พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเช็คพิพาทเรื่องดอกเบี้ยเกินกฎหมาย ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนพิพากษา
จำเลยที่ 1 ที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเกิดจากมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยรวมเอาดอกเบี้ยที่เรียกเกินกฎหมายไว้ด้วยจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาซึ่งจะถือว่าจำเลยที่ 3 รับตามฟ้องไม่ได้ แม้โจทก์จะได้ส่งคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาต่อศาลเพื่อแสดงว่า กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยออกเช็คพิพาทแล้วนำไปแลกเงินสด การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจึงไม่เป็นการต้องห้ามเพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินก็เป็นเพียงคำบอกเล่า ศาลชอบที่จะให้โจทก์นำสืบให้ได้ความตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์จึงไม่ชอบ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายมีผลต่ออำนาจฟ้องคดีอาญาหรือไม่ ศาลต้องสอบถามความจริงก่อนพิพากษา
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้ลงโทษจำคุกจำเลยฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร กระทำอนาจาร ข่มขืนใจผู้อื่น และหน่วงเหนี่ยวกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278, 281, 284, 309และ 310 กับฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 8 ทวิ, 72 และ 72 ทวิ รวม 3 กระทง เรียงกระทงลงโทษ กระทงละไม่เกิน 5 ปี โดยเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278, 281, 284, 309, 310 เป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 284 ซึ่งเป็นบทหนัก คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยอุทธรณ์และอ้างว่า ผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอถอนคำร้องทุกข์สำหรับความผิดต่อส่วนตัวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 แล้ว ซึ่งถ้าเป็นความจริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว แต่โจทก์มิได้รับรองว่าเป็นคำแถลงขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายที่แท้จริง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสอบถามผู้เสียหายเพื่อให้ยืนยันคำแถลงดังกล่าว จึงเป็นการมิชอบ
จำเลยอุทธรณ์และอ้างว่า ผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอถอนคำร้องทุกข์สำหรับความผิดต่อส่วนตัวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 แล้ว ซึ่งถ้าเป็นความจริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว แต่โจทก์มิได้รับรองว่าเป็นคำแถลงขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายที่แท้จริง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสอบถามผู้เสียหายเพื่อให้ยืนยันคำแถลงดังกล่าว จึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานนอกประเด็นคดี: ศาลพิพากษาชอบแล้วหากข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกับประเด็นที่กำหนด
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่าไม่เคยซื้อหรือให้ตัวแทนซื้ออิฐจากโจทก์ และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบว่าจำเลยทั้งสองได้สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เมื่อโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างตึกแถว จำเลยที่ 2 เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนกันในการก่อสร้าง จำเลยที่ 1ได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และศาลฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ที่รับว่าเป็นลูกจ้างของ ค. สามีจำเลยที่ 1เป็นผู้ควบคุมงาน ควบคุมอุปกรณ์ก่อสร้าง ส่วนไหนขาดก็สั่งเพิ่ม จำเลยทั้งสองได้สั่งซื้ออิฐไปจากโจทก์ตามฟ้อง ดังนี้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบและที่ศาลรับฟังมา จึงเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี ไม่เป็นการนอกประเด็น.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีภาษีอากร: การจำแนกประเภทสินค้า (แจกัน) และสิทธิในการขอคืนภาษี
สินค้าเครื่องประดับบ้านเรือนซึ่งจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13 ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 หมายความว่าสิ่งของที่ใช้ตกแต่งให้สวยงาม ทำให้บ้านเรือนที่ใช้วัตถุหรือสิ่งของนั้นประดับหรือตกแต่งมีความสวยงามไปด้วย ความสวยงามของวัตถุหรือสิ่งของดังกล่าวตามลักษณะจึงควรเป็นวัตถุหรือสิ่งของที่มีคุณค่าในตัวเอง มีความประณีต สวยงาม เหมาะสมที่จะใช้ประดับหรือตกแต่งบ้านเลือนเท่านั้น โดยผู้ซื้อมิได้นำไปใช้ตามสภาพเช่นสิ่งของทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในบ้านเรือน ส่วนสินค้าเครื่องใช้ในบ้านเรือนซึ่งจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ตามพระราชกำหนดดังกล่าว มีความหมายว่าสิ่งของที่ทำขึ้นใช้การต่าง ๆ ของใช้ เครื่องใช้ไม้สอยเป็นวัตถุหรือสิ่งของที่ตามลักษณะเหมาะสมสำหรับใช้สอยในบ้านเรือนเท่านั้น ไม่มีคุณค่าหรือความสวยงามในทางที่จะประดับหรือตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม
แจกันที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ขนาด 6 นิ้วถึง14 นิ้วเป็นเนื้อกระเบื้องหรือวัตถุที่ผลิตไม่ขาวใส ลวดลายและการป้ายสีถึงแม้ว่าจะดูแปลกตา แต่ก็ไม่มีความประณีตสวยงาม แจกันบางใบมีรอยตำหนิเป็นจุดในเนื้อกระเบื้องราคาที่โจทก์ซื้อมาเป็นราคาไม่แพง จึงไม่มีคุณค่าพอที่จะนำไปเป็นเครื่องประดับบ้านเรือน ประกอบกับตามสภาพและขนาดของแจกันดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะนำไปเป็นเครื่องใช้ในบ้านเรือนทั่ว ๆ ไป จึงเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่86) พ.ศ. 2521 ไม่ใช่สินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13
จำเลยรับชำระค่าภาษีไว้จากโจทก์โดยชอบ ต่อมาโจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า แจกันขนาด 6 นิ้วถึง 14 นิ้วที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 69.11 หรือประเภทที่ 69.13 ซึ่งถ้าเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 แล้วก็ต้องห้ามนำเข้าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ โจทก์จึงสามารถนำเข้าได้ ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินภาษีอากรต่าง ๆ ที่ชำระไว้แก่จำเลยคืน จนกว่าโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ให้นำแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรและหรือโจทก์ส่งแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศ.
แจกันที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ขนาด 6 นิ้วถึง14 นิ้วเป็นเนื้อกระเบื้องหรือวัตถุที่ผลิตไม่ขาวใส ลวดลายและการป้ายสีถึงแม้ว่าจะดูแปลกตา แต่ก็ไม่มีความประณีตสวยงาม แจกันบางใบมีรอยตำหนิเป็นจุดในเนื้อกระเบื้องราคาที่โจทก์ซื้อมาเป็นราคาไม่แพง จึงไม่มีคุณค่าพอที่จะนำไปเป็นเครื่องประดับบ้านเรือน ประกอบกับตามสภาพและขนาดของแจกันดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะนำไปเป็นเครื่องใช้ในบ้านเรือนทั่ว ๆ ไป จึงเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่86) พ.ศ. 2521 ไม่ใช่สินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13
จำเลยรับชำระค่าภาษีไว้จากโจทก์โดยชอบ ต่อมาโจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า แจกันขนาด 6 นิ้วถึง 14 นิ้วที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 69.11 หรือประเภทที่ 69.13 ซึ่งถ้าเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 แล้วก็ต้องห้ามนำเข้าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ โจทก์จึงสามารถนำเข้าได้ ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินภาษีอากรต่าง ๆ ที่ชำระไว้แก่จำเลยคืน จนกว่าโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ให้นำแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรและหรือโจทก์ส่งแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีพยายามฆ่าและการริบของกลางเมื่อพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาพยายามฆ่าและริบอาวุธปืนกระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนของกลางยกฟ้องข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนโดยวินิจฉัยว่าไม่ปรากฏตามทางนำสืบว่าจำเลยไม่มีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาพยายามฆ่าด้วยแต่คงให้ริบของกลางโดยมิได้วินิจฉัยเรื่องอาวุธปืนของกลางว่าเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนหรือไม่คดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะข้อหาพยายามฆ่าดังนี้เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าพยานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ยิงผู้เสียหายและจำเลยไม่ได้นำของกลางมาใช้ในการกระทำผิดตามฟ้องศาลย่อมไม่มีอำนาจริบของกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ ชนกันทำให้ถึงแก่ชีวิต ศาลพิพากษาโทษจำเลยทั้งสอง
จำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกสิบล้อในช่องเดินรถด้านซ้ายมีรถบรรทุกสิบล้อแล่นตามหลังหนึ่งคันและรถบรรทุกหกล้อที่จำเลยที่ 1 ขับตามมาอีกหนึ่งคัน การที่จำเลยที่ 2 ขับรถเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา อันเป็นระยะกระชั้นชิดกับช่วงที่จำเลยที่ 1 จะขับรถแซง โดยจำเลยที่ 2 มิได้ระมัดระวังดูรถที่แล่นตามมาทางด้านขวาให้ปลอดภัยเสียก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะให้สัญญาณไฟเลี้ยวหรือไม่ก็ตาม และการที่จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกหกล้อด้วยความเร็วสูงมากแซงรถบรรทุกสิบล้อคันหนึ่ง และจะแซงรถจำเลยที่ 2 ในคราวเดียวกัน โดยปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถของจำเลยที่ 2 ซึ่งเปลี่ยนช่องเดินรถออกมาทางขวา ดังนี้ เหตุชนกันจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสอง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใด เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ของผู้ตาย จึงไม่ใช่บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใด เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ของผู้ตาย จึงไม่ใช่บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้น-อุทธรณ์พิพากษายกฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน แต่ยังคงรับฎีกาในประเด็นความผิดอื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 341, 83, 91 ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ดังนี้เมื่อความผิดตาม มาตรา 343 ฐานฉ้อโกงประชาชน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน: ศาลพิพากษาตามส่วนแบ่งจริงเมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงจากที่ตกลง
จำเลยเป็นฝ่ายออกเงินซื้อที่ดินแปลงพิพาททั้งหมดในราคา 60,000 บาท แล้วใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมด้วย การที่สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าตกลงซื้อขายกันในราคา 25,000 บาท แต่จำเลยนำสืบว่าซื้อมาในราคา 60,000 บาท เป็นการนำสืบถึงความเป็นจริงในระหว่างผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ย่อมนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของตนครึ่งหนึ่ง ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์มีส่วนเพียง 1 ใน 3 ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมด ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งตามความเป็นจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง แม้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครอง โดยอ้างว่าเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งของโฉนด แม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทตอนใต้ของถนนเนื้อที่ 1 ใน 3 ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน130 1/2 ตารางวาเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทด้านทิศใต้ของถนนตลอดแนวเป็นของโจทก์ได้ หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของตนครึ่งหนึ่ง ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์มีส่วนเพียง 1 ใน 3 ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมด ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งตามความเป็นจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง แม้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครอง โดยอ้างว่าเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งของโฉนด แม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทตอนใต้ของถนนเนื้อที่ 1 ใน 3 ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน130 1/2 ตารางวาเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทด้านทิศใต้ของถนนตลอดแนวเป็นของโจทก์ได้ หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมที่ดิน การซื้อขายที่ดิน การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามส่วนจริง ศาลพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยเป็นฝ่ายออกเงินซื้อที่ดินแปลงพิพาททั้งหมดในราคา60,000บาทแล้วใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมด้วยการที่สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าตกลงซื้อขายกันในราคา25,000บาทแต่จำเลยนำสืบว่าซื้อมาในราคา60,000บาทเป็นการนำสืบถึงความเป็นจริงในระหว่างผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันย่อมนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของตนครึ่งหนึ่งทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์มีส่วนเพียง1ใน3ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมดศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งตามความเป็นจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2) คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองแม้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน50,000บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครองโดยอ้างว่าเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งของโฉนดแม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทตอนใต้ของถนนเนื้อที่1ใน3ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน1301/2ตารางวาเป็นของโจทก์ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทด้านทิศใต้ของถนนตลอดแนวเป็นของโจทก์ได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือคำฟ้องไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเพื่อหวังผลประโยชน์ โดยแสดงเจตนาเท็จ ศาลพิพากษายืนตามคำฟ้อง
คำฟ้องที่อ่านโดยตลอดแล้วเข้าใจได้ว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยมีเจตนาที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศบาห์เรน แต่ตามจริงแล้วจำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศดังกล่าวแต่อย่างใดเป็นการบรรยายฟ้องถึงรายละเอียดที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามป.วิ.อ.มาตรา158(5)แล้ว.