พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดต่อกฎหมายเนื่องจากมีคู่สมรสแล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องสืบพยานเมื่อโจทก์ยอมรับ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่า โจทก์สมรสกับจำเลยในขณะโจทก์ยังเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของชายอื่นอยู่ จดทะเบียนสมรสกันตามสำเนาภาพถ่ายทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยสมรสกับโจทก์โดยสำคัญผิดหลงเชื่อโดยสุจริตตามคำบอกกล่าวของโจทก์ว่าโจทก์ได้หย่าขาดจากชายอื่นแล้วและไม่ได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า ข้อความตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่เป็นความจริงเพราะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยความยินยอมและสมัครใจมิใช่เนื่องจากกลฉ้อฉลหรือสำคัญผิดแต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงข้อที่ว่า โจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ในขณะสมรสกับจำเลยและไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงความถูกต้องแท้จริงของสำเนาทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง ประกอบกับคำให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อสุดท้ายของโจทก์ที่ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีตั้งแต่ต้น หากการสมรสไม่ชอบ ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ก่อ เช่นนี้ เท่ากับโจทก์ยอมรับในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ทำการสมรสกับจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการชี้สองสถานและการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่า การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดต่อกฎหมายเนื่องจากมีคู่สมรสอื่นแล้ว ศาลพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่า โจทก์สมรสกับจำเลยในขณะโจทก์ยังเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของชายอื่นอยู่ จดทะเบียนสมรสกันตามสำเนาภาพถ่ายทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยสมรสกับโจทก์โดยสำคัญผิด หลงเชื่อโดยสุจริตตามคำบอกกล่าวของโจทก์ว่าโจทก์ได้หย่าขาดจากชายอื่นแล้วและไม่ได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า ข้อความตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่เป็นความจริงเพราะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยความยินยอมและสมัครใจมิใช่เนื่องจากกลฉ้อฉลหรือสำคัญผิดแต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงข้อที่ว่าโจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ในขณะสมรสกับจำเลยและไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงความถูกต้องแท้จริงของสำเนาทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง ประกอบกับตามคำให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อสุดท้ายของโจทก์ที่ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีตั้งแต่ต้น หากการสมรสไม่ชอบ ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ก่อเช่นนี้ เท่ากับโจทก์ยอมรับในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ทำการสมรสกับจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการชี้สองสถานและการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสต้องแบ่งเท่ากัน แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า
คดีฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1533 บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากันเพียงแต่เคยแยกกันอยู่ ถือไม่ได้มีแบ่งสินสมรสกันแล้วจึงต้องแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามนัย มาตรา 1533 ดังกล่าว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1533 บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากันเพียงแต่เคยแยกกันอยู่ ถือไม่ได้มีแบ่งสินสมรสกันแล้วจึงต้องแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามนัย มาตรา 1533 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสไม่เป็นโมฆียะ แม้ฝ่ายหญิงไม่ยินยอมร่วมประเวณีในคืนเข้าหอ เหตุผลคือความเหนื่อยล้าและอายุ
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 หมั้นและทำการสมรสกันในวันนั้นเองหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาก็มอบตัวจำเลยที่ 1 ให้ไปอยู่กินกับโจทก์ที่ 1 ทันที โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1ได้พากันไปไหว้ พระในที่ต่าง ๆ จนถึงตอนเย็นได้รับประทานอาหารด้วยกันแล้วจึงส่งตัวเข้าหอ โดยจำเลยที่ 1 มิได้อิดเอื้อน แต่จำเลยที่ 1ไม่ยอมให้โจทก์ที่ 1 ร่วมประเวณีด้วยเพราะเหน็ดเหนื่อยไม่มีอารมณ์ที่จะร่วมเพศ ทั้งจำเลยที่ 1 เพิ่มมีอายุเพียง 19 ปี ไม่เคยสมรสมาก่อน อาจจะยังกลัวต่อการร่วมประเวณีจึงได้ขอผัดผ่อนไปก็ได้ โจทก์ที่ 1 จึงควรให้โอกาสจำเลยที่ 1 ได้ผัดผ่อนตามที่ร้องขอ ไม่ควรวู่วาม เอาแต่ใจตัวจะต้องร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 ในคืนนั้นให้ได้การที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมประเวณีดังกล่าวจึงยังไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 และจะถือว่าจำเลยทั้งสองทำกลฉ้อฉลไม่ได้ การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นโมฆียะ โจทก์ไม่มีสิทธิขอเพิกถอนและเรียกแหวนหมั้นกับเงินสินสอดคืนจากจำเลยทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินรับยกให้ระหว่างสมรส หากหนังสือยกให้ไม่ได้ระบุเป็นสินส่วนตัว ให้ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หาเมื่อวันที่13มีนาคม2518ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับกรณีจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมเมื่อหนังสือยกให้ที่ดินรายนี้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวแก่โจทก์จึงตกเป็นสินสมรส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของการสมรสซ้อน: การสมรสที่ขัดกับกฎหมาย แม้มีการจดทะเบียนภายหลัง
ไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีอายุ 80 ปีเศษต้องให้เจ้าหน้าที่อำเภอรับรองสติสัมปชัญญะของผู้มอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอามรดกของบิดาในฐานะที่ตนเป็นทายาทและทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินส่วนตัว มิใช่เป็นเรื่องการจัดการสินสมรสโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสพ. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยากันตลอดมาถึงวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้ภายหลัง พ. จะแยกไปอยู่กินกับจำเลยที่ 1 และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันโดยแจ้งต่อนายทะเบียนว่าเคยมีภริยามาก่อน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้เลิกกันไปแล้ว ก็ไม่ทำให้การสมรสระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ 1 ขาดจากกัน เพราะการสมรสจะขาดจากกันก็ด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนเท่านั้น การจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ในขณะที่ พ.มีโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สมรสอยู่แล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรส และเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ มาตรา 1496จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดและบำนาญค้างจ่ายของพ. กับไม่มีสิทธิรับมรดกด้วย
โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอามรดกของบิดาในฐานะที่ตนเป็นทายาทและทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินส่วนตัว มิใช่เป็นเรื่องการจัดการสินสมรสโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสพ. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยากันตลอดมาถึงวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้ภายหลัง พ. จะแยกไปอยู่กินกับจำเลยที่ 1 และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันโดยแจ้งต่อนายทะเบียนว่าเคยมีภริยามาก่อน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้เลิกกันไปแล้ว ก็ไม่ทำให้การสมรสระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ 1 ขาดจากกัน เพราะการสมรสจะขาดจากกันก็ด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนเท่านั้น การจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ในขณะที่ พ.มีโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สมรสอยู่แล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรส และเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ มาตรา 1496จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดและบำนาญค้างจ่ายของพ. กับไม่มีสิทธิรับมรดกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากจำเลยอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันสามีภรรยา แม้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์แล้ว
ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้เสียกับนาง ต. มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน หลังจากจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ 2 วัน จำเลยที่ 1 กลับไปจดทะเบียนสมรสกับนาง ต.ซ้อนขึ้นอีก โดยอ้างว่าเพื่อให้เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้นางต.ยังไปๆมาๆที่บ้านจำเลยและจำเลยที่ 1 ยังส่งเสียให้เงินไปใช้จ่าย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีภรรยา ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะภริยาตามกฎหมาย, การจัดการมรดก, และการแบ่งสินสมรสสำหรับคู่สมรสที่สมรสก่อน พ.ร.บ. 2477
กฎหมายลักษณะผัวเมียและ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อสามีละทิ้งภริยาเพียงอย่างเดียวเป็นเหตุให้ขาดจากการสมรส ฉะนั้นเมื่อ พ. กับโจทก์เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต่อมา พ. ละทิ้งร้างโจทก์ไปหลายปีแล้วกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากันอีกหลังจากประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตาม ก็ต้องถือว่า พ. และโจทก์เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะที่ พ. ถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ.2514
โจทก์ในฐานะทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก โดยที่ผู้จัดการมรดกเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง และถือว่าครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท ทายาทไม่จำต้องเข้าครอบครองทรัพย์มรดก จำเลยจะยกอายุความ 1 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาซึ่งสมรสกันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ซึ่งบัญญัติว่าถ้าชายมีสินเดิมฝ่ายเดียว หญิงไม่มีสินเดิม ชายได้สินสมรสทั้งหมด หญิงไม่มีส่วนได้เลย
โจทก์ในฐานะทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก โดยที่ผู้จัดการมรดกเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง และถือว่าครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท ทายาทไม่จำต้องเข้าครอบครองทรัพย์มรดก จำเลยจะยกอายุความ 1 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาซึ่งสมรสกันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ซึ่งบัญญัติว่าถ้าชายมีสินเดิมฝ่ายเดียว หญิงไม่มีสินเดิม ชายได้สินสมรสทั้งหมด หญิงไม่มีส่วนได้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาลวง นิติกรรมยกทรัพย์สินระหว่างสมรส และการยักย้ายทรัพย์มรดก
การแสดงเจตนาลวงที่จะเป็นเหตุทำให้เป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 นั้น ต้องเป็นการแสดงเจตนาที่ทำขึ้นโดยความประสงค์ร่วมกันของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่จะไม่ให้ผูกพันกัน การที่จำเลยที่ 1แสดงเจตนาทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โดยแจ้งเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าสามีจำเลยที่ 1 ตายจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสามีใหม่นั้น เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมยกที่ดินให้กันจริง ไม่ปรากฏว่าได้แสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใดจึงไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เคยทวงถามเงินกู้จากผู้กู้หลังจากเจ้ามรดกตายโดยยอมลดจำนวนเงินกู้ให้ หรือให้ผู้กู้เปลี่ยนเป็นกู้จำเลยที่ 1 แทนแต่ผู้กู้ไม่ยอม และเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกขอให้ส่งมอบสัญญากู้เงินดังกล่าวให้ จำเลยที่1 บิดพลิ้วโดยขอหักเป็นค่าทำศพเจ้ามรดกรูปเรื่องน่าจะเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะทำได้ และเป็นการใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ ไม่พอฟังว่าปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดก
จำเลยที่ 1 เคยทวงถามเงินกู้จากผู้กู้หลังจากเจ้ามรดกตายโดยยอมลดจำนวนเงินกู้ให้ หรือให้ผู้กู้เปลี่ยนเป็นกู้จำเลยที่ 1 แทนแต่ผู้กู้ไม่ยอม และเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกขอให้ส่งมอบสัญญากู้เงินดังกล่าวให้ จำเลยที่1 บิดพลิ้วโดยขอหักเป็นค่าทำศพเจ้ามรดกรูปเรื่องน่าจะเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะทำได้ และเป็นการใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ ไม่พอฟังว่าปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจดทะเบียนสมรสที่ไม่มีการหมั้น ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยมีสาระสำคัญว่า ให้จำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมจดถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องใช้ค่าเสียหายนั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน เพราะไม่ใช่สัญญาหมั้น จึงไม่อาจบังคับได้ คดีไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานกันต่อไป
ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1439 ถ้าฝ่ายใด ผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน ฉะนั้นการตกลงจะสมรสโดย ไม่มีการหมั้น จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองไว้ และจะนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยนิติกรรมมาใช้ในกรณีเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติว่าด้วยการหมั้นและการสมรส ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ โดยเฉพาะแล้ว
ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1439 ถ้าฝ่ายใด ผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน ฉะนั้นการตกลงจะสมรสโดย ไม่มีการหมั้น จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองไว้ และจะนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยนิติกรรมมาใช้ในกรณีเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติว่าด้วยการหมั้นและการสมรส ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ โดยเฉพาะแล้ว