คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐวิสาหกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191-3293/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ถูกยุบเลิก ต้องจ่ายค่าชดเชยและบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายแรงงาน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 การที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ.2520 พ.ศ. 2528 ใช้บังคับมีผลเพียงทำให้จำเลยต้องเลิกกิจการเพื่อสะสางกิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลต่อไปเท่านั้น หามีผลทำให้ลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปในตัวไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างลูกจ้างจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยโดยจำเลยออกคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นรายเดือน แต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจึงไม่ถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันมาเกิน 120 วัน ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ จำเลยถูกยุบเลิกอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191-3293/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ถูกยุบเลิก ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แม้จะบรรจุรายเดือน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520การที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520พ.ศ.2528ใช้บังคับมีผลเพียงทำให้จำเลยต้องเลิกกิจการเพื่อสะสางกิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลต่อไปเท่านั้นหามีผลทำให้ลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปในตัวไม่การที่จำเลยจะเลิกจ้างลูกจ้างจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยโดยจำเลยออกคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นรายเดือนแต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจึงไม่ถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันมาเกิน120วันย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำจำเลยถูกยุบเลิกอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากอายุเกินคุณสมบัติ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยก่อนจำเลยเปลี่ยนฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจแล้วพนักงานของจำเลยได้เปลี่ยนฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องอยู่ในบังคับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 โจทก์มีอายุเกิน60 ปีบริบูรณ์ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 9(2) และต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 11แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุตามกฎหมาย มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจว่าต้องมีอายุไม่เกิน60 ปีบริบูรณ์นั้นเป็นบทกฎหมายที่กำหนดคุณสมบัติไว้โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำมาตรา 582แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับการเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุไม่ได้เมื่อโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติโดยครบเกษียณอายุจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421-422/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จและค่าชดเชยของรัฐวิสาหกิจ การออกข้อบังคับใหม่ทำให้ระเบียบเดิมสิ้นผล
การที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จำเลยออกคำสั่งให้นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ของทางราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมย่อมทำได้ เมื่อจำเลยได้ตราข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฉบับที่ 10 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ขึ้นมาใช้บังคับ ซึ่งมีคำจำกัดความ วิธีจัดตั้งกองทุนบำเหน็จหลักเกณฑ์การจ่ายบำเหน็จ วิธีการควบคุมรายรับ รายจ่าย ของกองทุนบำเหน็จทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ใช้ระเบียบการจ่ายบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 อีกต่อไปแล้ว หากแต่ใช้ข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฉบับที่10 ถือปฏิบัติต่อไป ที่มาแห่งการตั้งกองทุนบำเหน็จเป็นคนละเรื่องกับที่มาแห่งค่าชดเชยหลักเกณฑ์การจ่ายบำเหน็จก็แตกต่างจากการจ่ายค่าชดเชย ถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากจำเลยเป็นค่าชดเชย จำเลยจึงต้องมีหน้าที่จ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติ การจ่ายบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯมาตรา 9, 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น แต่มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว การจ้างเป็นอันระงับไปในตัวทันที หากจักต้องจัดการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
บำเหน็จเป็นเงินซึ่งมีลักษณะเป็นการตอบแทนที่พนักงานหรือลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดมาจนถึงวันที่ต้องพ้นจากตำแหน่งไป ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้าง ดังนั้น แม้จำเลยจ่ายบำเหน็จโดยมีวิธีคำนวณเหมือนค่าชดเชย และกำหนดให้ถือว่าเป็นค่าชดเชย ก็หามีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุการทำงานต่อเนื่องกรณีโอนพนักงานจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การนับอายุงานต้องต่อเนื่อง แม้ข้อบังคับจำกัดสิทธิ
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ต่อมามี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ให้โอนโจทก์มาเป็นลูกจ้าง ของการเคหะแห่งชาติจำเลย การโอนเช่นนี้ฐานะความเป็น ลูกจ้างของโจทก์ยังคงมีอยู่ มิได้สิ้นสุดลงเช่นการ เลิกจ้าง เมื่อมิได้ตกลงกันไว้ เป็นอย่างอื่น การนับอายุ การทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกันตั้งแต่โจทก์เข้า ทำงานกับธนาคาร ข้อบังคับของจำเลยซึ่งให้นับอายุการทำงาน ตั้งแต่เมื่อเริ่มเข้าทำงานกับจำเลย ต้องใช้บังคับเฉพาะพนักงานหรือลูกจ้างที่สมัครเข้าทำงานใหม่เท่านั้น มิใช่ ถูกโอนมาเช่นกรณีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะรัฐมนตรีเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง รัฐวิสาหกิจต้องปฏิบัติตาม โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานได้
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีลงมติสั่งให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าครองชีพแก่พนักงาน จึงมีผลให้จำเลยต้องยอมรับและปฏิบัติตาม ดังนั้นการที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าครองชีพแก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอันเป็นการฝ่าฝืนมติดังกล่าวและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่าย จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 8 (1) โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะรัฐมนตรีเป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาคดีได้
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีลงมติสั่งให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าครองชีพแก่พนักงาน จึงมีผลให้จำเลยต้องยอมรับและปฏิบัติตาม ดังนั้นการที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าครองชีพแก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอันเป็นการฝ่าฝืนมติดังกล่าวและโจทก์ ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่าย จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8(1) โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินกองทุนสงเคราะห์ทดแทนของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ไม่ถือเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการโดยคณะกรรมการเป็นอิสระ เงินเดือนและเงินอื่น ๆ ของลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับจากงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย มิใช่จากเงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงมิใช่เป็นลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2)
เมื่อจำเลยไม่ใช่ลูกจ้างของรัฐบาลสิทธิเรียกร้องของจำเลยอันมีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยในอันที่จะได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์ทดแทน จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างรัฐวิสาหกิจกับการบังคับคดีสิทธิเรียกร้องเงินกองทุนสงเคราะห์
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการโดยคณะกรรมการเป็นอิสระ เงินเดือนและเงินอื่นๆ ของลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับจากงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย มิใช่จากเงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงมิใช่เป็นลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา286(2) เมื่อจำเลยไม่ใช่ลูกจ้างของรัฐบาลสิทธิเรียกร้องของจำเลยอันมีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยในอันที่จะได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์ทดแทน จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3)
of 18