พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า: ค่าใช้จ่ายของบริษัทต่างประเทศที่ปรึกษาโรงแรม ถือเป็นเงินได้จากการรับทำงาน
การที่บริษัท พ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้จัดส่งคนงานเข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่โจทก์ในการประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(2) ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณที่จ่าย และนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70(1) โจทก์ทำสัญญาจ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่โจทก์ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการโรงแรมของโจทก์ การที่บริษัทดังกล่าวปฏิบัติงานให้โจทก์ตามสัญญานั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายของตนเองเพื่อทำงานให้บรรลุผลตามสัญญา ดังนั้น ค่าใช้จ่ายเบิกชดเชย ค่าการตลาด กับค่าส่งเสริมการตลาดที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว จึงเป็นเงินได้จากการที่บริษัทดังกล่าวรับทำงานให้โจทก์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(2) หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งบริษัทดังกล่าวทดรองจ่ายไปก่อนแล้วโจทก์จะจ่ายคืนให้ในภายหลังไม่ โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 เตรส การที่โจทก์จ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมของโจทก์ก็เพื่อให้กิจการโรงแรมของโจทก์เป็นไปด้วยดี ดังนั้นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว ก็เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่บริษัทดังกล่าวจะบริหารโรงแรมให้โจทก์ จึงถือเป็นเงินค่าจ้างทำของ แม้โจทก์จะเรียกเงินที่จ่ายนั้นว่าเป็น ค่าการตลาด ค่าธรรมเนียม หรือเงินจ่ายคืนสำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทดังกล่าวได้ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก็ตามแต่แท้จริงแล้วล้วนเป็นเงินค่าจ้างทำของทั้งสิ้น บริษัท ฮ.จึงต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ) โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัท ฮ. จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล แล้วนำส่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 สัตตรสประกอบด้วยมาตรา 78 ปัณรส วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แม้ผู้เสียภาษีจะเสียภาษีไม่ถูกต้อง และการรับเงินมัดจำถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
โจทก์ขายทาวน์เฮาส์โดยให้ผู้ซื้อแต่ละรายทำสัญญา 2 ฉบับคือ ทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดิน 1 ฉบับ และทำสัญญาจ้างบริษัท ม. ให้ตกแต่งบ้านอีก 1 ฉบับ ซึ่งความจริงไม่มีการตกแต่งแต่อย่างใด การที่โจทก์เสียภาษีการค้าโดยคำนวณราคาขายจากสัญญาจะซื้อขายบ้านอย่างเดียวจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะราคาตามสัญญาจะซื้อขายบวกด้วยราคาค่าตกแต่งมาคิดคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้าได้ โจทก์ทำสัญญาจะขายห้องชุดมอบให้กับผู้ที่จะซื้อ ข้อความในสัญญาที่ว่าผู้จะซื้อต้องวางมัดจำในวันทำสัญญา เป็นข้อความที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ จึงน่าเชื่อถือ ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่ามัดจำตามสัญญาจริง เมื่อโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของโจทก์ใหม่ อันทำให้ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้เปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินที่ไม่เข้าข่ายการค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
ที่ดินที่โจทก์รับซื้อฝากไว้ไม่มีทางรถยนต์เข้าถึง เนื้อที่เพียง 1 ไร่ 74 ตารางวามีบ้านที่ผู้อื่นปลูกอยู่ก่อนแล้วหลายหลัง ตั้งอยู่ใกล้สุเหร่าซึ่งมิใช่ทำเลการค้า และโจทก์มิใช่บุคคลผู้มีอาชีพค้าขายที่ดิน พฤติการณ์ที่โจทก์รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ก็น่าเชื่อว่าประสงค์จะได้ดอกเบี้ยเท่านั้นและโจทก์ขายที่ดินแปลงนี้ภายหลังจากที่โจทก์ได้กรรมสิทธิ์มาแล้วถึง 6 - 7 ปี โดยมิได้ทำการปรับปรุงที่ดิน อีกทั้งเป็นการขายให้แก่ญาติของผู้ขายฝากที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ดินแปลงนั้นในราคาเท่าที่ซื้อฝากไว้เพราะความสงสารที่เป็นคนยากจน ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีการค้าก็ต่อเมื่อเป็นรายรับที่ได้มาจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเท่านั้น เมื่อการขายที่ดินของโจทก์มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีการค้าก็ต่อเมื่อเป็นรายรับที่ได้มาจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเท่านั้น เมื่อการขายที่ดินของโจทก์มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4448/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และการมีอำนาจฟ้องร้องกรณีภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล
เมื่อโจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้ประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และในรายการที่สำแดงภาษีอากรมียอดเงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันแต่ละรายการ ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีสินค้าอาหารแปรรูปต้องไม่ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา แม้ผลิตจากแป้งหรือถั่ว
มาตรา 5 (8) (จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ.(ฉบับที่ 179) พ.ศ.2529 บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วเฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรและมิได้ระบุในบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราช-กฤษฎีกา ดังนั้น การขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วจะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ก็ต่อเมื่อสินค้าดังกล่าวมิได้ระบุในบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ด้วย
สินค้าของโจทก์เป็นวุ้นเส้นและเส้นหมี่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุอยู่ในห่อกระดาษแก้ว ระบุชื่อสินค้า ตราของสินค้า กับมีภาพประกอบและระบุว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก หรือที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อที่มีชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่บนหรือในภาชนะหรือหีบห่อซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากภายนอก จึงเป็นสินค้าที่ระบุในบัญชีที่ 1 หมวด 1 (4)(ข) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5 (8) (จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
สินค้าของโจทก์เป็นวุ้นเส้นและเส้นหมี่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุอยู่ในห่อกระดาษแก้ว ระบุชื่อสินค้า ตราของสินค้า กับมีภาพประกอบและระบุว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก หรือที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อที่มีชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่บนหรือในภาชนะหรือหีบห่อซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากภายนอก จึงเป็นสินค้าที่ระบุในบัญชีที่ 1 หมวด 1 (4)(ข) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5 (8) (จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ยังคงต้องเสียภาษีการค้า หากเข้าข่ายประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคาร
การจะพิจารณาว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ ในประเภทใดต้องพิจารณาจากกิจการที่โจทก์กระทำเป็นสัญญา แม้กิจการนั้นจะได้กระทำไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายแต่ถ้าเป็นกิจการที่กฎหมายกำหนดว่าต้องเสียภาษีการค้าแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นปกติธุระจึงเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารก็ตาม เมื่อมีผลกำไรจากการนี้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 12 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นปกติธุระจึงเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารก็ตาม เมื่อมีผลกำไรจากการนี้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 12 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตและการเสียภาษีการค้า แม้ฝ่าฝืนกฎหมายก็ต้องเสียภาษี
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคาร ก.หลายครั้งในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2528 โดยโจทก์กู้จากธนาคารก. สาขาฮ่องกง อันเป็นสาขาของธนาคารคู่สัญญาที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ทั้งปรากฏว่าไม่มีการส่งมอบเงินตราต่างประเทศระหว่างกัน อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นได้ว่าคู่สัญญาใช้วิธีหักกลบกันทางบัญชีไม่มีการส่งเงินตราต่างประเทศการกู้ในลักษณะดังกล่าวเป็นการแสดงถึงว่าเพื่อให้ตนมีเงินตราต่างประเทศไว้เพื่อหักถอนบัญชีตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศกันเท่านั้น เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการซื้อขายเงินตราเป็นปกติธุระ แม้โจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศตาม พ.ร.บ. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ก็หาได้หมายความว่า โจทก์มิใช่ผู้ประกอบการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพราะการที่จะพิจารณาว่าโจทก์จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากกิจการที่โจทก์กระทำเป็นสำคัญ และแม้กิจการที่โจทก์กระทำนั้นจะฝ่าฝืนกฎหมาย ก็หาทำให้โจทก์พ้นจากความรับผิดในการชำระภาษีไม่ แบบแจ้งการประเมินมีข้อความระบุว่า "บริษัทมีรายรับจากกำไรจากการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ แต่มิได้นำรายรับดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า จึงประเมินภาษีการค้าพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย" เป็นการระบุรายการที่ประกอบการค้าและเหตุผลที่ประเมินตามแบบที่กำหนดไว้แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทาวน์เฮาส์เพื่อเก็งกำไร ถือเป็นการประกอบการค้า ต้องเสียภาษีการค้า แม้ยังมิได้จดทะเบียนโอน
โจทก์ซื้อทาวน์เฮาส์ พิพาทไว้เพื่อจะขายต่อเอากำไร และได้ชำระเงินค่าทาวน์เฮาส์ ให้แก่ผู้ขายครบถ้วนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกัน ดังนั้นการที่โจทก์ให้บริษัทผู้ขายโอนทาวน์เฮาส์ให้แก่บริษัท ย. โดยตรงโดยโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจาก อ. แม้มิได้ทำสัญญาซื้อขายก็มีความหมายเช่นเดียวกับการขายทาวน์เฮาส์ มิใช่เป็นการขายสิทธิในการซื้อทาวน์เฮาส์ตามที่โจทก์อ้าง และถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77, 78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้เป็นหลักทั่วไปว่า ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ดังนั้น ศาลย่อมมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมายอยู่แล้ว แม้จำเลยจะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีหน้าที่ต้องสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้เป็นหลักทั่วไปว่า ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ดังนั้น ศาลย่อมมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมายอยู่แล้ว แม้จำเลยจะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีหน้าที่ต้องสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทาวน์เฮาส์เพื่อหากำไร ถือเป็นการค้าต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์จองซื้อทาวน์เฮาส์2หลังจากห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ราคาหลังละ 3,000,000 บาท เมื่อเดือนเมษายน 2522 อ้างว่าจองเพื่ออยู่อาศัย 1 หลัง และสำหรับ ท.1 หลัง ต่อมาในเดือนกันยายน 2522โจทก์ชำระเงิน 3,000,000 บาท และขอยกเลิกการจองให้ ท. และได้ตบแต่งภายในทาวน์เฮาส์ หลังที่โจทก์จะอยู่เองสิ้นเงินไป 900,000บาท ต่อมาเดือนมีนาคม 2523 โจทก์ขายให้ อ. ในราคา 4,000,000 บาทโดยให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.โอนกรรมสิทธิ์ทาวน์เฮาส์ และที่ดินให้ อ.โดยตรงแต่อ. เป็นคนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ จึงให้บริษัท ย.จำกัดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนค.ผู้จัดการบริษัท ย. จำกัด เป็นผู้แจ้งให้โจทก์ตบแต่งภายในทาวน์เฮาส์แสดงว่าโจทก์มิได้ตบแต่งภายในทาวน์เฮาส์ โดยมีเจตนาจะอยู่อาศัยเอง แต่ตบแต่งหลังจากที่โจทก์ตกลงขายให้ อ. แล้วเหตุที่ขายโจทก์อ้างว่าสภาพแวดล้อมของทาวน์เฮาส์ เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใช้เป็นที่ประกอบการค้าและธุรกิจไม่เหมาะใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งความจริงโจทก์ซื้อมาในเดือนกันยายน 2522 อ้างว่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย แต่ในเดือนมีนาคม 2523 กลับอ้างว่าไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยซึ่งช่วงเวลาผ่านไปเพียง3-4 เดือน ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วถึงเพียงนั้น ข้อที่โจทก์อ้างว่าจองให้ ท.1หลังไม่ปรากฏว่าท. ได้ติดต่อกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ทั้งเมื่อโจทก์บอกเลิกการจองให้ท.ก็ไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ปรึกษาหารือกับ ท. จึงเป็นการจองเพื่อโจทก์เอง พฤติการณ์ดังกล่าวโจทก์ซื้อทาวน์เฮาส์ พิพาทไว้เพื่อจะขายต่อเอากำไร หาใช่ซื้อไว้อยู่อาศัยเองไม่ การที่โจทก์ให้บริษัทผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ทาวน์เฮาส์และที่ดินให้แก่บริษัทย.จำกัด โดยโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจาก อ. แม้มิได้ทำสัญญาซื้อขายก็มีผลอย่างเดียวกับโจทก์ขายทาวน์เฮาส์นั่นเองมิใช่เป็นการขายสิทธ์ในการซื้อทาวน์เฮาส์ ถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77,78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราการค้าประเภทการค้า 11 ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ศาลมีอำนาจสั่งได้แม้คู่ความไม่ได้ขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อทาวน์เฮาส์เพื่อขายเก็งกำไร ถือเป็นการค้า ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ซื้อทาวน์เฮาส์ พิพาทไว้เพื่อจะขายต่อเอากำไร และได้ชำระเงินค่าทาวน์เฮาส์ ให้แก่ผู้ขายครบถ้วนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกัน การที่โจทก์ให้บริษัทผู้ขายโอนทาวน์เฮาส์ ให้แก่บริษัท ย.โดยตรงโดยโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากอ. แม้มิได้ทำสัญญาซื้อขายก็มีความหมายเช่นเดียวกับการขายทาวน์เฮาส์ มิใช่เป็นการขายสิทธิในการซื้อทาวน์เฮาส์ ตามที่โจทก์อ้าง และถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77,78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้เป็นหลักทั่วไปว่า ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ดังนั้น ศาลย่อมมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมายอยู่แล้วแม้จำเลยจะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีหน้าที่ต้องสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย