คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รถยนต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อรถยนต์ การบอกเลิกสัญญา การชดใช้ค่าขาดประโยชน์ และผลของการเลิกสัญญโดยปริยาย
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฉบับพิพาท ข้อ 11 วรรคหนึ่งระบุว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน เจ้าของจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน หากผู้เช่าไม่ชำระหรือชำระไม่เต็มจำนวนให้ทันงวด ณ วันที่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงทันที" การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยชำระค่างวดที่ค้างเดิม 2 งวด ภายใน 30 วัน มิฉะนั้นให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว จึงนำเงินมาชำระจนครบ 22 งวด การบอกกล่าวจึงไม่มีผลให้สัญญาสิ้นสุดลง คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืนสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร: การพิพากษาค่าเสียหายกรณีถูกชนจากรถยนต์ขณะนั่งริมประตูรถไฟ
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อข้ามทางรถไฟแล้วถูกรถไฟเฉี่ยวชนด้านหน้ารถยนต์เสียหายเล็กน้อย แต่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งห้อยเท้าอยู่ริมประตูตู้ขนสัมภาระถูกรถยนต์ของจำเลยชนขาหักทั้งสองข้าง แม้ในขณะเกิดเหตุขบวนรถไฟจะมีผู้โดยสารแน่จนไม่มีที่นั่ง โจทก์กับผู้โดยสารหลายคนจึงต้องนั่งตรงริมประตูตู้ขนสัมภาระ ยังไม่ถึงกับจะรับฟังได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อซึ่งจะทำให้ค่าเสียหายเป็นพับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนท้ายรถยนต์ แม้มีการประกันภัยแล้ว ผู้เสียหายยังเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ก่อเหตุได้
บริษัทประกันภัยที่โจทก์ที่ 3 เอาประกันภัยไว้จะชดใช้ราคารถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 3 บางส่วน อันเป็นสิทธิของโจทก์ที่ 3 ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาประกันภัยแล้วแต่ถ้าจำนวนเงินที่โจทก์ที่ 3 ได้รับไปนั้นยังไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 3 ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดที่ได้กระทำต่อโจทก์ที่ 3 อยู่ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6487/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอคืนรถยนต์เช่าซื้อ: การใช้สิทธิโดยสุจริตของผู้ให้เช่าซื้อและผลกระทบต่อการรู้เห็นเป็นใจ
ผู้ร้องเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ การให้เช่าซื้อเป็นวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งในหลายข้อของผู้ร้อง ดังนั้น การที่ผู้ร้องให้เช่าซื้อรถยนต์คันของกลางจึงเป็นการประกอบธุรกิจตามวัตถุประสงค์ของผู้ร้อง หาใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องมุ่งประสงค์แต่เพียงผลกำไรจากการขายสินค้าและราคาเช่าซื้อเป็นสำคัญไม่ ที่ผู้ร้องมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อหรือร้องขอคืนรถยนต์ของกลางในชั้นสอบสวนก็ได้ความว่าเมื่อ พ. ผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 4 งวดติดต่อกัน ผู้ร้องได้ให้พนักงานติดตามจึงทราบว่ารถยนต์คันของกลางถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้ที่สถานีตำรวจ ทั้งปรากฏว่าขณะนั้นพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องเป็นคดีแล้ว ที่ผู้ร้องมิได้ร้องขอคืนรถยนต์ของกลางในชั้นสอบสวนจึงมิใช่เป็นข้อพิรุธแต่ประการใด แม้สัญญาเช่าซื้อมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้ออยู่ตลอดไปจนกว่าจะครบและรับผิดชอบบรรดาค่าเสียหายทั้งปวงในการใช้รถยนต์ก็ตาม เมื่อปรากฏว่า พ. ยังจะต้องชำระค่าเช่าซื้ออีกหลายแสนบาท การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางที่แท้จริงยื่นคำร้องขอคืนในคดีนี้ จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ร้องโดยแท้ หาใช่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นหรือพ. ผู้เช่าซื้อไม่ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินหลังหย่า และการลงชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์
โจทก์และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดลง และขาดจากการเป็นสามีภริยาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 โดยมีผลสมบูรณ์เมื่อจดทะเบียนหย่าแล้ว ตามมาตรา1515 และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่งในทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องหรือไม่ และการโอนขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมบ้านระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการแสดงเจตนาลวงหรือไม่เท่านั้น โดยไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง รวมทั้งการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้แบ่งทรัพย์สินขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบ
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้วทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่ร่วมกันและมิได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมและสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากันตามมาตรา 1357
โจทก์ฟ้องขอใส่ชื่อโจทก์ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แม้ใบคู่มือดังกล่าวมิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปี ซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้นก็ตาม แต่ในกรณีที่เจ้าของขายรถยนต์แล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเป็นของผู้ซื้อทันที แม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง บัญญัติว่า ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน ดังนั้นการมีชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์คันที่มีเจ้าของรวมให้ทราบว่าการซื้อรถยนต์คันดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมของเจ้าของรวมทุกคนก่อนเป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของรวมที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการขาย ทำให้เจ้าของรวมที่ไม่ยินยอมและผู้ซื้อได้รับความเสียหายจากการที่ต้องฟ้องและถูกฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย
ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ดังนั้น การลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์นอกจากไม่ขัดต่อกฎหมายแล้ว ยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เมื่อได้ความว่าโจทก์ จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของรวมในรถยนต์คันพิพาท จึงสมควรพิพากษาให้โจทก์ลงชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวได้ตามขอ
การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์นั้น เมื่อปรากฏว่า แต่เดิมสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 โดยอาศัยสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวม และไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิการเป็นเจ้าของรวม ประกอบกับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของรวมจำต้องครอบครองทรัพย์สินที่ตนมีกรรมสิทธิ์รวมโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5420/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์โดยผ่านสิ่งกีดกั้น: การเปิดประตูรถยนต์ที่ล็อกไว้ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเปิดประตูรถยนต์ซึ่งล็อกไว้ แล้วเข้าไปลักวิทยุเทปที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์เป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปลักทรัพย์ เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 335 (3) วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5420/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์ในรถยนต์ที่ล็อคอยู่: การผ่านสิ่งกีดขวางเพื่อลักทรัพย์ และการพิจารณาโทษที่เหมาะสม
จำเลยเปิดประตูรถยนต์ซึ่งล็อกไว้ แล้วเข้าไปลักวิทยุเทปที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์เป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปลักทรัพย์ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ และขอบเขตการรับผิดต่อโจทก์แต่ละราย
จำเลยร่วมที่ 2 ถูกเรียกให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันพิพาท ซึ่งมีความรับผิดแตกต่างกับความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่จะต้องรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง ดังนี้ มูลความแห่งคดีจึงเป็นกรณีที่มิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้หรือมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ดั่งนั้นโดยชัดแจ้ง อีกทั้งคดีนี้มีโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ส่วนการที่ศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันนั้นก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกเท่านั้น จึงมิได้เป็นเหตุที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมูลความแห่งคดีเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่แบ่งแยกจากกันได้หรือไม่แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 คงต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวกรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 ได้กระทำการแทนโจทก์อื่นด้วย โจทก์ที่ 4 ได้ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2เข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในคดีและได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนในรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ที่ 4 และโจทก์อื่นด้วยอีกทั้งยังมีการแถลงรับในชั้นสืบพยานของศาลชั้นต้นอีกว่าจำเลยร่วมที่ 2 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยคนละไม่เกิน 50,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์อื่นอีกด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการหยิบยกปัญหาเรื่องการขอหมายเรียกของโจทก์ที่ 4 ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2รับผิดเฉพาะต่อโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อื่นด้วยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของโรงแรมต่อการสูญหายของรถยนต์ของผู้เข้าพัก และขอบเขตการยกเว้นความรับผิด
น. นำรถยนต์มาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลย และรถยนต์ได้หายไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 674 แม้ น. จะมิได้แจ้งให้พนักงานของจำเลยทราบว่าได้นำรถยนต์มาจอดไว้ก็ตาม แต่เมื่อ น. ทราบแน่ชัดว่ารถยนต์หายไปก็ได้แจ้งแก่ ว. ผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบในทันที ทั้ง น. ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนถือได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุแก่จำเลยผู้เป็นเจ้าสำนักโรงแรมทราบทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 676 แล้ว ส่วนที่ใบกรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ของผู้เข้าพักโรงแรมจำเลย ในตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ไว้ว่า "โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สิน สิ่งมีค่าหรือธนบัตรซึ่งอาจเกิดสูญหาย..." อันเป็นการยกเว้นความรับผิดของจำเลย และเป็นเอกสารที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว ไม่ปรากฏว่า น. ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าว ข้อความเช่นนี้จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 677 จำเลยจึงยังคงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยแล้วย่อมได้รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าตามราคาตลาดรถยนต์และการขยายเวลาการประเมินเกินกำหนด
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 77 และมาตรา 79 (8) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 6 และมาตรา 11 นั้น มูลค่าของรถยนต์อันจักถือเป็นรายรับเพื่อคำนวณภาษีการค้า คือราคาตลาดรถยนต์ที่ซื้อขายกันเป็นเงินสดอันผู้ขายปลีกได้ตั้งไว้โดยสุจริตและเปิดเผย
เมื่อราคารถยนต์ที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานประเมินมิใช่มูลค่าของสินค้าตามความหมายของ ป. รัษฎากร มาตรา 77 และมาตรา 79 (8) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องแล้ว โจทก์จึงยื่นแบบแสดงรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2529 และระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2530 ขาดไปเป็นจำนวนเกินร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าซึ่งเป็นกรณีที่การประเมินสามารถกระทำได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่น แบบแสดงรายการการค้า ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท การที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้า รวมทั้งเป็นเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535 จึงยังไม่พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
of 59