พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14556/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาที่ดินเวนคืน, สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน, และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานราชการหลังการปรับปรุงกระทรวง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติชัดเจนว่า เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้องร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือในระยะเวลาใด เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปรับเงินค่าทดแทน โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แม้ขณะที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และมีหนังสือขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเป็นระยะเวลาที่เลยกำหนด พ.ร.ฎ.เวนคืนใช้บังคับแล้วก็ตาม ไม่ทำให้อุทธรณ์และหนังสือแจ้งร้องขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนสิ้นสิทธิอุทธรณ์และสิ้นสิทธิร้องขอให้ซื้อที่ดินไปด้วย เพราะมิฉะนั้นก็อาจเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกเวนคืนไปรับเงินค่าทดแทนใกล้กับวันครบกำหนดใช้บังคับตาม พ.ร.ฎ.เวนคืน อันจะทำให้ความในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ไม่มีผลบังคับไปในตัว ซึ่งไม่ชอบด้วยเหตุผลความถูกต้องและความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินส่วนต่างราคาที่ดินจากการรังวัด ไม่ถือเป็นการผิดสัญญาซื้อขาย และสิทธิเรียกร้องค่าปรับ
ข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ความว่าหลังจากโจทก์ทราบผลการรังวัดที่ดินพิพาทที่รับโอนมาว่ามีเนื้อที่น้อยกว่าที่ระบุในสัญญาและได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว และฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 26 คืนเงินตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ลดลงตามส่วน จำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปคืนให้โจทก์แล้ว แม้จะส่งคืนล่าช้าหรือไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่โจทก์ทวงถามก็เป็นเรื่องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามซึ่งจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัดเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 26 ผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาได้ เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์แล้วคดีสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการสืบพยาน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยไม่สืบพยานโจทก์และจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8650/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักฐานการซื้อขายที่ไม่น่าเชื่อถือ และการกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรม
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะกำหนดหลักการสำคัญเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐในการจ่ายค่าทดแทนเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ว่า "...ต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และความในวรรคสองยังกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนด้วยว่า "การกำหนดค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรมโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มา สภาพ และที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน" แต่การได้มาโดยการซื้ออสังหาริมทรัพย์รวมทั้งความเสียหายของผู้ถูกเวนคืนนั้น จะต้องเป็นการได้มาโดยการซื้อขายกันจริงๆ ด้วยความสุจริต และผู้ถูกเวนคืนได้รับความเสียหายอย่างแท้จริงด้วย จึงจะนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7668/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีราคาไม่เกิน 300,000 บาท อยู่ในอำนาจศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินเป็นของโจทก์ โจทก์เพียงแต่ให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานอาศัยวางลำเหมืองและท่อส่งน้ำ จำเลยให้การว่า โจทก์ยกที่ดินส่วนที่ใช้วางลำเหมืองและท่อส่งน้ำให้เป็นสาธารณประโยชน์แล้ว จึงเป็นกรณีโต้แย้งกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือตกเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560-561/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลฎีกาตัดสินราคาค่าทดแทนที่เหมาะสมตามสภาพที่ดินและราคาตลาด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคดีหนึ่งต่อมาโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นอีกเป็นคดีที่สอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำนวนเป็นกรณีที่โจทก์เรียกเงินค่าทดแทนในที่ดินแปลงเดียวกันและเกิดจากการเวนคืนในคราวเดียวกัน ซึ่งทุนทรัพย์ในคดีสำนวนหลังเกิดจากจำนวนเนื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นภายหลังจากการรังวัดแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ที่โจทก์สามารถขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องรวมกันอัตราสูงสุดจำนวน 200,000 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) (ก) ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเป็นคดีเดียวกันแล้ว จึงเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลในสำนวนคดีหลังที่โจทก์ชำระมาชั้นศาลละ 200,000 บาท ทั้งสามชั้นศาลให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ พิจารณาจากราคาที่ดินจริงและปัจจัยอื่นประกอบ
สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินของ ค. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้ามิได้เป็นสิทธิเฉพาะตัวที่จะไม่ตกทอดไปยังผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินรายใหม่ ทั้ง ค. มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่ง มาก่อนฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินให้แก่ผู้ใดหรือได้นำเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินไปวางไว้ต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสิน แม้โจทก์จะซื้อที่ดินมาจาก ค.ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้า ก็ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในปัจจุบันเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง
การที่จะกำหนดและจ่ายเงินทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นด้วย
การที่จะกำหนดและจ่ายเงินทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อทั้งเจ้าของที่ดินและสังคม
จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นผู้แทนดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนจำเลย แม้พระราชกฤษฎีกาฯ กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน แต่อธิบดีกรมทางหลวงก็ต้องปฏิบัติราชการภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบในการที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดให้ และได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ แต่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยภายในกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดินตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2539 ซึ่งตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวได้แจ้งให้ทราบถึงสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายในกำหนด 60 วัน อันเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่มีเหตุจำต้องแจ้งเป็นหนังสือซ้ำให้โจทก์ต้องไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินใหม่อีก แต่จำเลยกลับมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 2 ธันวาคม 2539 อีก 1 ฉบับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยแสดงเจตนายกเลิกหนังสือแจ้งฉบับแรก และใช้หนังสือแจ้งฉบับหลังที่ชอบด้วยกฎหมายแทนฉบับแรก เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2539 วันสุดท้ายแห่งระยะเวลา 60 วัน คือวันที่ 31 มกราคม 2540 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 30 มกราคม 2540 จึงฟังได้ว่า โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง
โจทก์ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดินตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2539 ซึ่งตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวได้แจ้งให้ทราบถึงสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายในกำหนด 60 วัน อันเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่มีเหตุจำต้องแจ้งเป็นหนังสือซ้ำให้โจทก์ต้องไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินใหม่อีก แต่จำเลยกลับมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 2 ธันวาคม 2539 อีก 1 ฉบับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยแสดงเจตนายกเลิกหนังสือแจ้งฉบับแรก และใช้หนังสือแจ้งฉบับหลังที่ชอบด้วยกฎหมายแทนฉบับแรก เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2539 วันสุดท้ายแห่งระยะเวลา 60 วัน คือวันที่ 31 มกราคม 2540 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 30 มกราคม 2540 จึงฟังได้ว่า โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผู้สู้ราคาสูงสุดต้องรับผิดในส่วนต่างราคาที่ดินเมื่อไม่ชำระเงินตามสัญญา แม้เจ้าหนี้ต้องผ่านเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยเป็นผู้สู้ราคาสูงสุดที่ละเลยไม่ใช้ราคาค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่ง เมื่อได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม จำเลยซึ่งเป็นผู้สู้ราคาเดิมต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ทำกับเจ้าพนักงานบังคับคดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 เงินในส่วนที่ขาดที่จำเลยต้องรับผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้ ถือว่าเป็นรายได้ส่วนหนึ่งที่เกิดจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ.254/2553 ของศาลชั้นต้น ต้องตกอยู่ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในฐานะเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาวางกับยึดหรืออายัดหรือยึดถือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ เพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 278 วรรคหนึ่ง (เดิม) แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ก็ต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้จัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 4 ในคดีดังกล่าวหากมีการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหากมีเงินเหลืออยู่ในภายหลังที่ได้หักชำระค่าฤชาธรรมเนียมและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ทุกคนแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 322 วรรคสอง (เดิม) บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยเพื่อดำเนินการบังคับคดีตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของกฎหมาย โจทก์หามีสิทธิเรียกร้องเอาเป็นส่วนของตนได้โดยลำพังไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่า เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยหรือบังคับคดีจากจำเลยแล้ว ให้หักเป็นค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี (ถ้ามี) แก่โจทก์ แล้วส่งคืนเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ.254/2553 ของศาลชั้นต้น เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 4 ในคดีดังกล่าวต่อไป เป็นการพิพากษาไปตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมาย หาได้พิพากษานอกคำฟ้องไม่