พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและครอบครองยาเสพติด: พยานหลักฐานเพียงพอรับฟังได้ แม้ไม่มีทนายความในชั้นจับกุมและผู้ต้องหารายอื่น
ป.วิ.อ. มาตรา 134 ทวิ ซึ่งเป็นบทบัญญัติขณะเกิดเหตุ บัญญัติให้ต้องมีทนายความเฉพาะกรณีสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี เท่านั้น มิได้บัญญัติรวมถึงชั้นจับกุมด้วย การที่จำเลยอ้างว่าบันทึกการจับกุมไม่ชอบเพราะจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมต่อหน้าทนายความนั้นฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบอกเล่าไม่มีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยในข้อหาจำหน่ายยาเสพติดได้ และการริบของกลางที่ได้มาก่อนกระทำผิด
โจทก์มีแต่คำให้การในชั้นสอบสวนของ ช. และ ป. มาแสดงว่า เมื่อ ช. และ ป. ถูกจับกุมในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ต้องหาทั้งสองคนให้การในชั้นสอบสวนซัดทอดไปถึงจำเลยว่า เฮโรอีนที่ตนมีไว้ในครอบครองซื้อมาจากจำเลย แต่โจทก์ไม่สามารถนำ ช. และ ป. มาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ คำให้การในชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาทั้งสองคนนี้จึงเป็นพยานบอกเล่าไม่มีน้ำหนักรับฟังมาลงโทษจำเลยได้
ธนบัตรของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้บุคคลอื่นไปก่อนคดีนี้นั้น มิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีนี้จึงไม่อาจริบได้
ธนบัตรของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้บุคคลอื่นไปก่อนคดีนี้นั้น มิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีนี้จึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ในคดียาเสพติด: รถยนต์ไม่ใช่ยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่สามารถริบได้
จำเลยที่ 3 นั่งโดยสารมาในรถยนต์กระบะ ถือกางเกงซึ่งมีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่มาด้วย หาได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเป็นที่ซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลางไม่ รถยนต์กระบะจึงมิใช่ยานพาหนะซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อาจริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้อง โดยคืนให้แก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ขัดแย้ง & พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย
คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยานบอกเล่า แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 จะอนุญาตให้อ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 2 ได้ แต่การใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่ดีที่สุดที่โจทก์พึงนำมาแสดง ดังนั้น จึงต้องพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และพฤติการณ์ในการได้มาซึ่งคำให้การรับสารภาพดังกล่าวด้วย
แม้คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกการจับกุมจะมีใจความสอดคล้องกับคำเบิกความของพันตำรวจตรี ว. แต่บันทึกคำให้การรับสารภาพที่พันตำรวจตรี ว. ได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเขียนบันทึกคำให้การรับสารภาพ โดยให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ กลับมีใจความที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คงมีแต่ข้อความในสามบรรทัดสุดท้ายเท่านั้นที่พอจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จำเลยที่ 2 ถูกตรวจค้นและจับกุมในขณะเกิดเหตุ แต่ก็มิได้แสดงให้เห็นด้วยว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลาง พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมจึงขัดแย้งกันเองในข้อสำคัญ และมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อของพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนด้วย เพราะนอกจากคำให้การตามคำให้การรับสารภาพซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นคำให้การปฏิเสธ จะขัดแย้งตรงกันข้ามกับคำให้การรับสารภาพตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาแล้ว ยังปรากฏว่าหลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 กับพวกเวลา 0.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่จำเลยที่ 2 ถูกส่งตัวให้แก่พนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ถูกสอบปากคำอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าพนักงานตำรวจหลายคนเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง และเมื่อพันตำรวจตรี ช. พนักงานสอบสวนได้รับตัวจำเลยที่ 2 ไว้แล้ว ได้ทำการสอบปากคำจำเลยที่ 2 ต่อเนื่องไปจนถึงเวลา 12 นาฬิกา ที่นำตัวจำเลยส่งไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพไว้ด้วย ดังนั้น การสอบปากคำจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนรวมทั้งการนำจำเลยที่ 2 ไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพจึงมีเหตุสมควรสงสัยว่าน่าจะเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 2 มีความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียทั้งร่างกายและจิตใจ และมีผลกระทบต่อน้ำหนักความน่าเชื่อของคำรับสารภาพที่ได้รับจากจำเลยที่ 2 ด้วย พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
แม้คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกการจับกุมจะมีใจความสอดคล้องกับคำเบิกความของพันตำรวจตรี ว. แต่บันทึกคำให้การรับสารภาพที่พันตำรวจตรี ว. ได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเขียนบันทึกคำให้การรับสารภาพ โดยให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ กลับมีใจความที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คงมีแต่ข้อความในสามบรรทัดสุดท้ายเท่านั้นที่พอจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จำเลยที่ 2 ถูกตรวจค้นและจับกุมในขณะเกิดเหตุ แต่ก็มิได้แสดงให้เห็นด้วยว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลาง พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมจึงขัดแย้งกันเองในข้อสำคัญ และมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อของพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนด้วย เพราะนอกจากคำให้การตามคำให้การรับสารภาพซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นคำให้การปฏิเสธ จะขัดแย้งตรงกันข้ามกับคำให้การรับสารภาพตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาแล้ว ยังปรากฏว่าหลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 กับพวกเวลา 0.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่จำเลยที่ 2 ถูกส่งตัวให้แก่พนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ถูกสอบปากคำอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าพนักงานตำรวจหลายคนเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง และเมื่อพันตำรวจตรี ช. พนักงานสอบสวนได้รับตัวจำเลยที่ 2 ไว้แล้ว ได้ทำการสอบปากคำจำเลยที่ 2 ต่อเนื่องไปจนถึงเวลา 12 นาฬิกา ที่นำตัวจำเลยส่งไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพไว้ด้วย ดังนั้น การสอบปากคำจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนรวมทั้งการนำจำเลยที่ 2 ไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพจึงมีเหตุสมควรสงสัยว่าน่าจะเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 2 มีความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียทั้งร่างกายและจิตใจ และมีผลกระทบต่อน้ำหนักความน่าเชื่อของคำรับสารภาพที่ได้รับจากจำเลยที่ 2 ด้วย พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตยาเสพติดโดยแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ แม้จะเสพเองด้วย
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสามได้ในขณะที่จำเลยทั้งสามกำลังร่วมกันแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อน โดยบรรจุเสร็จแล้ว 3 หลอด หลอดละ 10 เม็ด ยังเหลือเมทแอมเฟตามีนในถุงพลาสติกอีก 120 เม็ด มีหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนแล้วอีก 5 หลอด และยังไม่ได้ตัดอีก 36 หลอด อันเป็นการแสดงว่าจำเลยทั้งสามกำลังจะแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนที่เหลือในถุงพลาสติกลงในหลอดกาแฟที่เตรียมไว้อีกเป็นจำนวนมาก การแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการผลิตตามความหมายของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบกระเป๋าสะพายผ้าร่มสีดำ: ไม่ใช่เครื่องมือในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
จำเลยใช้กระเป๋าสะพายผ้าร่มสีดำสำหรับซุกซ่อนธนบัตรที่ได้จากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ได้ใช้สำหรับซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษ ของกลางดังกล่าวจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งคืนแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9146-9147/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยาเสพติด: การจำหน่ายและครอบครองเพื่อจำหน่าย, การใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่, และการลดโทษ
โจทก์กล่าวบรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจำหน่ายโดยการขายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2,000 เม็ด ที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ยืนยันว่าเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2,000 เม็ดดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เกินหนึ่งร้อยกรัม แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน 151,600 เม็ด ที่จำเลยทั้งสี่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 2,962.120 กรัม ก็ตามก็ไม่อาจสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสี่ว่าเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2,000 เม็ด อันเป็นส่วนหนึ่งของจำนวน 151,600 เม็ด สามารถคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้เกินหนึ่งร้อยกรัม จึงต้องรับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม คงเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9105/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่กับคดีเดิม: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยมีเฮโรอีนจำนวน 1 ถุง หนัก 347.340 กรัม ซึ่งมีน้ำหนักสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าคำนวณเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ได้ทั้งหมดเท่าใด จึงฟังได้เพียงว่า เฮโรอีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 20 กรัม โทษจำคุกต้องด้วย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9083/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท สิทธิฟ้องระงับ - ยาเสพติด - การใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
เมทแอมเฟตามีนจำนวน 90 เม็ด เป็นเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในการตรวจค้นคราวเดียวกันกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 928/2541 ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาและคดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 90 เม็ด ที่ซุกซ่อนอยู่ในถังน้ำซึ่งใช้ใส่ถ่านหุงข้าวในครัวของบ้านพักของจำเลยทั้งสองและพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด ที่ตัวจำเลยที่ 1 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 รับเอาเมทแอมเฟตามีนจำนวน 90 เม็ดและจำนวน 2 เม็ดไว้คนละคราวกัน จึงต้องถือว่าเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันซึ่งแยกเก็บไว้ในที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยในคดีก่อนจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่ 1 ของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8999/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสิทธิผู้ต้องหา, พยานเบิกความขัดแย้ง, และการใช้ประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีครอบครองยาเสพติด
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสามและแจ้งข้อหาว่าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ แต่ไม่ปรากฏว่าได้แจ้งสิทธิให้จำเลยทั้งสามทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ (เดิม) ซึ่งเป็นบทบังคับให้ผู้จับมีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิรวม 3 ประการ โดยเฉพาะประการที่ 1 คือพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง ทั้งตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมก็ไม่มีข้อความระบุว่ามีการแจ้งสิทธิดังกล่าวด้วย บันทึกการตรวจค้นจับกุมจึงมีน้ำหนักน้อย เจ้าพนักงานตำรวจเพียงแต่พบเมทแอมเฟตามีนอยู่ที่บริเวณหัวเตียงนอนและในห้องดังกล่าวซึ่งมีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อยู่ด้วยกัน โดยจำเลยที่ 3 เบิกความยอมรับว่าเป็นของจำเลยที่ 3 เอง เมื่อมิได้ค้นพบเมทแอมเฟตามีนจากตัวจำเลยที่ 1 ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธ ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ โจทก์เพียงอ้างส่งบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ โจทก์เพียงอ้างส่งบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 3 ต่อศาลเท่านั้น มิได้อ้างส่งบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ต่อศาลด้วย ทำให้เป็นพิรุธน่าสงสัยว่า ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การว่าอย่างไร ได้ลงชื่อในบันทึกการจับกุมโดยสมัครใจหรือไม่ ข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 สอดคล้องกับคำเบิกความของพันตำรวจโท พ. และดาบตำรวจ ว. ในชั้นศาลหรือไม่ทั้จำเลยที่ 1 ไม่เคยมีประวัติกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมาก่อน กรณีจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 หรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง