พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงานในการไปรษณีย์: พนักงานรถไฟที่รับส่งถุงไปรษณีย์ ไม่ถือเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการไปรษณีย์
จำเลยเป็นพนักงานของการรถไฟฯ ได้รับมอบหมายจากนายสถานีให้เป็นเสมียนเมล์มีหน้าที่รับส่งถุงไปรษณีย์และไปรษณีย์ภัณฑ์ให้แก่การไปรษณีย์ หามีผลให้จำเลยมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการไปรษณีย์ไม่ เมื่อจำเลยกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยเปิดและทำให้เสียหายแก่จดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 163
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่คนงานของรัฐฯ เงินเดือนตกอยู่ในบังคับการบังคับคดี
ลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่เป็นคนงานของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2514)
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่คนงานของรัฐฯ เงินเดือนบังคับคดีได้ตาม กม.วิธีพิจารณาความแพ่ง
ลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่เป็นคนงานของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2514)
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องอาญาเพื่อยืนยันสถานะเจ้าพนักงานของผู้เสียหาย ไม่เป็นการอ้างกฎหมายใหม่เพื่อเพิ่มโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยได้ทำร้ายผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายได้รับอันตรายสาหัสเพราะเหตุที่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ต่อมาโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยอ้างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494มาตรา 16 การขอเพิ่มเติมฟ้องนี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่ามีกฎหมายรับรองความเป็นเจ้าพนักงานของผู้เสียหาย หาได้เป็นการอ้างกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยหนักขึ้นประการใดไม่ ฉะนั้น การที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้อง จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างประจำและเจ้าพนักงาน: การลงโทษในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยที่ 2 ทำงานเป็นลูกจ้างประจำรายเดือน ตำแหน่งช่างเครื่องเรือศุลกากร ประจำด่านศุลกากรคลองใหญ่สังกัดกรมศุลกากร. มิใช่ข้าราชการที่รับเงินเดือนในงบประมาณประเภทเงินเดือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน. แม้จะเป็นพนักงานศุลกากร มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ก็หาเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายไม่. และทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเจ้าพนักงาน. ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจึงจะถูกลงโทษฐานเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149. ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ลงโทษบุคคลผู้เป็นเจ้าพนักงานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยเฉพาะตามที่โจทก์ฟ้องให้ลงโทษไม่ได้. คงลงโทษได้ตามบทมาตราดังกล่าวแต่ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388-389/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะการเป็นทายาทเพื่อการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก และการตรวจสอบความถูกต้องของพินัยกรรม
จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ผู้ตาย โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุตรของ ล.โจทก์ค้านว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรของ ล. หรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงและสำคัญแห่งคดีซึ่งศาลจำเป็นต้องวินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นเรื่องที่จะให้ไปฟ้องร้องกันอีกคดีหนึ่งไม่ เพราะถ้าคดีฟังได้ว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ก็ย่อมไม่ใช่ทายาทไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก คำร้องของจำเลยต้องยกเสียถ้าหากคดีฟังได้ในทางตรงข้าม คือฟังว่าจำเลยเป็นบุตร ล. จำเลยก็เป็นทายาทในลำดับผู้สืบสันดาน ส. ซึ่งเป็นโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ บ. ซึ่งเป็นทายาทในลำดับน้องร่วมบิดาเดียวกับ ล. ผู้ตาย
ส. ซึ่งเป็นโจทก์เป็นผู้รับมรดกแทนที่ บ. ซึ่งเป็นทายาทในลำดับเดียวกับจำเลย ส. ย่อมมีสิทธิรับมรดกและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เท่าเทียมกับจำเลย
โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์บางอย่าง ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่าพินัยกรรมปลอมจึงต้องวินิจฉัยปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมไม่ปลอม โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมปลอม คำร้องของโจทก์ก็ต้องยก เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม
คดีของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรมเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทเท่านั้น โจทก์หาได้เรียกร้องเอาทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมาด้วยไม่จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในพินัยกรรม
ส. ซึ่งเป็นโจทก์เป็นผู้รับมรดกแทนที่ บ. ซึ่งเป็นทายาทในลำดับเดียวกับจำเลย ส. ย่อมมีสิทธิรับมรดกและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เท่าเทียมกับจำเลย
โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์บางอย่าง ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่าพินัยกรรมปลอมจึงต้องวินิจฉัยปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมไม่ปลอม โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมปลอม คำร้องของโจทก์ก็ต้องยก เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม
คดีของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรมเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทเท่านั้น โจทก์หาได้เรียกร้องเอาทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมาด้วยไม่จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสามีภริยาที่สิ้นสุดลงและการไม่มีสิทธิในมรดกเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยมา เมื่อมิได้อุทธรณ์คัดค้านหรือมิได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งไว้โดยชัดแจ้ง อันจะให้ถือได้ว่าได้ตั้งประเด็นคัดค้านไว้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังเป็นยุติ จะฎีกาโต้เถียงต่อไปมิได้
โจทก์กับสามีเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต่อมาสามีโจทก์ถูกจำคุก โจทก์ก็ไปมีสามีใหม่และมีบุตรด้วยกันเมื่อสามีโจทก์พ้นโทษก็ได้ภรรยาใหม่และมีบุตรด้วยกัน ดังนี้ เป็นการแสดงออกชัดแจ้งว่าต่างสมัครใจสละละทิ้งกันแล้ว ย่อมขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 51 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นโดยไม่จำต้องทำพิธีหย่า เมื่อภรรยาใหม่ของสามีตาย โจทก์ได้กลับมาอยู่กินกับสามีอีกเป็นเวลาภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 แล้ว โดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ไม่มีสิทธิรับมรดก
ทรัพย์ที่สามีได้มาก่อนที่โจทก์จะกลับมาอยู่กินกับสามีและทรัพย์ที่สามีโจทก์ได้รับมรดกมาเมื่อโจทก์ได้มาอยู่กินกับสามีครั้งหลัง ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์กับสามีร่วมกันทำมาหาได้ โจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วม
โจทก์กับสามีเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต่อมาสามีโจทก์ถูกจำคุก โจทก์ก็ไปมีสามีใหม่และมีบุตรด้วยกันเมื่อสามีโจทก์พ้นโทษก็ได้ภรรยาใหม่และมีบุตรด้วยกัน ดังนี้ เป็นการแสดงออกชัดแจ้งว่าต่างสมัครใจสละละทิ้งกันแล้ว ย่อมขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 51 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นโดยไม่จำต้องทำพิธีหย่า เมื่อภรรยาใหม่ของสามีตาย โจทก์ได้กลับมาอยู่กินกับสามีอีกเป็นเวลาภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 แล้ว โดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ไม่มีสิทธิรับมรดก
ทรัพย์ที่สามีได้มาก่อนที่โจทก์จะกลับมาอยู่กินกับสามีและทรัพย์ที่สามีโจทก์ได้รับมรดกมาเมื่อโจทก์ได้มาอยู่กินกับสามีครั้งหลัง ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์กับสามีร่วมกันทำมาหาได้ โจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498-1499/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้สินและการพิสูจน์สถานะล้มละลาย: จำเลยต้องปฏิเสธหนี้ชัดเจน โจทก์ต้องพิสูจน์สถานะล้มละลาย
คำให้การจำเลยระบุบ่งชัดโดยเฉพาะว่าขอปฏิเสธหนี้สินตามที่โจทก์อ้างมาเป็นจำนวนรายละ 20,000 บาทนั้น ย่อมมีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงหนี้ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะไม่อ้างรายละเอียดว่าจำเลยปฏิเสธหนี้ของโจทก์เพาะเหตุใด ก็มีผลเพียงแต่จำเลยไม่มีข้ออ้างที่จะเป็นประเด็นข้อนำสืบต่อสู้คดีเท่านั้น แต่ไม่ทำให้กลายเป็นว่าจำเลยรับตามฟ้องโจทก์
หนี้ที่จำเลยประนีประนอมกับเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายเดิม และยังค้างชำระอยู่บ้างนั้น ไม่ควรนำมาเป็นเหตุให้จำเลยล้มละลายอีก
หนี้ที่จำเลยประนีประนอมกับเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายเดิม และยังค้างชำระอยู่บ้างนั้น ไม่ควรนำมาเป็นเหตุให้จำเลยล้มละลายอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพยานของผู้เขียนพินัยกรรม: การพิจารณาจากข้อเท็จจริงและเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม
แม้ผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรมจะไม่ได้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 วรรค 2 ด้วยก็ตาม หากมีข้อความตอนท้ายของพินัยกรรมปรากฎชัดว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ และผู้เขียนได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนพินัยกรรมต่อจากลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนพินัยกรรมต่อจากลายมือชื่อของพยานรับรองพินัยกรรมแล้ว ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบว่าผู้เขียนอยู่ในฐานะพยานด้วยหรือไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพยานของผู้เขียนพินัยกรรม: แม้ไม่ระบุในพินัยกรรม ก็อาจนำสืบได้
แม้ผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรมจะไม่ได้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 วรรคสอง ด้วยก็ตาม หากมีข้อความตอนท้ายของพินัยกรรมปรากฏชัดว่าผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานเป็นสำคัญและผู้เขียนได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนพินัยกรรมต่อจากลายมือชื่อของพยานรับรองพินัยกรรมแล้ว ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบว่าผู้เขียนอยู่ในฐานะพยานด้วยหรือไม่ได้