พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,244 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3204/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการดำเนินการคดีอย่างคนอนาถา ผลกระทบต่อการวางค่าธรรมเนียม
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยแล้วให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยต่อไปเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้สืบพยานจำเลยต่อไปจำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยกับยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษา แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยก่อนดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยจะไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เพราะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 157 ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษาก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี จึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยกับยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษา แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยก่อนดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยจะไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เพราะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 157 ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษาก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดิน 10 แปลง ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีเนื้อที่เพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ทั้งโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนรวม 10 แปลง มีจำนวนเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา เช่นเดียวกับสำเนาโฉนดที่ดินที่ถูกเวนคืนรวม 10 ฉบับ ท้ายคำแถลงของจำเลยที่ 1 ซึ่งปรากฏว่าที่ดิน 10 แปลงของโจทก์รวมกันแล้วมีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ไม่ใช่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ดังที่โจทก์รวมเนื้อที่ดินไว้ในคำฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผลรวมของจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนและคำขอให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจึงเกิดจากการคำนวณที่ผิดพลาด เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยถือเอาจากจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง จึงมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญแม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์ดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
ฟ้องโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดินทั้งสิบแปลงของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย รวมแล้วมีเนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา แต่โจทก์ระบุว่ารวมแล้วเป็นเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง ต่อมาในชั้นบังคับคดีทั้งโจทก์และจำเลยแถลงข้อเท็จจริงตรงกันว่า ที่ดินของโจทก์มีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา อันเกิดจากการรวมเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนผิดพลาดไปนั้น จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญ แม้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78: ศาลอุทธรณ์เพิ่มเติมโทษโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ ถือไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยโดยลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 หนึ่งในสาม เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียว การที่ศาลอุทธรณ์มิได้ลดโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 78 ทั้งที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามนั้น ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษประหารชีวิตในคดีเมทแอมเฟตามีน: ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตเหมาะสม
ป.อ. มาตรา 52 (2) บัญญัติว่า ในการลดโทษประหารชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ถ้าจะลดกึ่งหนึ่ง ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุกตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ดังนั้น จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไปว่าสมควรจะลดโทษเพียงใด คดีนี้จำเลยกับพวกกระทำความผิดโดยร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนจำนวน 490,000 เม็ด น้ำหนัก 48,564.1 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 12,275.86 กรัม เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวได้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นต้นเหตุทำให้ยาเสพติดให้โทษชนิดดังกล่าวแพร่ระบาดสู่ประชาชน และทำให้ประชาชนตกเป็นทาสของยาเสพติดให้โทษเพิ่มมากขึ้น ลักษณะของความผิดถือว่าเป็นภัยร้ายแรง สามารถทำลายทรัพยากรมนุษย์ และบั่นทอนความสงบสุขของสังคมโดยส่วนรวม ประกอบกับเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมาก ทั้งมีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งโดยปกติย่อมยากแก่การจับกุมปราบปรามของเจ้าพนักงานอยู่แล้ว พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลดโทษประหารชีวิตให้จำเลยกึ่งหนึ่งโดยให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี และสภาพความผิดนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคนในแต่ละคดี จะถือเอาคำพิพากษาคดีอื่นมาเป็นแนวทางในการกำหนดโทษของจำเลยคดีนี้หาได้ไม่
การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี และสภาพความผิดนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคนในแต่ละคดี จะถือเอาคำพิพากษาคดีอื่นมาเป็นแนวทางในการกำหนดโทษของจำเลยคดีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการพิมพ์คำพิพากษาโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้หากไม่เป็นผลร้ายต่อจำเลย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2547 ศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาคดีนี้โดยลงโทษจำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี และลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ตามร่างคำพิพากษา เอกสารลำดับที่ 13/1 ที่ปรากฏอยู่ในสำนวน แต่เมื่อทำการจัดพิมพ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามร่างคำพิพากษาดังกล่าวได้พิมพ์จำนวนโทษจำคุกจำเลยภายหลังจากลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงจำคุกจำเลยเพียง 6 เดือน ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลำดับที่ 13/2 ที่ปรากฏในสำนวนนั้น เป็นเรื่องพิมพ์ตัวเลขผิดพลาดตกระยะเวลาไป 1 ปี โทษจำคุกจำเลยจึงเหลือเพียง 6 เดือน ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องตามความจริงได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 และไม่ถือเป็นผลร้ายแก่จำเลยแต่อย่างใด อีกทั้งไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ศาลอุทธรณ์แก้โทษลดลง ไม่เกิน 5 ปี ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม, 277 วรรคแรก เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 5 ปี ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 9 ปี เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 รวมจำคุก 12 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องคงลงโทษจำคุกจำเลยรวม 2 กระทงเช่นเดิม เพียงแต่ให้ยกคำขอที่ให้เพิ่มโทษ โจทก์มิได้ฎีกาในข้อที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่เพิ่มโทษ จึงมีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องไม่เพิ่มโทษซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิดทั้งสองฐานความผิดจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ที่ดินราคาเช่าต่ำกว่าเกณฑ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงมิได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของโจทก์ซึ่งรับโอนมาจากมารดา ส่วนจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของ บ. ย่าของโจทก์ ซึ่งต่อมายกที่ดินดังกล่าวให้แก่ ล. ภริยาจำเลยซึ่งเป็นหลาน จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของภริยา คดีนี้จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์และเมื่อหนังสือสัญญาให้ตีราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 47 ตารางวา มีราคาเพียง 20,000 บาท ดังนั้น ค่าเช่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ 88 ตารางวา ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงใหญ่จะมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท เมื่อคดีนี้เป็นกรณีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์นอกประเด็นในคำให้การ ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตัดสินเป็นเหตุต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงตามคำฟ้องและใส่ชื่อโจทก์ในเอกสารสิทธิดังกล่าว พร้อมกับเรียกเก็บค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ให้การว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงไม่ได้สูญหายแต่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 4 โจทก์ต้องไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้จำเลยที่ 4 ส่งมอบ ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าจำเลยที่ 1 จะออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงตามฟ้องโจทก์ให้ได้หรือไม่เพราะเอกสารสิทธิดังกล่าวไม่ได้สูญหาย แต่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 4 ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ออกใบแทนเอกสารสิทธิทั้งหกแปลงให้โจทก์ไม่ได้เนื่องจากโจทก์ไม่เคยยื่นคำขอออกใบแทน จึงเป็นอุทธรณ์ที่นอกเหนือจากประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลอุทธรณ์และฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอายุความ และยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างว่าไม่จงใจขาดนัด ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้การที่จำเลยฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาจึงต้องห้ามด้วยเช่นเดียวกัน
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเรื่องอายุความเมื่อไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความเป็นมูลยกฟ้องไม่ได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเรื่องอายุความเมื่อไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความเป็นมูลยกฟ้องไม่ได้