พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์และการกระทำอนาจาร แม้ผู้เสียหายยินยอม การกระทำผิดยังคงมีอยู่
ถึงแม้ผู้เสียหายจะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับมารดาเนื่องจากมารดานำไปฝากให้อยู่กับผู้อื่นก็ตามกรณีก็ยังถือว่าอยู่ในอำนาจปกครองของมารดาการที่จำเลยที่1พาผู้เสียหายไปโดยมารดาของผู้เสียหายมิได้ยินยอมย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายแล้วถึงแม้ว่าผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมจากมารดาผู้เสียหายการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากมารดา การกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญาหมายความถึงการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายบุคคลอื่นเช่นกอดจูบลูบคลำร่างกายของหญิงหรือชายเป็นการแสดงความใคร่ในทางเพศซึ่งต้องเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวของบุคคลโดยตรงซึ่งการกระทำดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นความประพฤติที่น่าอับอายนอกรีตนอกแบบอยู่แล้วจะกระทำในที่รโหฐานหรือสาธารณสถานก็หามีผลแตกต่างกันไม่การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในห้องของโรงแรมแม้จะเป็นที่มิดชิดแต่ก็เป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่นคือผู้เสียหายอันเป็นการกระทำอนาจารแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง & อายุความ: ผลของการยินยอมโอนสิทธิเมื่ออายุความยังไม่ครบ
คำว่า"ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน"ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308นั้นหมายความว่าข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่การโอนสิทธิเรียกร้องการที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้องแต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้องย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ดังนั้นเมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด5ปีจำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อนและโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง: ผลผูกพันต่อจำเลยเมื่อได้รับแจ้งและยินยอม
แม้สัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนจะระบุว่าผู้รับจ้างจะโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยมิได้ซึ่งปรับได้ว่าผู้รับจ้างและจำเลยได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคสองกับเมื่อผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนและโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อตกลงการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าหากโจทก์จะเป็นผู้รับค่าจ้างในงวดต่อๆไปแทนผู้รับจ้างก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือสัญญาจ้างเหมาและจะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างโดยผู้รับจ้างอันยังถือไม่ได้ถนัดว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามสัญญาจ้างเหมาข้อ15ก็ตามแต่หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้มีหนังสือถึงจำเลยขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์โดยขอให้มีข้อความระบุว่า"จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์"สำหรับขั้นตอนการรับเงินคงเหมือนเดิมซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงโจทก์ว่าจำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งและตามสัญญาจ้างเหมาแล้วส่วนขั้นตอนการรับเงินที่จำเลยกำหนดไว้นั้นเป็นเพียงวิธีการคิดคำนวณค่าจ้างในแต่ละงวดว่าจะต้องจ่ายเท่าใดตามข้อตกลงในสัญญาจ้างเหมาเท่านั้นส่วนผู้มีสิทธิรับเงินค่าจ้างจะต้องเป็นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับโอนไม่ใช่ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินหนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่มดังนั้นจะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7587/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในหนี้แทนกัน แม้ไม่ได้กู้เอง แต่ยินยอมทำสัญญาผูกพันหนี้เดิม
ตามข้อความในสัญญากู้ เอกสารหมาย จ.1 จำเลยได้เขียนชื่อของตนเองว่าจำเลยทำแทน ก. และลงลายมือชื่อของจำเลยในช่องผู้กู้ เช่นนี้เพื่อพิจารณาประกอบข้อเท็จจริงว่า ก. กับจำเลยเคยเป็นสามีภรรยากัน และเคยร่วมกันค้าขายน้ำมัน เดิม ก.เป็นหนี้เงินกู้โจทก์อยู่ตามสัญญากู้ เอกสารหมาย ล.1ซึ่งจำเลยก็ทราบดีเพราะเป็นคนเขียนสัญญากู้ดังกล่าว เมื่อ ก.หลบหนีไป โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แทน ก. จำเลยก็ยินยอมทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 กับโจทก์โดยนำหนี้ตามสัญญากู้เอกสารหมาย ล.1 พร้อมดอกเบี้ยค้างชำระมารวมเป็นหนี้ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้กู้เงินโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 กับโจทก์โดยมีเจตนาเข้าผูกพันตนยินยอมชำระหนี้แทน ก. ซึ่งเคยเป็นสามีต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ เอกสารหมาย จ.1ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยายจากการเปิดทางจำเป็นและการยินยอมใช้ร่วม
โจทก์ถูก ก.กับพวกฟ้องให้เปิดทางจำเป็นเพราะที่ดินของ ก.กับพวกตกอยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่นจนออกสู่ถนนสาธารณะไม่ได้ นับแต่ศาลพิพากษาให้โจทก์เปิดทางจำเป็นแล้ว ปรากฏว่าบุคคลทั่วไปได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกซอยพหลโยธิน 28 ไปสู่ถนนพหลโยธินร่วมกัน โดยโจทก์มิได้หวงห้ามมานานนับ 10 ปีแล้วถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่พิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละมรดกโดยความยินยอมและสัญญาแบ่งทรัพย์สินมรดก: ผลผูกพันและข้อยกเว้น
จำเลยให้การว่าโจทก์สละมรดกและอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความคดีมีประเด็นว่าโจทก์ทำบันทึกสละมรดกให้ผู้จัดการมรดกไว้จริงหรือไม่การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้เอาไปจำนองแก่ธนาคารเอาเงินมาทำศพบิดาและจำเลยรับจะเลี้ยงมารดาและทำศพมารดาให้ด้วยจึงเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุของการทำเอกสารดังกล่าวและนำสืบถึงความเป็นมาของเอกสารย่อมไม่ใช่การนำสืบนอกประเด็นหรือนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร เอกสารมีใจความว่าโจทก์และส. ทายาทโดยธรรมล.ยินยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งสรรที่ดินมรดกแปลงพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้โดยโจทก์และส. ไม่ขอรับและไม่คัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้นโจทก์ส. และบ. ได้ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยานดังนี้เมื่อปรากฏว่านอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วยังมีบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งด้วยเอกสารทั้งสองฉบับกล่าวถึงที่ดินแต่ไม่กล่าวถึงบ้านด้วยจึงเป็นการสละสิทธิบางส่วนถือว่าเป็นการสละมรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1613อย่างไรก็ตามข้อความตามเอกสารฉบับนี้เป็นกรณีที่โจทก์และส. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของล. แสดงเจตนาสละสิทธิในที่ดินพิพาทเพื่อระงับข้อพิพาทว่าโจทก์และส. ไม่ขอรับและไม่คัดค้านที่บ. ผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้แม้จะทำไว้แก่บ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกแต่บ. ก็เป็นภรรยาล. จึงมีฐานะเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกล.ด้วยและส. ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทการที่โจทก์ส. และบ.ทำเอกสารดังกล่าวไว้นั้นแสดงถึงเจตนาของโจทก์ที่จะไม่รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาทและยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งให้ทายาทคนใดก็ได้จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์ส. และบ. ผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อด้วยสัญญาดังกล่าวก็ไม่เสียไปและมีผลผูกพันโจทก์ผู้ต้องรับผิดที่ลงชื่อในสัญญาไว้ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวดังนั้นการที่บ. ผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่แบ่งให้โจทก์ก็เป็นไปตามเจตนาของโจทก์ตามเอกสารสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าวจึงเป็นการโอนโดยชอบแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าแต่ในส่วนบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งนั้นโจทก์มิได้สละสิทธิด้วยโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งให้โจทก์ได้ตามส่วน หลังจากล. เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งบ. เป็นผู้จัดการมรดกถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1748โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754แล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีและการยินยอมให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย ทำให้สิทธิเรียกร้องเงินคืนไม่มีผลบังคับ
โจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยนำเงินไปมอบให้เจ้าพนักงาน เพื่อให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินและค่าภาษี ให้น้อยลง เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยโจทก์ รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระเงิน ส่วนที่เหลือจากค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอน โจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกเงินคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ลดค่าธรรมเนียมและภาษีโดยมิชอบ ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินคืน
โจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยนำเงินไปมอบให้เจ้าพนักงานเพื่อให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินและค่าภาษีให้น้อยลงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยโจทก์รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระเงินส่วนที่เหลือจากค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอนโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5915/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่
ตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยที่3ออกให้จำเลยที่2ระบุว่าการคุ้มครองผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเองซึ่งหมายความว่านอกจากรับผิดในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำละเมิดต่อผู้อื่นแล้วจำเลยที่3ยอมรับผิดในกรณีที่จำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้ทำละเมิดเองแต่ผู้อื่นเป็นผู้ทำละเมิดโดยผู้นั้นได้ขับขี่รถยนต์คันที่จำเลยที่3รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของจำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยด้วยเมื่อจำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยยินยอมให้จำเลยที่1ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้เช่าที่ดินหลังแสดงเจตนาไม่ซื้อ และยินยอมให้ขายต่อ
จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาก่อนแล้ว เมื่อโจทก์แสดงความประสงค์ไม่ซื้อที่นาพิพาทและยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วการที่โจทก์กลับมาร้องขอต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์นั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์