พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ผู้ร้องไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ตายเป็นป้าของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 โดยผู้คัดค้านที่ 1เป็นพี่สาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ร้อง ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ตายพักอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 1 และช่วยเลี้ยงดูผู้คัดค้านที่ 2 มาตั้งแต่ผู้คัดค้านที่ 2 ยังเป็นเด็ก เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้คัดค้านที่ 2 ก็เลี้ยงดูผู้ตายตลอดมาจนถึงแก่ความตายด้วยโรคชรา ผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตรส่วนบิดามารดาถึงแก่กรรมไปนานแล้ว ผู้ตายทำพินัยกรรมด้วยความสมัครใจ และพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นผู้รับพินัยกรรม แต่ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้รับทรัพย์มรดกทั้งหมดของเจ้ามรดกตามพินัยกรรม ผู้ร้องจึงมิได้เป็นทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก จึงไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน & สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในมรดก เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้
สัญญาที่ผู้ตายต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ร้องหลังจากออกโฉนดที่ดินแล้วเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย หากที่ดินของผู้ตายต้องห้ามไม่ให้โอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้ผู้ตายหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ผู้ตายก็หามีสิทธิได้รับชำระราคาที่ดินตอบแทนไม่ จึงต้องคืนเงินราคาที่ดินแก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ตายยังไม่ได้คืนเงิน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทฟ้องเรียกหนี้กองมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกอันเป็นการรักษาสิทธิอันจะพึงตกแก่กองมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก และการโอนทรัพย์โดยสุจริต
โจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้จัดการมรดกเป็นจำเลย คงฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาท ขอให้กำจัดทายาทมิให้รับมรดกเนื่องจากปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดก และให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่กระทำโดยมิชอบเพื่อโอนที่ดินกลับมาเป็นของเจ้ามรดกตามเดิม กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความ 5 ปี มาใช้บังคับแก่คดีได้
ในการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. เพื่อให้ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นถือเสมือนกับการลงลายมือชื่อ และจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินโฉนดส่วนหนึ่งเนื่องจากได้ซื้อไว้จาก ส. นานแล้ว ไม่ใช่รับโอนที่ดินมาในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเป็นสามีของ ส. เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินมาโดยมีค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จึงเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 ไม่ได้
ในการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. เพื่อให้ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นถือเสมือนกับการลงลายมือชื่อ และจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินโฉนดส่วนหนึ่งเนื่องจากได้ซื้อไว้จาก ส. นานแล้ว ไม่ใช่รับโอนที่ดินมาในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเป็นสามีของ ส. เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินมาโดยมีค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จึงเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีมรดก - การอ้างกรรมสิทธิ์จากการครอบครองเมื่อเคยมีคำพิพากษาแล้ว
คดีแพ่งเรื่องก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว โดยโจทก์กับพวกรวม 5 คนฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์กับพวก โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์กับพวกดังกล่าวเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ผู้เดียวฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกแปลงดังกล่าวอีกโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกโดยการครอบครอง เนื่องจากทายาทอื่นและจำเลยมิได้เข้าครอบครองที่ดินส่วนนี้และมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกภายในเวลา 1 ปี นับแต่ ท.เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ประเด็นสำคัญในคดีก่อนมีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกเพียงใด การที่โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์ได้ครอบครองทรัพย์มรดกจนได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าส่วนที่ตนมีสิทธิได้รับตามคำพิพากษาของศาลที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อนว่าโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกในที่ดินพิพาทเพียงใดนั้น แม้จะเป็นการเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอีก 4 คน และต่อมาทายาทดังกล่าวก็ได้สละสิทธิที่จะพึงได้ให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม เมื่อศาลต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงใด คดีนี้จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีมรดกเดิมมีข้อพิพาทเรื่องสิทธิส่วนแบ่ง หากฟ้องใหม่ประเด็นเดิม แม้เปลี่ยนเหตุผล ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์กับพวกรวม 5 คน ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดก ตามโฉนดที่ดิน เลขที่ 803 โดยอ้างว่าโจทก์กับพวกเป็นทายาท ขอแบ่งมรดกจากจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 803 โดยอ้างว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกโดยการครอบครอง เนื่องจากทายาทอื่นและจำเลยมิได้เข้าครอบครองที่ดินส่วนนี้ และมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกภายในเวลา 1 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย ประเด็นสำคัญแห่งคดีก่อนจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกเพียงใด และคดีนี้ ศาลก็คงต้องวินิจฉัยอีกว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงใด ดังนั้น คดีนี้ จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีมรดกเดิมวินิจฉัยสิทธิแล้ว การฟ้องใหม่โดยอ้างกรรมสิทธิ์จากการครอบครองจึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งเรื่องก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว โดยโจทก์กับพวกรวม 5 คน ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์กับพวกโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์กับพวกดังกล่าวเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ผู้เดียวฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกแปลงดังกล่าวอีกโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดก โดยการครอบครอง เนื่องจากทายาทอื่นและจำเลยมิได้ เข้าครอบครองที่ดินส่วนนี้และมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกภายในเวลา 1 ปี นับแต่ท.เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ประเด็นสำคัญในคดีก่อนมีว่า โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกเพียงใด การที่โจทก์ กลับมาฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์ได้ครอบครองทรัพย์มรดกจน ได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าส่วนที่ตนมีสิทธิได้รับตามคำพิพากษา ของศาลที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อนว่าโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดก ในที่ดินพิพาทเพียงใดนั้น แม้จะเป็นการเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอีก 4 คน และต่อมาทายาทดังกล่าวก็ได้สละสิทธิที่จะพึงได้ให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม เมื่อศาล ต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และโจทก์ มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงใด คดีนี้จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: กรณีพิพาทสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้าน ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก
เมื่อที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย แม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่กรรมเจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธไม่ยอมแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดินจากผู้ตายมาเป็นของผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้นแต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท กรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกกรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1713 (1) (2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้นแต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท กรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกกรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1713 (1) (2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทกับมรดก: ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก
ที่ดินตามคำร้องขอไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายเพื่อขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้ ส่วนผู้คัดค้านก็มิได้กล่าวอ้างว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่าฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอเท่านั้นเมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกแต่ประการใด กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: หน้าที่ผู้จัดการมรดก & เหตุผลสมควรในการไม่ปฏิบัติตาม
แม้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกจากธนาคารก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องย่อมไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทได้ การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคารไม่ใช่เหตุที่จะอ้างไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การที่ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเพราะเหตุดังกล่าว จึงไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง นอกจากนี้ผู้คัดค้านเป็นบุตรเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องเป็นมารดาผู้คัดค้านและเป็นภริยาเจ้ามรดก และทุกฝ่ายทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง การที่ผู้ร้องไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกจึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องมีเจตนาปิดบังทรัพย์มรดก ส่วนเรื่องผู้ร้องไม่เรียกประชุมทายาท ก็ปรากฏว่าทายาทของเจ้ามรดกบางคนอยู่ต่างประเทศบางคนอยู่ต่างจังหวัดจึงเป็นการยากที่จะจัดประชุมทายาท ดังนั้น ที่ผู้ร้องไม่จัดประชุมทายาทเพราะเหตุดังกล่าวมา จึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และแม้ผู้ร้องจะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามที่ป.พ.พ.มาตรา 1728 และ 1729 บัญญัติไว้ก็ตาม แต่มาตรา 1731 ก็ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า มีเหตุสมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ซึ่งตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก