พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกันส่วนที่ดินในคดีแพ่งเมื่อคู่ความตาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นกรณีคู่ความมรณะระหว่างพิจารณาจะต้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยเสียก่อน
คู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ซึ่งในชั้นขอกันส่วน คู่ความคือ ผู้ร้องทั้งสองกับโจทก์ผู้ซึ่งยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ส่วนจำเลยทั้งสองนั้นหาได้เป็นคู่ความในชั้นขอกันส่วนไม่ คู่ความคงมีเฉพาะผู้ร้องกับโจทก์เท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายไปก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ก็มิใช่กรณีที่จะต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไป จนกว่าจะมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ซึ่งในชั้นขอกันส่วน คู่ความคือ ผู้ร้องทั้งสองกับโจทก์ผู้ซึ่งยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ส่วนจำเลยทั้งสองนั้นหาได้เป็นคู่ความในชั้นขอกันส่วนไม่ คู่ความคงมีเฉพาะผู้ร้องกับโจทก์เท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายไปก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ก็มิใช่กรณีที่จะต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไป จนกว่าจะมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยอมความได้และการกำหนดโทษในคดีค้ามนุษย์ ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อกำหนดโทษตามกฎหมายที่ยังไม่ระงับ
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก และ พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 อันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน จึงให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก แต่ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้เสียหายทั้งสามต่างยื่นคำร้องว่า แต่ละคนได้รับค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 จนเป็นที่พอใจแล้วจึงไม่ประสงค์จะว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไปซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคท้าย บัญญัติว่า "ความผิดตามวรรคแรกฯ เฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีเป็นความผิดอันยอมความได้" เมื่อผู้เสียหายทั้งสามซึ่งต่างก็มีอายุเกินสิบห้าปีแล้วทั้งสิ้น จึงเท่ากับยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในระหว่างฎีกา สิทธิของโจทก์ในการนำความผิดฐานนี้มาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 มาตรา 5 และ 7 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยศาลล่างทั้งสองต่างมิได้กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ไว้ คดีของจำเลยที่ 1 จึงอาจต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาประเด็นสัญญาและอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ให้สัญญาว่า เมื่อ อ. หรือพี่น้องในตระกูลนำเงิน 127,000 บาท ไปคืนแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จะโอนที่ดินพิพาทและบ้านคืนให้ทันที ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทคืน แต่ตกลงกันในราคาเท่าที่จำเลยที่ 1 มีภาระผูกพันอยู่กับจำเลยที่ 2 และโจทก์วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ 127,000 บาท ส่วนที่เหลือโจทก์จะไปตกลงกับจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ไม่ไปดำเนินการกับจำเลยที่ 2 เอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 รับว่าจะขายที่ดินคืนให้แก่โจทก์แต่ตกลงไว้ในราคาอื่นและจำเลยที่ 1 รับมัดจำไว้แล้ว การตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงย่อมเข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขาย และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทพร้อมบ้านให้แก่โจทก์จึงเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นประเด็นหลัก ส่วนเรื่องที่โจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายระหว่าง อ. จำเลยที่ 1 เป็นประเด็นรอง และการที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 142 เป็นบทบัญญัติในภาค 1 บททั่วไปใช้สำหรับทุกชั้นศาล ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้โดยตรง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่าโจทก์มิได้เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิ ซึ่งไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา โดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และตามปัญหาของจำเลยที่ 1 ว่าสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยต่อไป
ป.วิ.พ. มาตรา 142 เป็นบทบัญญัติในภาค 1 บททั่วไปใช้สำหรับทุกชั้นศาล ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้โดยตรง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่าโจทก์มิได้เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิ ซึ่งไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา โดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และตามปัญหาของจำเลยที่ 1 ว่าสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีภาษีอากรและการย้อนสำนวนเพื่อสืบพยานเพิ่มเติม
คดีนี้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนด ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเนื่องจากติดรังวัดที่ดินซึ่งได้นัดไว้ก่อน สอบโจทก์ไม่ค้าน ย่อมถือว่าทนายจำเลยที่ 2 มีเหตุจำเป็นไม่อาจมาศาลได้ ชอบที่ศาลภาษีอากรกลางจะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดี อีกทั้งจำเลยที่ 2 ยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า จำเลยที่ 1 ส่งออกสินค้านอกราชอาณาจักรจริง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิได้รับโอนบัตรภาษี หากศาลภาษีอากรกลางได้ทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 อาจฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้สำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาออก อันเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจให้งดสืบพยานแล้วมีคำพิพากษาไปเสียทีเดียว จึงยังไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่า จำเลยที่ 1 สำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาออกหรือไม่ คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรชอบที่จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง โดยให้ย้อนสำนวนไปทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานโจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงครบถ้วน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการย้อนสำนวน
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เสียหายเพียงใด โดยโจทก์มีภาระการพิสูจน์ การที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงใดนั้น ต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความซึ่งเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อโจทก์แถลงขอสืบ ส. ทนายโจทก์เป็นพยานปากแรก โดยโจทก์ยืนยันว่า ส. รู้เห็นการประกอบอาชีพของโจทก์ เมื่อยังไม่ได้ฟังคำพยานย่อมไม่อาจทราบได้ว่า ส. เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงหรือไม่ และพยานหลักฐานของโจทก์ที่จะนำสืบในประเด็นข้อนี้มีน้ำหนักมากน้อยเพียงใด ประกอบกับโจทก์ไม่มีพฤติการณ์ประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนสรุปว่า ส. ไม่รู้เห็นข้อเท็จจริงในเรื่องการประกอบอาชีพของโจทก์โดยตรงจึงให้งดสืบพยานโจทก์ปากดังกล่าว คงมีโจทก์อ้างตนเองเป็นพยานเพียงปากเดียว แล้วพิพากษาคดีไปโดยยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2)
แม้โจทก์มีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้บังคับจำเลยชำระเงินตามฟ้อง แต่การที่ศาลอุทธรณ์จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งมีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์
แม้โจทก์มีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้บังคับจำเลยชำระเงินตามฟ้อง แต่การที่ศาลอุทธรณ์จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งมีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8323/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลต้องส่งคำร้องให้ผู้พิพากษาพิจารณาก่อนรับฎีกา และข้อจำกัดในการย้อนสำนวน
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์คนใดคนหนึ่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งคำร้องของจำเลยพร้อมสำนวนไปให้ผู้พิพากษาตามที่จำเลยระบุเพื่อพิจารณาคำร้องของจำเลยจนครบ เว้นแต่จะมีผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงครบทุกประเด็นตามที่จำเลยต้องการแล้ว เมื่อปรากฎว่ามีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาบางประเด็น ไม่อนุญาตบางประเด็น ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยในประเด็นที่มีผู้อนุญาตทันทีโดยไม่ส่งคำร้องของจำเลยพร้อมสำนวนไปให้ผู้พิพากษาคนอื่นตามคำร้องของจำเลยพิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221
ปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกานั้น ต้องเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลล่าง เมื่อปรากฎว่าปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยขอให้รับรองนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นเพราะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนลงไปเพื่อให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาคนอื่นพิจารณาอีก
ปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกานั้น ต้องเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลล่าง เมื่อปรากฎว่าปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยขอให้รับรองนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นเพราะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนลงไปเพื่อให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาคนอื่นพิจารณาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์สรุปข้อเท็จจริงไม่ชอบ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้พิจารณาประเด็นละเมิดและหน่วยงานรัฐต้องรับผิดชอบหรือไม่
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอุทธรณ์ ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรร์ภาค 3 ต้องวินิจฉัยมีว่าเหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ในฐานะหน่วยงานของรัฐต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ด่วนสรุปข้อเท็จจริงโดยฟังเป็นยุติตามศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ฐานโกงเจ้าหนี้: ข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 350 ประกอบมาตรา 83 ศาลชั้นต้นยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายนั้นมีคำพิพากษายกฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองต้องโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้โจทก์ ขณะจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินตามฟ้องให้แก่บุคคลภายนอก จำเลยทั้งสองจึงมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงไม่มีมูล ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันนับแต่ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง และเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงมีหนี้อันสมบูรณ์ที่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อยู่แล้วในขณะที่จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิด การกระทำของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้นั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่าเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวนฯ และการพิจารณาคดีแพ่งที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อสอบคำให้การจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 516,699 บาท แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้สอบคำให้การส่วนแพ่งของจำเลย กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาส่วนแพ่งไปโดยมิชอบ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินการในส่วนนี้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแพ่งและอาญาที่เกี่ยวเนื่องกัน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้พิจารณาคดีแพ่งที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
ตามฟ้องคดีนี้เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องคดีอาญา และศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีเป็นศาลจังหวัด จึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีส่วนอาญาเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ยังคงมีคดีส่วนแพ่งที่ต้องพิจารณาสั่งต่อไปว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดเกี่ยวกับคดีแพ่งดังกล่าว ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 11 ไม่ต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งนั้น ก็เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก้าวล่วงไปวินิจฉัยโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 11 ในคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา กรณีเป็นเรื่องปรากฏเหตุที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247 (เดิม) และ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งต่อไป
การอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลมีปัญหาเฉพาะคดีส่วนอาญาว่ามีมูลที่ศาลจะประทับฟ้องไว้หรือไม่เท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาสำหรับคดีส่วนแพ่ง
การอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลมีปัญหาเฉพาะคดีส่วนอาญาว่ามีมูลที่ศาลจะประทับฟ้องไว้หรือไม่เท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาสำหรับคดีส่วนแพ่ง