พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยดูแลสถานค้าประเวณี แต่ไม่มีหลักฐานว่าดำรงชีพจากรายได้หญิงขายบริการ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
บ้านเกิดเหตุเป็นสถานค้าประเวณี มีหญิงโสเภณีและชายที่ไป เที่ยว จำเลยทำหน้าที่คอยเปิดปิดประตูรับอยู่ที่บ้านดังกล่าว ดังนี้ จำเลยเป็นผู้ดูแลจัดการสถานค้าประเวณีตามพระราชบัญญัติ ปรามการค้าประเวณีฯ มาตรา 9 ที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286 นั้นโจทก์จะต้องนำสืบให้รับฟังได้ว่าจำเลยดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี หรือไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันปรากฏสำหรับดำรงชีพ หรือไม่มีปัจจัยอันเพียงพอสำหรับดำรงชีพ เมื่อพยานโจทก์ไม่ได้เบิกความถึงข้อนี้เลย แต่ได้ความว่าจำเลยเช่าร้านติดกับที่เกิดเหตุขายก๋วยเตี๋ยวและเครื่องดื่มมา 2 ปีแล้ว จึงลงโทษจำเลยตาม มาตรา 286 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากเหตุเครื่องบินชนเสียชีวิต ศาลพิจารณาความสามารถรายได้ และภาระผู้รับอุปการะ
บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. วันเกิดเหตุ อ. โดยสารเครื่องบินของจำเลยที่ 1 มา และนักบินซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างโดยประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังบินต่ำเกินไปก่อนถึงสนามเป็นเหตุให้เครื่องบินชนโรงงานและ อ. เสียชีวิตเป็นเหตุให้โจทก์ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย ดังนี้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม
รายได้ปกติของสามีโจทก์ประมาณเดือนละ 45,000 บาท มีบุตรเกิดจากภรรยาเดิมที่จะต้องรับอุปการะเลี้ยงดู 1 คน และอาจมีบิดามารดาที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูอยู่อีกโจทก์เองไม่มีบุตรกับสามี ศาลกำหนดค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เดือนละ 15,000 บาท แต่ให้ได้รับคราวเดียวเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งโจทก์อาจนำเงินนี้ไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มั่นคงเช่นฝากธนาคาร ก็จะได้ดอกเบี้ยตลอดไปไม่น้อยกว่ารายได้แต่ละเดือนที่โจทก์ควรจะได้จากสามี
รายได้ปกติของสามีโจทก์ประมาณเดือนละ 45,000 บาท มีบุตรเกิดจากภรรยาเดิมที่จะต้องรับอุปการะเลี้ยงดู 1 คน และอาจมีบิดามารดาที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูอยู่อีกโจทก์เองไม่มีบุตรกับสามี ศาลกำหนดค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เดือนละ 15,000 บาท แต่ให้ได้รับคราวเดียวเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งโจทก์อาจนำเงินนี้ไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มั่นคงเช่นฝากธนาคาร ก็จะได้ดอกเบี้ยตลอดไปไม่น้อยกว่ารายได้แต่ละเดือนที่โจทก์ควรจะได้จากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุพการี: พิจารณาความสามารถผู้รับและผู้ให้, รายได้, และภาระอื่นๆ
จำเลยเป็นบุตรโจทก์กับ อ. ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกันโจทก์มีสายตาไม่เป็นปกติ มองเห็นเพียงราง ๆ มิได้ประกอบอาชีพ ไม่มีรายได้จึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย แต่รายได้จากมรดกที่รับจาก อ. เป็นค่าเช่าซึ่งเพียงพอสำหรับการศึกษา และค่าใช้จ่ายส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น เงินส่วนแบ่งที่ได้จากการขาย ที่ดินมรดก จำเลยก็ให้โจทก์ ไปส่วนหนึ่งก่อนฟ้องแล้ว โจทก์ยังมี บิดามารดาและบุตรที่เกิดจากสามีโจทก์ซึ่งคนโตก็บรรลุนิติภาวะแล้ว ทั้งก่อนมาอยู่ กรุงเทพฯ โจทก์ก็พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา เมื่อคำนึงถึงความสามารถของจำเลยซึ่งมีส่วนในการที่จะต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูฐานะของโจทก์ และพฤติการณ์แห่งกรณีแล้วจำเลยได้ให้การอุปการะ เลี้ยงดูแก่โจทก์ในส่วนของจำเลยเป็น การเพียงพอแก่อัตภาพในปัจจุบันแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3853/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นปันผลเป็นรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิ การลงทุนซื้อหุ้นเดิมไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้
หุ้นเป็นสิ่งซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
โจทก์ได้หุ้นมา ต้องถือว่าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นรายได้ของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิโดยตีราคาหุ้นนั้นตามราคาที่พึงซื้อได้ตามปกติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(3)
การที่โจทก์จ่ายเงินซื้อหุ้นเดิมนั้นเป็นรายจ่ายที่บังเกิดผลเป็นการเพิ่มเติมทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งจะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(1) และ 65ตรี(5) และหุ้นเดิมของโจทก์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์อยู่ตามเดิม ไม่ได้สูญหายไปไหน เจ้าพนักงานประเมินนำทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่โจทก์ได้รับเพิ่มเติมมาคือหุ้นปันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร จำเลยให้การต่อสู้ว่าชอบแล้ว ศาลย่อมมีหน้าที่ยกบทกฎหมายมาปรับแก่คดีว่า การประเมินของจำเลยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่ ไม่ใช่วินิจฉัยนอกคำให้การ
โจทก์ได้หุ้นมา ต้องถือว่าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นรายได้ของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิโดยตีราคาหุ้นนั้นตามราคาที่พึงซื้อได้ตามปกติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(3)
การที่โจทก์จ่ายเงินซื้อหุ้นเดิมนั้นเป็นรายจ่ายที่บังเกิดผลเป็นการเพิ่มเติมทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งจะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(1) และ 65ตรี(5) และหุ้นเดิมของโจทก์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์อยู่ตามเดิม ไม่ได้สูญหายไปไหน เจ้าพนักงานประเมินนำทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่โจทก์ได้รับเพิ่มเติมมาคือหุ้นปันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร จำเลยให้การต่อสู้ว่าชอบแล้ว ศาลย่อมมีหน้าที่ยกบทกฎหมายมาปรับแก่คดีว่า การประเมินของจำเลยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่ ไม่ใช่วินิจฉัยนอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3853/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากหุ้นปันผล: หุ้นปันผลเป็นรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิ
หุ้นเป็นสิ่งซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
โจทก์ได้หุ้นมา ต้องถือว่าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นรายได้ของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิโดยตีราคาหุ้นนั้นตามราคาที่พึงซื้อได้ตามปกติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ทวิ(3)
การที่โจทก์จ่ายเงินซื้อหุ้นเดิมนั้นเป็นรายจ่ายที่บังเกิดผลเป็นการเพิ่มเติมทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งจะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ทวิ(1) และ 65ตรี(5) และหุ้นเดิมของโจทก์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์อยู่ตามเดิม ไม่ได้สูญหายไปไหน เจ้าพนักงานประเมินนำทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่โจทก์ได้รับเพิ่มเติมมาคือหุ้นปันผล มารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร จำเลยให้การต่อสู้ว่าชอบแล้ว ศาลย่อมมีหน้าที่ยกบทกฎหมายมาปรับแก่คดีว่า การประเมินของจำเลยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่ ไม่ใช่วินิจฉัยนอกคำให้การ
โจทก์ได้หุ้นมา ต้องถือว่าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นรายได้ของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิโดยตีราคาหุ้นนั้นตามราคาที่พึงซื้อได้ตามปกติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ทวิ(3)
การที่โจทก์จ่ายเงินซื้อหุ้นเดิมนั้นเป็นรายจ่ายที่บังเกิดผลเป็นการเพิ่มเติมทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งจะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ทวิ(1) และ 65ตรี(5) และหุ้นเดิมของโจทก์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์อยู่ตามเดิม ไม่ได้สูญหายไปไหน เจ้าพนักงานประเมินนำทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่โจทก์ได้รับเพิ่มเติมมาคือหุ้นปันผล มารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร จำเลยให้การต่อสู้ว่าชอบแล้ว ศาลย่อมมีหน้าที่ยกบทกฎหมายมาปรับแก่คดีว่า การประเมินของจำเลยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่ ไม่ใช่วินิจฉัยนอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การส่งหมายเรียก และการระบุประเภทรายได้ที่ต้องเสียภาษี
เจ้าพนักงานนำหมายเรียกไปส่งยังสถานีบริการหรือปั๊มน้ำมันซึ่งโจทก์เคยประกอบการค้าแต่ไม่มีผู้รับจึงทำการปิดหมายเรียกไว้ณ ที่นั้นเมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งเลิกกิจการค้าหรือย้ายสำนักงานที่ประกอบการค้านั้นไปที่อื่นจะถือว่าการส่งหมายเรียกไม่ชอบไม่ได้และการที่โจทก์ไม่นำส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีมาให้เจ้าพนักงานตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ในหมายเรียกเจ้าพนักงานประเมิน จึงมีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)
รายได้จากการรับฝากรถต้องเสียภาษีการค้าประเภทคลังสินค้า
รายได้จากการรับฝากรถต้องเสียภาษีการค้าประเภทคลังสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การรับรู้รายได้จากการทำสัญญาและรอบระยะเวลาบัญชี
จำเลยไม่ฎีกาคำพิพากษาที่ให้จำเลยชำระหนี้ภาษีเงินได้แก่เจ้าหนี้จำเลยขอมาในคำแก้ฎีกาให้ยกคำขอรับชำระหนี้ในข้อนี้ไม่ได้
เงินได้พึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 39 หมายความรวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ได้รับแสดงว่าต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เพียงแต่งานที่มีสิทธิจะได้รับเงินในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชีงานที่ทำในระยะเวลาบัญชี พ.ศ.2512 แต่ได้รับค่าจ้างมาใน พ.ศ.2513 จึงมิใช่เงินได้ที่จะนำไปคิดกำไรสุทธิปี พ.ศ.2512
เงินได้พึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 39 หมายความรวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ได้รับแสดงว่าต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เพียงแต่งานที่มีสิทธิจะได้รับเงินในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชีงานที่ทำในระยะเวลาบัญชี พ.ศ.2512 แต่ได้รับค่าจ้างมาใน พ.ศ.2513 จึงมิใช่เงินได้ที่จะนำไปคิดกำไรสุทธิปี พ.ศ.2512
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการประกอบวิชาชีพทนายความ ไม่ถือเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 307 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 (4) มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ศาลมีอำนาจจะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควร กรณีศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าคำร้องขอของจำเลยไม่ต้องด้วยมาตรา 307 ดังนี้ แม้จะไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องขอก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอนั้นได้ จึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรม ในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรม ในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแทนการขายทอดตลาด ต้องพิจารณาว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบพาณิชยกรรมหรือไม่
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ศาลมีอำนาจจะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควร กรณีศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่า คำร้องขอของจำเลยไม่ต้องด้วยมาตรา 307 ดังนี้ แม้จะไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องขอก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอนั้นได้ จึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแข่งขันทางธุรกิจขนส่งประจำทางและการละเมิดสิทธิรายได้
จำเลยเดินรถขนส่งสาธารณะทับเส้นทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตขนส่งประจำทาง ไม่ใช่ลักษณะพาผู้โดยสารไปท่องเที่ยว ทำให้รายได้ของโจทก์ตกต่ำ เป็นละเมิด