พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกษียณอายุตามระเบียบบริษัท: การใช้สิทธิขอปลดเกษียณก่อนกำหนดไม่ใช่การลาออกแต่เป็นการเลิกจ้าง
คู่มือพนักงาน ฯ หมวดที่ 5 ข้อ 5.3 การครบเกษียณอายุ ตามข้อ 5.3.1 นั้น ปกติพนักงานชายจะเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์ แต่มีข้อยกเว้นตามข้อ 5.3.3 ว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานชายที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ละฝ่ายอาจขอให้รับการปลดเกษียณก่อนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็ได้ ซึ่งหากจำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานผู้เป็นลูกจ้างขอให้รับการปลดเกษียณก่อนดังกล่าวแล้ว ย่อมมีผลเป็นการปลดเกษียณโดยได้รับเงินบำเหน็จด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนการลาออกตามข้อ 5.2 นั้น เป็นเรื่องที่ลูกจ้างขอเลิกสัญญาจ้างแรงงานกรณีที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิขอให้ได้รับการปลดเกษียณตามข้อ 5.3.3 หรือมีสิทธิตามข้อ 5.3.3 แต่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะให้ได้รับสิทธิเช่นนั้นเท่านั้นโจทก์มีหนังสือแจ้งแก่จำเลยว่า โจทก์ขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนด ขอได้พิจารณาอนุมัติตามระเบียบต่อไป จึงเป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนดตามข้อ 5.3.3 แม้โจทก์จะอ้างว่า โจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ไว้ด้วย ก็เป็นเพียงเหตุที่โจทก์ไม่ประสงค์จะปฏิบัติงานจนมีอายุครบ 60 บริบูรณ์ จึงขอใช้สิทธิตามข้อ 5.3.3 เท่านั้น รูปเรื่องจึงมิใช่ขอลาออกตามข้อ 5.2 แต่เป็นเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุแล้ว จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากจดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง หากไม่กระทบต่อการทำงานและชื่อเสียงนายจ้าง
กรณีใดจะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) หรือไม่ ต้องพิจารณาตามข้อ 47 (3) นั้นเอง มิใช่ว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าการกระทำใด ๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จะต้องถือว่าการกระทำนั้น ๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรงตามข้อ 47(3) เป็นการเด็ดขาดไปเลยไม่ การจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์หาได้ส่งผลไปถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิในทางดีหรือไม่ดีประการใดแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ ทั้งไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ในระหว่างหมู่คณะของลูกจ้าง ไม่เป็นเหตุให้ขาดความสามัคคี ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน จนทำให้การทำงานไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น แม้คำสั่งเลิกจ้างจะได้ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย ก็หาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(3) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อสิ่งของสูญหาย: ข้อจำกัดความรับผิดตามระเบียบและข้อยกเว้น
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหาย ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ ดังนี้ เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิม ส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้น และต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์ มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 ไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141
จำเลยที่ 2 มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 48 ตามที่จำเลยที่1 กำหนดให้ส่ง ทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใด ถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่ 2 รับไป จำเลยที่ 2 ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหาย จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์ มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 ไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141
จำเลยที่ 2 มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 48 ตามที่จำเลยที่1 กำหนดให้ส่ง ทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใด ถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่ 2 รับไป จำเลยที่ 2 ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหาย จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หากนายจ้างไม่เคร่งครัด ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้พนักงานซึ่งไม่มาทำงานหรือเจ็บป่วยไม่สามารถมาทำงานได้ จะต้องยื่นใบลาก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กรณีโจทก์เจ็บป่วยหรือไม่มาทำงานโจทก์ก็เพียงแต่ขอลาด้วยวาจาต่อหัวหน้าและจัดหา คนมาทำงานแทนก็เป็นอันใช้ได้ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือ เคร่งครัดตามระเบียบข้อบังคับ การที่โจทก์ไม่มาทำงานเป็น เวลา 3 วันติดต่อกัน แต่ขอลาด้วยวาจาและจัดหาคนมาทำงานแทน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117-2124/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่ใช่ส่วนราชการ การจ่ายเงินตามระเบียบไม่เป็นการละเมิด
โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เป็นส่วนราชการของกรมการปกครองโจทก์มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดกรมโจทก์ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นกรรมการดำเนินงานของโรงพิมพ์ อันเป็นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนมีอำนาจจัดการโรงพิมพ์แทนเจ้าของกิจการซึ่งเป็นตัวการ การที่จำเลยร่วมกันอนุมัติจ่ายเงินผลกำไรสุทธิและเงินกำไรสะสมของโรงพิมพ์ให้แก่ตนเองและผู้อื่นเป็นไปตามระเบียบของโรงพิมพ์ซึ่งโจทก์ยินยอมให้ถือปฏิบัติย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนตามที่ได้รับมอบหมายโดยชอบถึงหากจะฟังว่าโรงพิมพ์ เครื่องพิมพ์ และทรัพย์สินของ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นของโจทก์ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะฟ้องให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่โจทก์หาได้ไม่ และเนื่องจากคำพิพากษาเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 ประกอบด้วย มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421-422/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายบำเหน็จและค่าชดเชยของรัฐวิสาหกิจ การออกข้อบังคับใหม่ทำให้ระเบียบเดิมสิ้นผล
การที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จำเลยออกคำสั่งให้นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ของทางราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมย่อมทำได้ เมื่อจำเลยได้ตราข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฉบับที่ 10 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ขึ้นมาใช้บังคับ ซึ่งมีคำจำกัดความ วิธีจัดตั้งกองทุนบำเหน็จหลักเกณฑ์การจ่ายบำเหน็จ วิธีการควบคุมรายรับ รายจ่าย ของกองทุนบำเหน็จทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ใช้ระเบียบการจ่ายบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 อีกต่อไปแล้ว หากแต่ใช้ข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฉบับที่10 ถือปฏิบัติต่อไป ที่มาแห่งการตั้งกองทุนบำเหน็จเป็นคนละเรื่องกับที่มาแห่งค่าชดเชยหลักเกณฑ์การจ่ายบำเหน็จก็แตกต่างจากการจ่ายค่าชดเชย ถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากจำเลยเป็นค่าชดเชย จำเลยจึงต้องมีหน้าที่จ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำโดยเฉพาะ และต้องมีข้อบังคับ/ระเบียบเป็นหลักฐาน
เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ของนายจ้างเป็นอย่างไร การจะปรับว่าการกระทำของลูกจ้าง เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีร้ายแรงย่อมปรับไม่ได้ ดังนั้นการที่ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานขับรถให้พนักงานยกของเฝ้ารถไว้แล้วโทรศัพท์บอกนายจ้างว่าตนจะไม่นำรถกลับเพราะทางราชการห้ามมิให้รถบรรทุกวิ่งในช่วงเวลานั้น เป็นเหตุผลอันสมควรสำหรับลูกจ้างจะถือว่าการละทิ้งรถ ในลักษณะนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรงยังไม่ได้
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น จักต้องพิจารณาจากการกระทำนั้น โดยเฉพาะ จะนำเอาความผิดครั้งก่อนๆมาพิจารณาประกอบแล้วถือว่าการกระทำครั้งหลังเป็นกรณีที่ร้ายแรงหาชอบไม่
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น จักต้องพิจารณาจากการกระทำนั้น โดยเฉพาะ จะนำเอาความผิดครั้งก่อนๆมาพิจารณาประกอบแล้วถือว่าการกระทำครั้งหลังเป็นกรณีที่ร้ายแรงหาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามกฎหมาย ลูกจ้างใช้แทนวันลาป่วยได้ แม้ระเบียบจำเลยจะจำกัด
เมื่อสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างมิได้หมายถึงแต่เฉพาะสิทธิหยุดพักผ่อนฯ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของนายจ้างเท่านั้น จึงย่อมหมายถึงสิทธิในการหยุดพักผ่อนฯ ตามกฎหมายด้วยดังนั้น การที่ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนฯตามกฎหมาย 6 วัน และขอใช้สิทธิหยุดพักผ่อน ฯ แทนวันลาป่วย ตามที่ระเบียบของนายจ้างเปิดโอกาสให้ทำได้นายจ้างจะอ้างว่าสิทธิหยุดพักผ่อนฯ ของลูกจ้างเกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาและไม่อนุญาตให้ลูกจ้างใช้สิทธินั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามกฎหมายและระเบียบ นายจ้างไม่อาจอ้างปฏิเสธการใช้สิทธิโดยอ้างผลคำพิพากษา
เมื่อสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างมิได้หมายถึงแต่เฉพาะสิทธิหยุดพักผ่อนฯ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของนายจ้าง เท่านั้น จึงย่อมหมายถึงสิทธิในการหยุดพักผ่อนฯ ตามกฎหมายด้วยดังนั้น การที่ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนฯตามกฎหมาย 6 วัน และขอใช้สิทธิหยุดพักผ่อนฯ แทนวันลาป่วยตามที่ระเบียบของนายจ้างเปิดโอกาสให้ทำได้นายจ้างจะอ้างว่าสิทธิหยุดพักผ่อนฯ ของลูกจ้างเกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาและไม่อนุญาตให้ลูกจ้างใช้สิทธินั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดเกษียณและการเลิกจ้าง: การเขียนใบลาออกเพื่อปฏิบัติตามระเบียบมิใช่การลาออกแต่เป็นการเลิกจ้าง จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและทำงานมาครบ 30 ปี ซึ่งตามระเบียบของจำเลยจะต้องถูกปลดเกษียณและทางปฏิบัติต้อง เขียนใบลาออกด้วย ดังนี้ การที่โจทก์เขียนใบลาออกในวันปลดเกษียณจึงเป็นเพียงกระทำให้สอดคล้องกับทางปฏิบัติของจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นการลาออก แต่เป็นการออกจากงานเพราะเกษียณอายุซึ่งเป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์