พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาสินค้าคงเหลือต่ำกว่าทุนตามราคาตลาด และการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์ตีราคาสินค้าคงเหลือที่ซื้อมาเกิน 3 ปี ให้ต่ำกว่าทุนโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 15 ของราคาทุน แล้วคำนวณกำไรสุทธิโดยถือราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดซึ่งน้อยกว่าราคาทุนในรอบระยะเวลาบัญชีของปีนั้น ซึ่งราคาสินค้าคงเหลือนี้เป็นราคาที่บริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย เคยรับซื้อคืนจากตัวแทนจำหน่ายเป็นการกำหนดราคาจากวิธีคำนวณตามวิชาสถิติการจำหน่าย มิใช่หลักเกณฑ์ที่โจทก์กำหนดเองต้องตามเงื่อนไขในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(6) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การขายทอดตลาดทรัพย์สิน การพิสูจน์ราคาตลาด และการเพิกถอนการขาย
การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทนี้ได้ราคาสูงสุด 1,240,000 บาทซึ่งสูงกว่าวงเงินจำนองถึงเท่าตัว เพียงแต่ค่าอุปกรณ์คือดอกเบี้ยค้างส่งถึง 5 ปี จึงทำให้ขายได้สูงกว่าวงเงินจำนองพร้อมค่าอุปกรณ์เพียงเล็กน้อย ที่จำเลยอ้างว่าหากขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทรวมกับทรัพย์สินอื่นของจำเลยจะได้ราคารวมกันถึง5,000,000 บาท นั้น ก็ได้ความจากคำเบิกความของพยานจำเลยว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาเสนอขาย แต่เมื่อต่อรองแล้วจำเลยว่ามีผู้มาเสนอซื้อ 3,300,000 บาทดังนั้น ที่จำเลยอ้างว่าทรัพย์พิพาทและทรัพย์สินอื่นของจำเลยมีราคาจริงถึง5,000,000 บาท จึงรับฟังไม่ได้ ส่วนทรัพย์พิพาทจะมีราคาในท้องตลาดเท่าใดจำเลยก็หาได้นำสืบไม่เพียงแต่จำเลยอ้างว่าหากขายได้ต่ำกว่า 2,000,000 บาทจะคัดค้านตลอดไป ตามข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีไม่เพียงพอให้ฟังได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รวบรัดการขายหรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือกระทำการไม่สุจริตหรือกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ และทำการขายทอดตลาดทรัพย์ใหม่ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าที่ไม่เป็นราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินราคาใหม่ได้
ราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาที่ผู้ขายได้ให้ส่วนลดแก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ขายจัดทำกันขึ้นเอง จะถือว่าเป็นราคาที่แท้จริงในท้องตลาดไม่ได้ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการของสินค้าออกไป โจทก์ได้ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนอะไรไปบ้าง จึงยังฟังไม่ได้ว่ามีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการออกไปจริง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายให้ส่วนลดพิเศษแล้วโจทก์ก็ยังขาดทุน เห็นว่า แม้โจทก์จะขายสินค้าพิพาทไปไม่มีกำไรแต่หากโจทก์ไม่ส่งเข้ามาจำหน่ายจะถูกแย่งตลาดไปแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องนำสินค้าพิพาทเข้ามาขายในราชอาณาจักรแม้จะได้กำไรน้อยหรือไม่ได้กำไรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการขายทอดตลาดต้องมีเหตุฝ่าฝืนกฎหมาย การขายราคาต่ำกว่าราคาตลาดไม่ใช่เหตุ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองการที่จะขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดได้ก็ต่อเมื่อปรากฏ ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อตามคำร้องของจำเลยที่ 4 อ้างเหตุแต่เพียงว่าขายได้ราคาต่ำไปจึงไม่เข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่อาจจะขอให้ยกเลิกการขายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ศาลยืนราคาตลาดตามการซื้อขายที่ดินแปลงใกล้เคียง แม้ผู้ซื้อมีวัตถุประสงค์จัดสรร
ที่ดินแปลงที่จำเลยอ้างว่าจะนำมาเปรียบเทียบกับราคาที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนของโจทก์ไม่ได้นั้นไม่มีอาณาเขตด้านใดติดทางสาธารณะแต่อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนเรื่องที่ผู้ซื้อที่ดินแปลงนั้นจะซื้อไปเพื่อจัดสรรหรือไม่อย่างใดนั้นไม่ใช่ข้ออ้างที่จะยกขึ้นอ้างว่าราคาที่ซื้อขายกันจะต้องสูงกว่าราคาท้องตลาด เพราะผู้ซื้อซื้อที่ดินไปเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็เป็นเรื่องของผู้ซื้อเอง เมื่อปรากฏว่าวันที่ 28 เมษายน 2523 มีการจดทะเบียนขายที่ดินแปลงที่จำเลยอ้างราคาตารางวาละ 900 บาท วันที่ 25กรกฎาคม 2523 มีการจดทะเบียนขายที่ดินใกล้เคียงกันราคาตารางวาละ849 บาท ทั้งตามสำเนาบันทึกการประชุมของคณะกรรมการปรองดองฯของจำเลยก็ยอมรับว่าการซื้อขายที่ดินบริเวณนี้น่าจะมีแนวโน้มของราคาตลาดค่อนข้างสูง ราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในราคาที่ใกล้เคียงกันราคาซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยอ้างเฉลี่ยตารางวาละ 900บาท จึงเป็นราคาที่ซื้อขายในท้องตลาด ดังนั้นที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกันน่าจะมีราคาใกล้เคียงกัน ดังนั้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2523อันเป็นวันที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษฯ มีผลใช้บังคับ ที่ดินของโจทก์มีราคาซื้อขายในท้องตลาดตารางวาละ 900 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนตามราคาตลาดในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ มิใช่ราคาปัจจุบัน
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดสายสันทราย-พร้าว พ.ศ. 2513 ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 87 กำหนดให้นำบทบัญญัติในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงมาใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังดำเนินอยู่ในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับด้วย การกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงต้องเป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 76 ค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์จึงต้องกำหนดเท่ากับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดสายสันทราย-พร้าว พ.ศ. 2513 ใช้บังคับคือ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2513 หาใช่ราคาปัจจุบันของที่ดินในขณะฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาขายสินค้าที่ไม่มีราคาตลาด: ตะกรันที่มีสารเจือปน และการเทียบเคียงราคาต่างประเทศ
ของที่โจทก์ขายคือตะกรัน ซึ่งมีสารแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์เจือปนอยู่ และของชนิดนี้ไม่เคยมีใครทำการซื้อขายกันมาก่อน คงมีแต่โจทก์เป็นผู้ขายรายเดียว ในการกำหนดราคาขายของดังกล่าวนั้น เป็นไปตามเงื่อนไขที่ปรากฏในสัญญาซื้อขาย ซึ่งจำเลยอ้างว่าราคาที่กำหนดตามเงื่อนไขในเอกสารดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และผู้ซื้อเป็นบริษัทที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัทผู้ซื้อสินค้าจากบริษัทโจทก์ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ ดังนั้นข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์กำหนดราคาตามสัญญาซื้อขายต่ำตามที่อ้างข้างต้นจึงรับฟังไม่ได้ จึงนำเหตุนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าราคาที่โจทก์ขายนั้น ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) ไม่ได้ และของที่โจทก์ขายนั้นไม่มีการซื้อขายกันมาก่อนทั้งไม่มีผู้ขายรายอื่นได้ทำการขายของตามที่โจทก์ขาย กรณีจึงไม่มีราคาของที่มีการขายจริงที่จำเลยจะนำมาพิจารณาเพื่อให้เห็นว่าราคาที่โจทก์ขายนั้นต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ส่วนที่จำเลยคิดคำนวณราคาของที่โจทก์ขายโดยยึดถือเอาราคาจากตารางราคาในหนังสือ เมตัลบุลเลทิน ข่าวเหล็กกล้าและโลหะของโลก อันเป็นราคาต่างประเทศที่ตลาดลอนดอน นั้น ราคาที่กำหนดในหนังสือดังกล่าวนั้นเป็นการคำนวณราคาปริมาณเนื้อแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์ในเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกันกับของที่โจทก์ขาย จำเลยจะใช้วิธีการคำนวณโดยหักค่ากรรมวิธีที่จะให้ได้เปอร์เซนต์ของแร่ดังกล่าวเท่ากันและหักค่าขนส่ง ค่าประกันภัยแล้วมาคิดเทียบเคียงกับของที่โจทก์ส่งไปขายนั้น กรรมวิธีในการผลิตที่จะเปลี่ยนสภาพเปอร์เซ็นต์ของเนื้อแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์ ให้ได้เปอร์เซ็นต์ตามที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าสามารถทำได้ในประเทศไทยในขณะที่เกิดกรณีพิพาท จึงไม่อาจจะทราบได้เลยว่า ค่ากรรมวิธีในการผลิตดังกล่าวนี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าใด การที่จำเลยนำเอาค่ากรรมวิธีในการผลิตมาหาราคาเทียบเคียงกับของที่โจทก์ส่งออกจึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานของจำเลยกำหนดขึ้นมาเอง โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยจะมีความรู้ความสามารถหรือเข้าใจกรรมวิธีในการผลิตว่าจะต้องมีวิธีการที่ซับซ้อนเพียงใด ต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องใช้เทคนิคสูงเพียงใด แล้วเจ้าพนักงานของจำเลยจะรู้ได้อย่างไรว่า ค่ากรรมวิธีในการผลิตนั้นจะเป็นเท่าใด อันจะทำให้สามารถหาราคาที่เทียบเคียงกันได้ ทั้งราคาที่จะนำมาคำนวณเทียบเคียงตามหนังสือดังกล่าวก็มิใช่ราคาในประเทศไทยที่โจทก์ส่งของออก แต่เป็นราคาที่กำหนดซื้อขายกันในตลาดโลกที่ตลาดลอนดอน ประเทศอังกฤษ หลักเกณฑ์ที่จำเลยนำมาเพื่อหาราคาตลาดของของที่โจทก์ขายไปจึงนำมาใช้กับกรณีของโจทก์ไม่ได้ เพราะมิใช่ราคาของชนิดเดียวกัน ณ ที่ส่งของออก จึงไม่มีกรณีที่ทำให้เห็นว่าราคาที่โจทก์ตกลงซื้อขายไปนั้นมิใช่ราคาตลาด และในการที่โจทก์ขายของชนิดนี้ โดยการส่งไปขายนอกราชอาณาจักรนั้น เจ้าพนักงานผู้ตรวจปล่อยสินค้าก็ไม่ได้แจ้งว่าราคาว่าต่ำไปแต่ประการใด ทั้งในการกำหนดราคาขายของโจทก์เพื่อเปรียบเทียบกับราคาของที่กรมทรัพยากรธรณีประกาศสำหรับเสียค่าภาคหลวง ราคาที่โจทก์ขายก็สูงกว่าราคาตลาดตามประกาศของทรัพยากรธรณีตหลายเท่า เชื่อได้ว่าราคาที่โจทก์ขายนั้นเป็นราคาในท้องตลาดมิใช่ราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ส่วนราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดขึ้นนั้นไม่อาจฟังได้ว่าเป็นราคาตลาดของของที่โจทก์ขายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่มิชอบ กรณีราคาซื้อขายสินค้าไม่มีราคาตลาดเปรียบเทียบ และเจ้าพนักงานประเมินใช้วิธีการคำนวณราคาที่ไม่ถูกต้อง
ของที่โจทก์ขายคือตะกรันซึ่งมีสารแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์เจือปนอยู่ และของชนิดนี้ไม่เคยมีใครทำการซื้อขายกันมาก่อนคงมีแต่โจทก์เป็นผู้ขายรายเดียว ในการกำหนดราคาขายของดังกล่าวนั้น เป็นไปตามเงื่อนไขที่ปรากฏในสัญญาซื้อขายซึ่งจำเลยอ้างว่าราคาที่กำหนดตามเงื่อนไขในเอกสารดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และผู้ซื้อเป็นบริษัทที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าบริษัทผู้ซื้อสินค้าจากบริษัทโจทก์ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ ดังนั้นข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์กำหนดราคาตามสัญญาซื้อขายต่ำตามที่อ้างข้างต้นจึงฟังไม่ได้ จึงนำเหตุนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าราคาที่โจทก์ขายนั้น ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ไม่ได้ และของที่โจทก์ขายนั้นไม่มีการซื้อขายกันมาก่อนทั้งไม่มีผู้ขายรายอื่นได้ทำการขายของตามที่โจทก์ขาย กรณีจึงไม่มีราคาของที่มีการขายจริงที่จำเลยจะนำมาพิจารณาเพื่อให้เห็นว่าราคาที่โจทก์ขายนั้นต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ส่วนที่จำเลยคิดคำนวณราคาของที่โจทก์ขายโดยยึดถือเอาราคาจากตารางราคาในหนังสือเมตัลบุลเลทิน ข่าวเหล็กกล้า และโลหะของโลก อันเป็นราคาต่างประเทศที่ตลาดลอนดอน นั้น ราคาที่กำหนดในหนังสือดังกล่าวนั้นเป็นการคำนวณราคาปริมาณเนื้อแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์ในเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกันกับของที่โจทก์ขาย จำเลยจะใช้วิธีการคำนวณโดยหักค่ากรรมวิธีที่จะให้ได้เปอร์เซ็นต์ของแร่ดังกล่าวเท่ากันและหักค่าขนส่ง ค่าประกันภัยแล้วมาคิดเทียบเคียงกับของที่โจทก์ส่งไปขายนั้น กรรมวิธีในการผลิตที่จะเปลี่ยนสภาพเปอร์เซ็นต์ของเนื้อแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์ให้ได้เปอร์เซ็นต์ตามที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าสามารถทำได้ในประเทศไทยในขณะที่เกิดกรณีพิพาทจึงไม่อาจจะทราบได้เลยว่า ค่ากรรมวิธีในการผลิตดังกล่าวนี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าใด การที่จำเลยนำเอาค่ากรรมวิธีในการผลิตมาหาราคาเทียบเคียงกับของที่โจทก์ส่งออกจึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานของจำเลยกำหนดขึ้นมาเองโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยจะมีความรู้ความสามารถหรือเข้าใจกรรมวิธีในการผลิตว่าจะต้องมีวิธีการที่ซับซ้อนเพียงใด ต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องใช้เทคนิค สูงเพียงใด แล้วเจ้าพนักงานของจำเลยจะรู้ได้อย่างไรว่า ค่ากรรมวิธีในการผลิตนั้นจะเป็นเท่าใด อันจะทำให้สามารถ หาราคาที่เทียบเคียงกันได้ ทั้งราคาที่จะนำมาคำนวณเทียบเคียงตามหนังสือดังกล่าวก็มิใช่ราคาในประเทศไทยที่โจทก์ส่งออกแต่เป็นราคาที่กำหนดซื้อขายกันในตลาดโลกที่ตลาดลอนดอนประเทศอังกฤษ หลักเกณฑ์ที่จำเลยนำมาเพื่อหาราคาตลาดของของที่โจทก์ขายไปจึงนำมาใช้กับกรณีของโจทก์ไม่ได้ เพราะมิใช่ราคาของชนิดเดียวกัน ณ ที่ส่งของออก จึงไม่มีกรณี ที่ทำให้เห็นว่าราคาที่โจทก์ตกลงซื้อขายไปนั้นมิใช่ราคาตลาด และในการที่โจทก์ขายของชนิดนี้ โดยการส่งไปขายนอกราชอาณาจักรนั้น เจ้าพนักงานผู้ตรวจปล่อยสินค้าก็ไม่ได้แจ้งว่าราคาว่าต่ำไปแต่ประการใด ทั้งในการกำหนดราคาขายของโจทก์เพื่อเปรียบเทียบกับราคาของที่กรมทรัพยากรธรณีประกาศสำหรับเสียค่าภาคหลวง ราคาที่โจทก์ขายก็สูงกว่าราคาตลาดตามประกาศของทรัพยากรธรณีหลายเท่า เชื่อได้ว่าราคาที่โจทก์ขายนั้นเป็นราคาในท้องตลาดมิใช่ราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ส่วนราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดขึ้นนั้นไม่อาจฟังได้ว่าเป็นราคาตลาดของของที่โจทก์ขายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนตามราคาตลาด และเขตอำนาจศาลที่ถูกต้อง
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษ มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23 วรรคท้าย ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง บัญญัติไว้ในข้อ 76 ว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้วให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้(1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ฯลฯ" จำเลยจะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่านี้โดยถือตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินหาได้ไม่
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยเป็นคดีนี้ มีมูลเหตุมาจากที่ดินโจทก์ถูกเวนคืน มูลคดีจึงเกิดขึ้นที่ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ การที่ศาลแพ่งธนบุรีซึ่งที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ในเขตศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีได้นั้นชอบแล้ว
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยเป็นคดีนี้ มีมูลเหตุมาจากที่ดินโจทก์ถูกเวนคืน มูลคดีจึงเกิดขึ้นที่ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ การที่ศาลแพ่งธนบุรีซึ่งที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ในเขตศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีได้นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินตามราคาตลาด และเขตอำนาจศาลที่ถูกต้อง
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษ มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23วรรคท้าย ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515 เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง บัญญัติไว้ในข้อ 76 ว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้วให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ฯลฯ" จำเลยจะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่านี้โดยถือตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินหาได้ไม่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยเป็นคดีนี้ มีมูลเหตุมาจากที่ดินโจทก์ถูกเวนคืน มูลคดีจึงเกิดขึ้นที่ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ การที่ศาลแพ่งธนบุรีซึ่งที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ในเขตศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีได้นั้นชอบแล้ว