คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รุกล้ำที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง และพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์เมื่อฟังไม่ได้ว่ามีการรุกล้ำ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสร้างรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนด เลขที่ 19168 เลขที่ดิน 5109 ของโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยปลูกสร้างรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 19226 เลขที่ดิน 5167 ของโจทก์ จึงเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำฟ้อง ซึ่งไม่เป็นประเด็นในคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: จำเลยฎีกาประเด็นสุจริต แต่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเพราะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น
จำเลยให้การว่ามิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์มิได้ให้การถึงประเด็นว่าจำเลยสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยรั้วกำแพง: ศาลพิพากษาสั่งรื้อถอน แม้จำเลยอ้างสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงรุกล้ำที่ดินของโจทก์นั้น มิใช่เป็นการปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 จำเลยต้องรื้อถอนออกไป
ที่จำเลยฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างคดีนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับโรงเรือนเพราะปลูกสร้างแน่นหนามั่นคงติดกับที่ดิน และพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2497 ให้ถือว่ากำแพงเป็นอาคารด้วยนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยรั้วกำแพง แม้ไม่ใช่โรงเรือนก็ต้องรื้อถอน หากจำเลยต่อสู้เรื่องลักษณะโรงเรือนต้องยกขึ้นว่ากันตั้งแต่ศาลชั้นต้น
การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงรุกล้ำที่ดินของโจทก์นั้น มิใช่เป็นการปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 จำเลยต้องรื้อถอนออกไป ที่จำเลยฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างคดีนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับโรงเรือนเพราะปลูกสร้างแน่นหนามั่นคงติดกับที่ดิน และพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2497 ให้ถือว่ากำแพงเป็นอาคารด้วยนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการชดใช้ค่าเสียหาย กรณีจำเลยสร้างสะพานบุกรุกที่ดินของโจทก์
คำขอของโจทก์ที่ว่าหากจำเลยไม่ยอมรื้อสะพานที่จำเลยสร้างบุกรุกเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่บางส่วนแล้ว ให้โจทก์มีสิทธิรื้อถอนได้โดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่ารื้อถอนนั้น เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ชอบที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดหน้าดินรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 เข้าไปขุดเอาหน้าดินในที่ดินพิพาทของโจทก์ร่วมไปย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 มาตรา 358 และมาตรา 362 เป็นการกระทำกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 334 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความและการรุกล้ำที่ดิน: สิทธิของเจ้าของที่ดินและผู้รุกล้ำ
การที่ ส. และจำเลยที่ 2 มีข้อตกลงกับบริษัท ท. ว่าบริษัทท. ยอมให้อาคารเลขที่ 390/8 และ 390/9 ชั้นที่ 3 และ 4รุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 40581 ของบริษัท ท. คงเป็นอยู่ตามเดิม โดย ส. และจำเลยที่ 2 ต้องยอมให้บริษัท ท. ติดตั้งป้ายโฆษณาที่ด้านหน้าของอาคารดังกล่าว ชั้น 3 และ 4 ในส่วนที่รุกล้ำเป็นการแลกเปลี่ยนนั้น มิใช่เป็นการที่เจ้าของทรัพย์ยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือรับประโยชน์ในตัวทรัพย์ หากแต่เป็นเพียงการยอมให้รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์เท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นการชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดตลอดจนมิได้มีค่าเช่าอีกด้วย กรณีไม่เข้าลักษณะเช่าทรัพย์
กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่อสังหาริมทรัพย์แปลงหนึ่งต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้อง ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ข้อตกลงนี้จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิ เมื่อส. และบริษัท ท. มิได้จดทะเบียนหนังสือข้อตกลงดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวนั้นจึงไม่โอนมายังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับโอน
ผู้ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมและไม่ว่าผู้รับโอนภารยทรัพย์จะรับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตามก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความและการรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเมื่อมีการซื้อขายทรัพย์สิน
การที่ ส.และจำเลยที่2มีข้อตกลงกับบริษัทท. ว่าบริษัทท. ยอมให้อาคารเลขที่ 390/8 และ 390/9 ชั้นที่ 3 และ 4รุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 40581 ของบริษัท ท. คงเป็นอยู่ตามเดิมโดยส.และจำเลยที่2ต้องยอมให้บริษัทท. ติดตั้งป้ายโฆษณาที่ด้านหน้าของอาคารดังกล่าว ชั้น 3 และ 4 ในส่วนที่รุกล้ำเป็นการแลกเปลี่ยนนั้น มิใช่เป็นการที่เจ้าของทรัพย์ยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือรับประโยชน์ในตัวทรัพย์ หากแต่เป็นเพียงการยอมให้รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์เท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นการชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดตลอดจนมิได้มีค่าเช่าอีกด้วย กรณีไม่เข้าลักษณะเช่าทรัพย์ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่อสังหาริมทรัพย์แปลงหนึ่งต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ข้อตกลงนี้จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิ เมื่อส.และบริษัทท. มิได้จดทะเบียนหนังสือข้อตกลงดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวนั้นจึงไม่โอนมายังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับโอน ผู้ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมและไม่ว่าผู้รับโอนภารยทรัพย์จะรับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตามก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม: การบรรยายลักษณะการรุกล้ำที่ดินไม่จำเป็นต้องระบุเนื้อที่ หากระบุสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยก่อสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทางด้าน ทิศตะวันออก ซึ่ง ติด กับที่ดินของจำเลย ขอให้จำเลยรื้อรั้วออกไปจากที่ดินโจทก์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้ แสดงโดย แจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนจำเลยจะบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์เท่าใด เป็นเพียงรายละเอียดซึ่ง โจทก์อาจนำสืบได้ ในชั้น พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยกันสาด: สิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยหลักเทียบบทกฎหมาย
เจ้าของที่ดินเดิม เป็นผู้สร้างตึก พร้อม กันสาด แล้วได้ แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ ขาย ทำให้กันสาดที่สร้างในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง จำเลยซื้อ ตึก ซึ่ง มีกันสาดอยู่แล้ว ส่วนโจทก์ซื้อ ที่ดินในสภาพที่มีกันสาดดังกล่าวรุกล้ำดังนี้กันสาดที่รุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1312 ซึ่ง เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์โดย บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดย สุจริตมีสิทธิใช้ ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นแต่ ต้อง เสียค่าใช้ ที่ดินแก่เจ้าของที่ดิน เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้สร้าง จึงไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ ต้อง นำ ป.พ.พ.มาตรา 4 มาใช้ บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่ง ได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก ฉะนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิใช้ ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิที่ดินของโจทก์เฉพาะ ที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปได้ส่วนโจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อกันสาด คงมีสิทธิเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิที่ดิน แต่ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับในส่วนนี้ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ได้.
of 22