คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สละสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7072/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามวินิจฉัย: ประเด็นใหม่นอกคำให้การ, สละสิทธิข้อต่อสู้, พยานประกอบดุลพินิจ
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย โจทก์จะฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไปแล้ว จึงถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั้น เห็นว่า เมื่อจำเลยยอมรับในฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามาตั้งแต่เริ่มแรก แต่อ้างว่าโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ดังกล่าวซึ่งศาลล่างทั้งสองก็ได้รับฟังประกอบดุลพินิจที่ฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งคำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์และในส่วนอื่นอันเกี่ยวเนื่องกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าแรงงานให้จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ประกอบมาตรา 1317 นั้น เป็นฎีกาที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินแปลงโอนภายใต้ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ ยังไม่เกิดสิทธิครอบครอง โอน/สละสิทธิไม่ได้
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามประมวลกฎหมายที่ดินฯไม่อาจโอนหรือสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นได้ ฉะนั้นแม้สัญญาจำนองที่ดินพิพาทจะเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขาย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ส่งมอบการครอบครองให้นับแต่วันที่โจทก์ทำสัญญาจำนองไว้ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิอุทิศที่ดินวัดเพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่ขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนายินยอมให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการเทคอนกรีตในที่ดินพิพาทเป็นผืนเดียวกับถนนสายเถินบุรี เพื่อใช้เป็นที่จอดรถ เป็นวงเวียนให้รถอ้อม และให้สร้างป้อมตำรวจในที่ดินพิพาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย กรณีดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคืนเบี้ยประกันภัยสละสิทธิเรียกร้อง ถือเป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิประกันชีวิตระงับ
เมื่อ อ. ถึงแก่กรรม โจทก์และ ก. ในฐานะผู้รับประโยชน์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายอ้างว่าสัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ ย่อมเกิดข้อพิพาทขึ้นแล้ว เมื่อจำเลยเสนอคืนเงินเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์และ ก. แทนการชำระเงินตามที่โจทก์และ ก. เรียกร้องหรือคืนเงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 892 โจทก์และ ก. ก็ได้ตกลงยอมรับเอาเงินเบี้ยประกันคืนตามที่จำเลยเสนอและสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องเอาเงินหรือประโยชน์อื่นใดตามกรมธรรม์จากจำเลยอีกย่อมเป็นการที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยซึ่งมีอยู่นั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์และ ก. ที่ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญาประกันชีวิตอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิครอบครองที่ดินและได้มาซึ่งสิทธิครอบครองใหม่จากบุคคลอื่น ทำให้ที่ดินไม่เป็นมรดก
ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ผู้ตายขายให้แก่จำเลยแม้การซื้อขายจะเป็นโมฆะเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ามีเพียงสิทธิครอบครอง การที่ผู้ตายขายให้จำเลยย่อมเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองที่พิพาท ไม่ยึดถือเพื่อตนต่อไปแล้ว การครอบครองของผู้ตายจึงสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 จำเลยได้เข้าครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยนำเงินไปชำระหนี้แทนผู้ตายและรับ ส.ค.1 มาจากเจ้าหนี้ผู้ตายแล้วให้ ส. ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่างดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นการยึดถือเพื่อตนจำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 ที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นมรดกของผู้ตาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิครอบครองที่ดินและผลของการครอบครองโดยชอบธรรม การซื้อขายที่ดินโดยมิได้จดทะเบียน
ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ผู้ตายขายให้แก่จำเลยแม้การซื้อขายจะเป็นโมฆะเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ามีเพียงสิทธิครอบครอง การที่ผู้ตายขายให้จำเลยย่อมเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองที่พิพาทไม่ยึดถือเพื่อตนต่อไปแล้ว การครอบครองของผู้ตายจึงสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 จำเลยได้เข้าครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยนำเงินไปชำระหนี้แทนผู้ตายและรับ ส.ค.1มาจากเจ้าหนี้ผู้ตาย แล้วให้ ส. ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่างดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นการยึดถือเพื่อตนจำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367ที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นมรดกของผู้ตาย โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์จากความสำคัญผิด ไม่ถือเป็นการสละสิทธิเด็ดขาดในการบังคับคดี
ตัวแทนโจทก์ในการบังคับคดียื่นคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยและด้วยความสำคัญผิด ตัวแทนโจทก์ได้ระบุในคำแถลงด้วยว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว ทั้งที่ความจริงจำเลยยังชำระไม่ครบ การยื่นคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์จึงไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิเด็ดขาดในการบังคับคดีจำเลย โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนข้อความที่ระบุว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้วได้เพื่อให้เป็นไปตามความจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาไม่ตัดขาด แม้มีการสละสิทธิ คดีไม่ถึงที่สุดจนกว่าเวลาฎีกาสิ้นสุด
สิทธิในการฎีกาย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแม้โจทก์และจำเลยจะขอสละสิทธิในการฎีกา ก็หาได้มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์และจำเลยไม่ให้ฎีกาโดยเด็ดขาดไม่ โจทก์และจำเลยยังคงมีสิทธิที่จะฎีกาได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่จำเลยขอให้ศาลออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดย้อนหลังไปในวันดังกล่าวจึงไม่อาจกระทำได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเครื่องหมายการค้าผ่านการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจและการใช้ต่อเนื่องโดยบริษัทใหม่
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขายใบชาซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียนไว้มาประกอบกิจการค้าใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในรูปของบริษัทจำเลย ตลอดจนการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับใบชาของบริษัทจำเลยในลักษณะที่แสดงว่าบริษัทจำเลยเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังปรากฎที่กล่องบรรจุใบชา นั้น ถือได้ว่าบิดาโจทก์ได้สละสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยยอมให้เป็นทรัพย์สินของบริษัทจำเลยแล้วตั้งแต่ขณะบิดาโจทก์เลิกประกอบการค้าใบชาเป็นการส่วนตัวมาประกอบการค้าใบชาในรูปบริษัทจำเลยโดยมีตนเป็นกรรมการผู้จัดการ แม้หลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทจะปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โดยบิดาโจทก์ยังมิได้ไปจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นให้จำเลยเพื่อให้สมบูรณ์ตามมาตรา33 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ยังคงเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อไป การที่ปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตามหลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีผลเพียงเท่ากับบิดาโจทก์เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเท่านั้น เมื่อต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาท การที่ ว. และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกไปขอจดทะเบียนต่ออายุเครื่องหมายการค้าพิพาท จึงมีผลเป็นเพียงการถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าใบชาที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ.2494 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยทำการค้าขายใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์และย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์ยื่นจดทะเบียนต่ออายุดังกล่าวได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเครื่องหมายการค้า: การเลิกกิจการส่วนตัวแล้วเปลี่ยนเป็นบริษัทถือเป็นการสละสิทธิ
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขาย ใบชา ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียน ไว้ มา ประกอบกิจการ ค้า ใบชา โดย ใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ใน รูป ของ บริษัท จำเลยตลอดจน การ ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท กับ ใบชาของ บริษัท จำเลย ใน ลักษณะ ที่ แสดง ว่า บริษัท จำเลยเป็น เจ้าของ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวดังปรากฏ ที่ กล่อง บรรจุ ใบชา นั้น ถือ ได้ ว่า บิดา โจทก์ได้ สละ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท โดย ยอม ให้เป็น ทรัพย์สิน ของ บริษัท จำเลย แล้ว ตั้งแต่ ขณะ บิดา โจทก์เลิก ประกอบการค้า ใบชา เป็น การ ส่วนตัว มา ประกอบการค้าใบชา ใน รูป บริษัท จำเลย โดย มี ตน เป็น กรรมการผู้จัดการแม้ หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า พิพาทจะ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวโดย บิดา โจทก์ ยัง มิได้ ไป จดทะเบียน โอน สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า นั้น ให้ จำเลย เพื่อ ให้ สมบูรณ์ ตาม มาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่ง ใช้บังคับ อยู่ ใน ขณะนั้น ก็ตาม แต่ ก็ ถือ ไม่ได้ ว่า บิดา โจทก์ ยังคง เป็น เจ้าของสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ต่อไปการ ที่ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้าพิพาท ตาม หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้ามี ผล เพียง เท่ากับ บิดา โจทก์ เป็น ผู้ถือสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าพิพาท ไว้ แทน จำเลย เท่านั้น เมื่อ ต่อมา บิดา โจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท จึงไม่เป็น ทรัพย์ ยืม มรดก ที่ ตกทอด แก่ ทายาท การ ที่ ว.และ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ไป ขอ จดทะเบียน ต่อ อายุเครื่องหมายการค้า พิพาท จึง มี ผล เป็น เพียง การ ถือ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ไว้แทน จำเลย เช่นเดียวกันเมื่อ จำเลย เป็น ผู้ มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท และ ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า ใบชาที่ จำเลย ผลิต ออก จำหน่าย ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน ทั้ง ไม่ ปรากฏ ว่า โจทก์ เคย ทำ การค้าขาย ใบชา โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท แต่อย่างใดจำเลย จึง มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดีกว่าโจทก์ และ ย่อม เป็น ผู้มีส่วนได้ เสีย ที่ จะ ร้อง ขอ ต่อ ศาล ให้ มี คำสั่ง เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาท ที่ โจทก์ ยื่น จดทะเบียน ต่อ อายุ ดังกล่าว ได้ ตามมาตรา 41(1) แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474
of 39