คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยึดทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 784 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายก่อนการยึดทรัพย์: การบังคับคดีไม่กระทบสิทธิของผู้ร้อง
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยถึงแก่กรรม ผู้ร้องฟ้อง ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลย ขอให้ศาลบังคับให้ ล. จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ ล. ตกลงประนีประนอมยอมความจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามฟ้องหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนด ดังนี้การที่ ล.ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องดังกล่าว หาใช่ ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยเพิ่งก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินทั้งสามโฉนดที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่ แต่เป็นการที่ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้ก่อนจำเลยถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับ ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกซึ่งรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องได้ และการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องในความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจากสัญญาจะซื้อขายก่อนยึดทรัพย์: การบังคับตามสัญญาไม่ทำให้สิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดเปลี่ยนแปลง
จำเลยทำ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสามโฉนดให้แก่ผู้ร้องไว้ก่อนวันที่19มีนาคม2533ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถึงแก่กรรมต่อมาวันที่14กันยายน2533ผู้ร้องฟ้อง ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยขอให้ศาลบังคับให้ ล.จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาททั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้อง ล. ตกลง ประนีประนอมยอมความยอมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องศาลได้ พิพากษาตามยอมเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์2534ภายหลังที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินไว้ก่อนแล้วเมื่อวันที่18เมษายน2533ดังนี้การที่ ล. ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องเป็นการยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้แก่ผู้ร้องก่อนถึงแก่กรรมหาใช่ ล. เพิ่งก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่และผู้ร้องย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยซึ่งได้รับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดตามสัญญาจะซื้อขายแก่ผู้ร้องและการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยปฏิบัติตามที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายก่อนการยึดทรัพย์: ทายาทผู้จัดการมรดกผูกพันตามสัญญาเดิม
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องฟ้องล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยขอให้ศาลบังคับให้ล. จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ล. ตกลงประนีประนอมยอมความจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามฟ้องหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนดดังนี้การที่ล.ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องดังกล่าวหาใช่ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยเพิ่งก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินทั้งสามโฉนดที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่แต่เป็นการที่ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้ก่อนจำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกซึ่งรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องได้และการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องในความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายก่อนการยึดทรัพย์ ผู้จัดการมรดกผูกพันตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องฟ้องล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยขอให้ศาลบังคับให้ล. จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ล. ตกลงประนีประนอมยอมความจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามฟ้องหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนดดังนี้การที่ล. ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องดังกล่าวหาใช่ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยเพิ่งก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินทั้งสามโฉนดที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่แต่เป็นการที่ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้ก่อนจำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกซึ่งรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องได้และการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องในความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการวางทรัพย์หลังถูกยึดทรัพย์ ศาลต้องถอนการบังคับคดี
โจทก์แจ้งให้จำเลยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบแก่โจทก์พร้อมทั้งชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษา จำเลยจึงนำรถยนต์ไปส่งมอบให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยแจ้งว่านโยบายของบริษัทจะไม่รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โดยจะขอรับเงินตามคำพิพากษาจำเลยจึงนำรถยนต์และเงินไปวางทรัพย์ณ สำนักงานวางทรัพย์การที่โจทก์ไม่ยอมรับรถยนต์ที่คืนและจำเลยได้วางทรัพย์ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วแม้เป็นการชำระหนี้หลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยเพื่อบังคับตามคำพิพากษาก็ตาม ก็ถือได้ว่าไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับต่อไป ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดีตามมาตรา 295(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นผลให้ หมายบังคับคดีสิ้นผลไปโดยผลแห่งการชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางทรัพย์ชำระหนี้หลังยึดทรัพย์: ถือว่าหนี้สิ้นสุด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดี
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์หากส่งมอบไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนจำเลยที่1ได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบให้โจทก์แล้วแต่พนักงานของโจทก์ไม่ยอมรับเมื่อจำเลยทั้งสองนำรถยนต์ที่เช่าซื้อและเงินค่าเสียหายไปวางทรัพย์ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางแม้เป็นเวลาภายหลังที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่2แล้วก็ตามก็ถือได้ว่าไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องบังคับคดีต่อไปซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา295(1)อันเป็นผลให้หมายบังคับคดีสิ้นผลไปจึงต้องยกเลิกหมายบังคับคดีตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้และการกระทำที่ไม่เป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและโกงเจ้าหนี้
การที่ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและชำระหนี้แก่จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นการกระทำตามคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดีเพื่อนำเงินที่ศาลมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในคดีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้ในอีกคดีหนึ่งไปเฉลี่ยให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนเห็นว่าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็คัดค้านไม่ให้จำเลยนี้เข้ามาเฉลี่ยทรัพย์ได้การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา185หรือมาตรา187 สำหรับปัญหาที่ว่าจำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264และมาตรา265หรือไม่นั้นจากคำเบิกความของป. และท. จะเห็นได้ว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยรู้ว่าท. ค้างชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลยแม้จะฟังว่ากหรือจำเลยกรอกข้อความลงในเอกสารที่มีลายมือชื่อของป.กับท. แล้วนำเอกสารดังกล่าวฟ้องเรียกเงินกู้ก็เป็นการกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยเชื่อด้วยความสุจริตและได้กรอกลงไปตรงตามความเป็นจริงทั้งได้รับความยินยอมจากเจ้าของลายมือชื่อแล้วสัญญากู้ดังกล่าวย่อมไม่เป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้แต่ตามข้อเท็จจริงในคดีปรากฎว่าท. ยอมรับว่าเคยกู้เงินจากจำเลยและยังค้างชำระหนี้อยู่ใกล้เคียงกับจำนวนตามที่จำเลยฟ้องจริงแสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้อยู่จริงเมื่อไม่ปรากฎพฤติการณ์ระหว่างจำเลยกับป. อันส่อเจตนาเพื่อมิให้กรมตำรวจในฐานะเจ้าหนี้ของป. ได้รับชำระหนี้แล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์บังคับคดี การปลอมเอกสาร และการโกงเจ้าหนี้: การกระทำตามกฎหมายและการไม่มีเจตนาทุจริต
การที่ศาลชั้นต้นหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของนายดาบตำรวจป. กับนางท. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นการกระทำตามคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดีเพื่อนำเงินที่ศาลมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในคดีที่กรมตำรวจเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้ในอีกคดีหนึ่งไปเฉลี่ยให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหากกรมตำรวจเจ้าหนี้ที่ขอยึดไว้ก่อนเห็นว่าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องดำเนินการคัดค้านไม่ให้จำเลยนี้เข้ามาเฉลี่ยทรัพย์การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา185หรือมาตรา187 นายดาบตำรวจป. กับนางท.ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยรู้ว่านางท.ค้างชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลยแม้จะฟังว่านายก.หรือจำเลยกรอกข้อความลงในเอกสารที่มีลายมือชื่อของนายดาบตำรวจป.กับนางท.แล้วนำเอกสารดังกล่าวไปฟ้องเรียกเงินกู้อีกทั้งยังได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายมอบให้แก่นายก.ไปก็เป็นการกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยเชื่อด้วยความสุจริตและได้กรอกลงไปตรงตามความเป็นจริงทั้งได้รับความยินยอมจากเจ้าของลายมือชื่อแล้วสัญญากู้ดังกล่าวย่อมไม่เป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้เมื่อไม่ปรากฎพฤติการณ์ร่วมมือกันระหว่างจำเลยกับนายดาบตำรวจป. อันส่อเจตนาเพื่อมิให้กรมตำรวจในฐานะเจ้าหนี้ของนายดาบตำรวจป.ได้รับชำระหนี้แล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: เจ้าหนี้ต้องแจ้งการประเมินให้ผู้รับผิดเสียภาษีทราบก่อน
กรมสรรพากรยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินซึ่งจะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 30 แห่ง ป. รัษฎากร เสียก่อน ดังนั้น แม้ว่าบริษัท ร. ซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนจะไม่ได้อุทธรณ์การประเมินรายนี้โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง และเป็นกรณีซึ่งจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างรายนี้หรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์คดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท ร. ในประเทศไทย ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังโจทก์ผู้ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 , 20 คงประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังผู้จัดการบริษัท ร. เท่านั้น ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วน จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การประเมินภาษีที่ไม่แจ้งผู้รับผิดและขั้นตอนไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์มิใช่ขอให้เพิกถอนการประเมินที่จะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรและกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยเห็นว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่โจทก์ไม่ชำระจำเลยจึงได้ยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามอำนาจแต่โจทก์อ้างว่าไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรรายนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(2)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยนำข้อเท็จจริงจากการสอบถามคู่ความมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังนี้คำสั่งงดสืบพยานในกรณีนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาปรากฎว่าจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ทั้งที่จำเลยมีเวลาโต้แย้งได้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แม้ฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างผู้กระทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในประเทศไทยเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา19,20คงประเมินไปยังผู้จัดการสาขาบริษัทคนใหม่ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา76ทวิวรรคสามกรณียังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วนจำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา12
of 79