาตให้ใช้จากฝ่ายจำเลย ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเท่าใดก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมทางสัญญาและผลกระทบต่อผู้รับโอนที่ดิน
ป.กับบิดามารดาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดิน ซึ่งมีข้อความว่า บิดามารดาจำเลยยินยอมให้ทำทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 5621 เพื่อให้เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 4587 โดยได้รับค่าตอบแทนและตกลงจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะยังมิได้ไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอม แต่เมื่อจำเลยได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5621 มาโดยทางมรดก จำเลยก็ต้องรับภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600แม้โจทก์มิใช่คู่สัญญาตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินเอกสารหมาย จ.4 และกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจาก ป. เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าเป็นผู้รับโอนที่ดินมาโดยทางนิติกรรม มิใช่รับโอนมาโดยผลของกฎหมายในฐานะทายาทหรือทางมรดกตามป.พ.พ.มาตรา 1599, 1600 ก็ตาม แต่การที่จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่5621 โดยมีโจทก์ใช้ทางพิพาทอยู่ จำเลยย่อมจะทราบดีว่าบิดามารดาจำเลยมีข้อตกลงหรือสัญญายอมให้บุคคลอื่นผ่านทางพิพาทได้ตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินดังกล่าว ย่อมถือเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท และต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไป แต่โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของ ป.เจ้าของที่ดินเดิม จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน-เจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตาม ป.พ.พ.บรรพ 4 จึงไม่เป็นภาระจำยอมเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางภาระจำยอม: อำนาจฟ้องของผู้มีสิทธิสามยทรัพย์ และขอบเขตสิทธิของผู้เช่า/ผู้ครอบครอง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1870 เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภาระจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 เมื่อปี 2530 ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภาระจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่ 133383 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 และ 133382 จาก ส.เมื่อปลายปี 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลวดตาข่ายปิดกั้นทางภาระจำยอม ดังนี้ เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่ 133383 เป็นของ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 1870 ใช้ทางภาระจำยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา1387 และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม.เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่า ภาระจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 หรือมาตรา 1400ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงผู้เช่า และจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ
โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภาระจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม ทางสาธารณะ การอุทิศถนน และสิทธิในการใช้ทางของประชาชน
โจทก์ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 73454 และโฉนดเลขที่ 37455จาก น.เมื่อปี 2532 โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงโดยใช้ทางพิพาทมาก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่า น.หรือบุคคลอื่นที่เคยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงเคยใช้ทางพิพาทมาก่อน ดังนี้ ถึงแม้ว่าบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงอื่นที่อยู่ติดทางพิพาทได้ใช้ทางพิพาทมาเกิน 10 ปี ที่ดินของจำเลยในส่วนทางพิพาทตัดผ่านก็ไม่เป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แต่อาจเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินแปลงอื่นเท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่า ด.เจ้าของที่ดินพิพาทเดิมได้อุทิศถนนซอยพิพาทให้แก่มัสยิดเพื่อให้ประชาชนใช้ร่วมกันไปทำศาสนกิจในมัสยิด และได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะให้ประชาชนทั่วไปใช้ร่วมกันโดยไม่หวงห้าม แสดงว่าได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้ว จำเลยซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ด.จึงไม่มีสิทธิขัดขวางการใช้ทางพิพาทของโจทก์ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะได้เพราะโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่าทางพิพาทนอกจากเป็นทางภาระจำยอมแล้วยังเป็นทางสาธารณะอีกด้วย ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมที่ดินจัดสรร: การบังคับใช้ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 กับที่ดินจัดสรรก่อนประกาศ
ช.เจ้าของที่ดินเดิมที่ทำการจัดสรรที่ดินมีเจตนาให้ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณูปโภคแก่หมู่บ้าน อ. และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ได้บัญญัติขึ้นโดยมีเจตนาคุ้มครองแก่ผู้ที่ซื้อที่ดินจากการจัดสรร ในการจัดสรรที่ดินของ ช.เจ้าของเดิมก็ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินตรงตามความหมายของคำจำกัดความประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ดังกล่าว ข้อ 1 ทุกประการ แม้ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติต่อมาว่า "สาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตเช่นถนน สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้"จะระบุใช้บังคับแก่ผู้จัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตก็จริง แต่หากพิจารณาประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 32 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและได้จำหน่ายที่ดินจัดสรรไปแล้วบางส่วน หรือได้จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือ...ไปแล้วบางส่วน...ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ เว้นแต่การอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินให้อยู่ภายใต้บังคับข้อ 30 ด้วย" มาประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะเห็นได้ว่าข้อความประโยคสุดท้ายของบทบัญญัติข้อนี้ได้ยกเว้นในเรื่องกิจการสาธารณูปโภคกับผู้จัดสรรที่ดินก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับซึ่งผู้จัดสรรที่ดินไม่ต้องขออนุญาต แต่ในเรื่องสาธารณูปโภคก็ยังคงให้อยู่ภายใต้บังคับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ข้อ 30 ได้ตามที่ข้อ 32 บัญญัติไว้ ดังนี้ ที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และเป็นที่ดินที่อยู่ในหมู่บ้าน อ.ที่โจทก์ซื้อและจำเลยร่วมได้ซื้อจากจำเลยในระหว่างที่โจทก์จำเลยพิพาทกัน โดย ช.เจ้าของที่ดินเดิมที่ทำการจัดสรรที่ดินมีเจตนาให้ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณูปโภคแก่หมู่บ้าน อ.ย่อมตกเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรหมู่บ้าน อ.ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยร่วมจึงมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินพิพาทตามที่กฎหมายได้บังคับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: สิทธิยังคงอยู่แม้มีสัญญาเช่า และจำเลยต้องรับผิดชอบการรอนสิทธิ
ภาระจำยอมของโจทก์ถูกรอนสิทธิโดยผู้เช่าซึ่งเป็นบริวารของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
เจ้าของที่ดินผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีอำนาจจัดการที่ดินของตนได้หากการจัดการนั้นทำให้เกิดการผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับผู้เช่า ผู้เช่าก็ชอบที่จะฟ้องร้องเรียกให้ปฏิบัติตามสัญญา หากปฏัติไม่ได้ก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า
โจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมกัเจ้าของที่ดินตามสิทธิที่เจ้าของที่ดินมีอยู่ แม้ ย.จะทรงสิทธิการเช่าอยู่ก่อน ก็ไม่ทำให้สิทธิที่โจทก์ได้มาเสียไปหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
โจทก์ฟ้องคดีก่อนครบกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนการได้มาซึ่งภาระจำยอม และเหตุที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภาระจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ก็เป็นเพราะผู้เช่าและผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นบริวารของจำเลยได้กระทำการรอนสิทธิโจทก์ มิใช่เป็นเพราะโจทก์ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภาระจำยอม ภาระจำยอมของโจทก์จึงหาได้สิ้นไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินทางและภาระจำยอม: การได้มา การสูญเสีย และผลกระทบต่อผู้รับโอน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 610 เป็นของบิดาจำเลยที่ 1 เคยให้โจทก์ทั้งสองเช่าบางส่วน เมื่อบิดาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1ได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำไปแบ่งขายให้แก่โจทก์ทั้งสอง ขณะที่เช่าที่ดินกับบิดาจำเลยที่ 1 บิดาจำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทหลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ก็ได้ให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทดังกล่าว การที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเดินผ่านที่ดินพิพาท จึงเป็นการได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเดินผ่านจากบิดาจำเลยที่ 1 และตัวจำเลยที่ 1 นั่นเอง โจทก์ทั้งสองมิได้เดินในที่พิพาทโดยอาศัยอำนาจแห่งตนและขณะนั้นที่ดินดังกล่าวยังเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอยู่กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องการมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงหนึ่งเพื่อประโยชน์ของที่ดินอีกแปลงหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เพิ่งจะซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 16กุมภาพันธ์ 2524 โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์2527 นับถึงวันฟ้องวันที่ 31 มกราคม 2534 ยังไม่ครบ 10 ปี ถึงแม้หากโจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิโดยอำนาจแห่งตนโดยพลการเดินผ่านที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1ตั้งแต่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 ก็หาอาจได้สิทธิภาระจำยอมในทางเดินในที่ดินพิพาทดังกล่าวไม่
ที่โจทก์ที่ 2 อ้างว่าในการซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1เคยทำสัญญาไว้ว่า เมื่อซื้อที่ดินแล้วจะเปิดทางให้ทำถนนนั้น ก็ปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวกระทำกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. มิได้กระทำกับโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 เองก็เบิกความว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ที่ 2 ได้หย่าขาดกับ ส.แล้ว และมิได้มีการจดทะเบียนให้ทางเดินในที่ดินพิพาทเป็นทางเดินภาระจำยอมไว้ ทั้งสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็เป็นบุคคลสิทธิ บังคับได้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส.ไม่มีเหตุที่โจทก์ที่ 2 จะนำสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาได้
ขณะที่โจทก์ที่ 2 สร้างถนนคอนกรีตบางส่วนบนที่ดินพิพาทนั้นจำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินอยู่ การสร้างถนนคอนกรีตของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการสร้างโดยได้รับอนุญาต เมื่อจำเลยที่ 2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินต่อไปอีก โจทก์ที่ 2 จึงต้องรื้อถนนคอนกรีตส่วนนี้ออก เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ยินยอมรื้อจำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะฟ้องแย้งบังคับโจทก์ที่ 2 ให้รื้อถนนคอนกรีตดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงใช้ทางร่วมกัน – สิทธิบุคคล – ไม่ใช่ภาระจำยอม – การรื้อถอนรั้ว
จำเลยกับ จ.ได้ทำหนังสือยินยอมยกที่ดินของจำเลยกับ จ.ให้เป็นทางใช้ร่วมกันกว้างฝ่ายละ 0.50 เมตร ยาวตลอดสุดที่ดินของจำเลย จ.เจ้าของที่ดินเดิมใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลยก็โดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลง มิใช่ใช้ทางโดยเจตนาจะให้ได้ภาระจำยอม จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา1401 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจาก จ. และใช้ทางพิพาทต่อมา จึงไม่ได้ภาระจำยอมเช่นกันแต่การที่โจทก์ซื้อที่ดินมาดังกล่าวแล้ว ได้ปรับปรุงตึกแถวบนที่ดินนั้นทำเป็นหอพักมีผู้เช่าตึกแถวของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ถนน และโจทก์ต่อท่อระบายน้ำเข้ากับท่อระบายน้ำของจำเลยที่ฝังอยู่ใต้ทางพิพาท โดยจำเลยมิได้โต้แย้งหวงห้ามหรือปิดกั้นทางพิพาท จนเมื่อโจทก์เทปูนยกระดับทางพิพาทสูงขึ้นและเกิดมีปัญหาน้ำท่วมขังจำเลยจึงบอกเลิกการใช้ทางต่อโจทก์แล้วกั้นรั้วบนทางพิพาท แสดงว่าจำเลยกับโจทก์ตกลงยอมรับโดยปริยายที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงของจำเลยกับ จ.เจ้าของที่ดินเดิมในอันที่ต่างฝ่ายต่างเว้นที่ดินของตนไว้เป็นทางพิพาทเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันมา จำเลยจึงต้องยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงต่อไป
เหตุที่เกิดน้ำท่วมขังบ้านจำเลยเกิดจากเหตุที่ปัจจุบันบ้านจำเลยอยู่ต่ำกว่าระดับถนนซอยมากกว่าการที่โจทก์เทพื้นทางพิพาทสูงขึ้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดข้อตกลงในการใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีสิทธิทำรั้วปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนรั้วออกไป แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลสิทธิและไม่ใช่ภาระจำยอม โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีภาระจำยอม – ทางจำเป็น
ประเด็นแห่งคดีของโจทก์ที่ต้องการให้ศาลตัดสินตามข้อเท็จจริงในคำฟ้องที่บรรยายไว้เป็นข้ออ้างในฟ้องเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยในเรื่องภาระจำยอมเท่านั้น โดยที่ในคำฟ้องของโจทก์ทั้งเก้ามิได้บรรยายเรื่องทางจำเป็นไว้ คงบรรยายแต่เพียงเรื่องที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกันแล้วใช้ทางเดินในที่ดินจำเลยที่ใช้เดินมาตั้งแต่เจ้าของเดิม แล้วจำเลยเอาเสาปูนมาปักปิดกั้นโดยเจตนากลั่นแกล้งปิดกั้นทางเดินของโจทก์เท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเป็นทางจำเป็นด้วยนั้น ผลของคดีจึงเกินคำขอและทำให้ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคท้ายด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมทางเดินเกินขอบเขต เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิถมดินเพิ่ม โจทก์มีสิทธิกีดขวาง
การจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นภาระจำยอมเรื่องทางเดินทั้งแปลง การวางท่อระบายน้ำ ระบบประปา ไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภคอื่น การที่จำเลยทั้งสี่จ้างรถบรรทุกดินเข้ามาถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่ซึ่งมีจำนวนหลายไร่ ถือได้ว่าเป็นการใช้ทางภาระจำยอมเกินควรกว่าปกติ ย่อมทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้ การที่โจทก์นำหลักปักกีดขวางมิให้รถบรรทุกดินแล่นผ่านที่ภารยทรัพย์เข้าไปถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่
of 43