คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7045/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย: การประเมินเจตนาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) มีความมุ่งหมายที่จะให้สิทธิแก่นายจ้างสามารถลงโทษลูกจ้างที่ตั้งใจหรือมีเจตนากระทำการโดยรู้ว่าการกระทำของตนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างเท่านั้น มิได้มุ่งเน้นที่ความเสียหายว่าได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพียงใด ซึ่งแตกต่างจากกรณีกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ตั้งใจตามมาตรา 119(3) ที่มีเงื่อนไขว่า ความเสียหายที่นายจ้างได้รับจะต้องถึงขั้นเสียหายอย่างร้ายแรง นายจ้างจึงจะมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ฉะนั้นไม่ว่าการกระทำของโจทก์จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแล้วหรือไม่ จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญที่จะนำมาเป็นหลักในการวินิจฉัย
หมายแจ้งคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้บริษัทจำเลยใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ในการผลิตกระดาษในคดีที่บริษัท อ. ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าโรงงานดังกล่าวมีไปถึงบริษัทจำเลย ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลคือ ช. กรรมการผู้จัดการจำเลย โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีหน้าที่บริหารงานบุคคลภายในบริษัทจำเลยให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการทำงานและคำสั่งของ ช. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา โจทก์ไม่มีหน้าที่ในการดำเนินการตามคำสั่งศาลดังกล่าว แต่โจทก์ได้แสดงตนเป็นพนักงานของบริษัท อ. ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายปฏิปักษ์กับจำเลย และขอจัดประชุมเพื่อให้พนักงานของจำเลยที่มีอยู่ประมาณ 200 คน สมัครใจว่าจะเป็นลูกจ้างใคร กับทั้งจะนำคนงานบริษัท อ. เข้ามาในโรงงานซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยกในหมู่พนักงานของจำเลย และเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยและมีเจตนาจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือฝ่ายตรงข้ามกับจำเลย มิใช่เป็นการกระทำเพื่อให้คำสั่งของศาลเป็นไปโดยถูกต้องและบรรลุผลโดยสุจริตใจ ซึ่งนอกจากเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ยังเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6384-6394/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีสหภาพแรงงาน และการกระทำความเสียหายทางการค้า
ในสถานประกอบกิจการของผู้ร้องมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกับสหภาพแรงงานแอมพาส ฯ ที่ตกลงกันไม่ได้ มีการเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานและกรรมการสหภาพแรงงานหลายคนโดยไม่จ่ายค่าชดเชย รวมทั้งผู้คัดค้านทั้งสิบเอ็ดก็อยู่ระหว่างถูกผู้ร้องขออนุญาตศาลเลิกจ้าง ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ผู้คัดค้านกับพวกจึงร่วมกันออกแถลงการณ์ส่งไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพแรงงานอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน แม้ข้อความบางตอนในคำแถลงการณ์จะกล่าวหาว่าผู้ร้องเข้าแทรกแซงการทำงานและต้องการล้มสหภาพแรงงานแอมพาส ฯ แต่ก็เป็นการกล่าวในฐานะที่ผู้คัดค้านเป็นผู้สังกัดอยู่ในสหภาพแรงงานดังกล่าว โดยผู้คัดค้านที่ 1 เป็นประธานสหภาพแรงงาน และกำลังถูกผู้ร้องดำเนินการขอเลิกจ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ร้องได้เลิกจ้างกรรมการสหภาพไปหลายคนแล้ว หากไม่มีกรรมการ สหภาพแรงงานก็อยู่ไม่ได้ ถือได้ว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นการกล่าวหรือแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทผู้ร้อง แต่ข้อความที่กล่าวพาดพิงถึงคุณภาพสินค้าที่ผู้ร้องผลิตว่าขาดคุณภาพ ขอให้สหภาพแรงงานอื่นตรวจสอบและช่วยกดดันผู้ร้อง เป็นเจตนาที่มุ่งหวังผลจะทำลายชื่อเสียงหรือเกียรติคุณในทางการค้าของผู้ร้อง เพื่อเป็นข้อต่อรองกดดันให้ผู้ร้องยอมปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้คัดค้าน เป็นการจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ผู้ร้องจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด แม้ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์มีพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วเห็นว่าคดีมีมูล จึงส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณา จนมีคำสั่งฟ้องโจทก์เป็นจำเลยต่อศาล และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล แม้จะยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลว่าโจทก์กระทำผิดตามฟ้อง ก็ถือว่าโจทก์ประพฤติชั่วอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดที่ 9 ว่าด้วยวินัยและการลงโทษข้อ 19 ซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติชั่วจากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
สภาพการทำงานในบริษัทจำเลย พนักงานส่วนใหญ่ต้องใช้มีดเป็นอุปกรณ์ในการทำงาน การเสพยาเสพติดอาจก่อให้เกิดอันตรายในการทำงานได้ นอกจากนี้การจำหน่ายยาเสพติดก็เป็นภัยต่อเศรษฐกิจของผู้เสพ อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมขึ้น อีกทั้งทำให้ผู้เสพทำงานบกพร่อง ผลงานลดน้อยถอยลงอันมีผลกระทบต่อการทำงานของพนักงานสถานประกอบการของจำเลยซึ่งมีลูกจ้างจำนวนมากถึง 4,500 คน และบริษัทจำเลยเคร่งครัดไม่ให้พนักงานเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การที่โจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อาจก่อให้เกิดอันตรายในการทำงานของพนักงานทั้งเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงของจำเลย ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติชั่วอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และการกระทำผิดซ้ำคำเตือน
คำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ย้ายที่นั่งทำงานของโจทก์ซึ่งอยู่ในห้องเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าทำให้เกิดอุปสรรคหรือข้อขัดข้องในการทำงานของโจทก์จนไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้างที่จะสั่งได้ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ย้ายที่นั่งทำงานกับเพื่อนร่วมงานภายในห้องเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว แต่โจทก์ฝ่าฝืนไม่ยอมย้ายที่นั่งทำงานจนจำเลยต้องออกคำตักเตือนเป็นหนังสือถึง 3 ครั้ง โจทก์ก็ยังเพิกเฉย การกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนแล้ว เมื่อเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนที่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำผิด จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการวินิจฉัยคดีเงินทดแทนและการคุ้มครองลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากความประมาทของตนเอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลแรงงานจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อใดข้อหนึ่งก่อนจึงเป็นอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะใช้ดุลพินิจยกปัญหาข้อใดขึ้นวินิจฉัยก่อนหรือหลังก็ได้ตามที่เห็นสมควรแก่รูปคดี ทั้งเมื่อได้วินิจฉัยปัญหาข้อหนึ่งข้อใดแล้วเห็นว่าสามารถชี้ขาดตัดสินคดีได้ จะไม่วินิจฉัยปัญหาข้ออื่น ๆ ต่อไปอีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปก็ได้
ผู้ตายปีนขึ้นไปบนโครงจอภาพยนตร์แล้วเอาเสาธงเหล็กฟาดสายไฟฟ้าแรงสูงจนถูกไฟฟ้าดูดและตกลงมาเสียชีวิต เพราะผู้ตายต้องการแสดงโอ้อวดตนเองว่าเป็นผู้วิเศษ มิได้เกิดเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดร้ายแรงจากการทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานในที่ทำงาน
โจทก์เป็นผู้ชายทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นผู้หญิงโดยใช้มือตบที่บริเวณใบหน้าเพียงครั้งเดียวมีความผิดอาญาข้อหาทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ โจทก์กระทำอย่างอุกอาจในที่ประชุมต่อหน้าผู้บังคับบัญชาและพนักงานอื่น ๆ ในแผนกขณะกำลังประชุมเกี่ยวกับงานของจำเลย โดยโจทก์มิได้เคารพยำเกรงต่อที่ประชุมและผู้บังคับบัญชา มิได้เกรงกลัวต่อกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ระบุห้ามไว้ ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหรือเป็นการกระทำผิดกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย รวมทั้งไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคท้าย ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม: การว่าจ้างเหมาค่าแรงและลักษณะนายจ้าง-ลูกจ้าง
ผู้ประกอบกิจการที่จะอยู่ในฐานะนายจ้างของคนงานรับเหมาค่าแรง ตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องเป็นผู้ประกอบกิจการที่ได้ว่าจ้างเหมาค่าแรงให้แก่ผู้รับเหมาค่าแรงรายใดรายหนึ่งเป็นผู้จัดหาคนงานให้แก่ผู้ประกอบกิจการ หรือผู้รับเหมาค่าแรงนำงานอันเป็นธุรกิจ หรือกระบวนการผลิตของผู้ประกอบกิจการไปให้คนงานของผู้รับเหมาค่าแรงทำในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ทำงานโดยใช้เครื่องมือที่สำคัญในการทำงานของผู้ประกอบกิจการ และคนงานเหล่านั้นต้องมีฐานะเป็นลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงด้วย
โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าข้าว ในการขนข้าวลงเรือไปขายให้แก่ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ โจทก์ว่าจ้าง ส. จีนเต็งใหญ่เป็นผู้รับเหมาค่าแรงขน ส. จะให้ ท. จีนเต็งหัวหน้าสายเป็นคนจัดหาคนงานซึ่งสมัครใจรับจ้างรายวันเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ มาขนข้าวสาร โดยก่อนขนข้าวสารลงเรือ คนงานต้องผสมข้าวสารด้วยเครื่องจักรของโจทก์และบรรจุใส่กระสอบผ่านสายพานในโกดังของโจทก์ อันเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ทำงานที่โจทก์เป็นผู้จัดหา แล้วแบกกระสอบข้าวสารไปลงเรือ การทำงานของคนงานจึงอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการของ ส. ส. ย่อมมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือคนงานทุกคน ประกอบกับ ส. เป็นคนจ่ายค่าจ้างให้แก่คนงานที่มาแบกขนข้าวสารแต่ละวัน นิติสัมพันธ์ระหว่าง ส. กับคนงานจึงเข้าลักษณะจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ส. มีฐานะเป็นนายจ้างของคนงาน และเมื่อการทำงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของโจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะนายจ้างของคนงานทั้งหมดด้วย เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์มีลูกจ้างเกิน 10 คน โจทก์ย่อมมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง กรณีเปลี่ยนวันที่มีหน้าที่ชำระเงินสมทบ และชำระเงินสมทบให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนายจ้างตามพรบ.ประกันสังคม กรณีเหมาค่าแรงและควบคุมดูแลการทำงาน
การที่จะถือว่าผู้ประกอบกิจการอยู่ในฐานะนายจ้างของลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 35 และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบรายการตามมาตรา 34 และจ่ายเงินสมทบสำหรับลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงต่อสำนักงานประกันสังคม คนงานที่มาทำงานให้แก่ผู้ประกอบกิจการจะต้องเป็นลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรง
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าข้าวเมื่อโจทก์จะต้องขนข้าวลงเรือให้แก่ผู้ซื้อจากต่างประเทศ โจทก์จะว่าจ้าง ส. เป็นผู้รับเหมาค่าแรงทำการขนข้าวลงเรือ ส. จะแจ้งให้ ท. ไปจัดหากรรมกรตามจำนวนพอเหมาะกับปริมาณข้าวที่จะขนถ่ายลงเรือมาแบกขน ก่อนขนข้าวลงเรือกรรมกรจะต้องผสมข้าวด้วยเครื่องจักรภายในโกดังของโจทก์และบรรจุใส่กระสอบผ่านสายพานและให้กรรมกรรอแบกกระสอบข้าวจากปลายสายพานไปลงเรือ การทำงานดังกล่าวทั้งหมดของกรรมกรอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการของ ส. ส. จึงมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือกรรมกรทุกคน ประกอบกับ ส.เพียงผู้เดียวเป็นคนจ่ายค่าจ้างให้แก่กรรมกรที่มาแบกข้าวแต่ละวัน นิติสัมพันธ์ระหว่างส. กับกรรมกรดังกล่าวเข้าลักษณะจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 ส. จึงเป็นนายจ้างของกรรมกรทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าส. ควบคุมกรรมกรให้ทำงานในโกดังอันเป็นสถานประกอบกิจการของโจทก์และใช้เครื่องมือที่สำคัญสำหรับใช้ทำงานที่โจทก์เป็นผู้จัดทำ โดยการทำงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของโจทก์ ดังนี้ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะนายจ้างของกรรมกรทั้งหมดด้วยตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 35 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างในฐานะผู้ว่าจ้าง ลูกจ้างกระทำละเมิด และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดที่ ป. กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นนายจ้างของ ป. โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ว่า ป. เป็นลูกจ้างของจำเลยกระทำไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลย
จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยดังกล่าวแล้ว คดีย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิพากษาคดีนี้ใหม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว
of 223