พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมหลังสอบสวน: โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากพบพยานหลักฐานใหม่
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องข้อหาหลัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับเมื่อทราบผู้กระทำละเมิด แม้มีการสอบสวนเพิ่มเติม
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งทำรายงานว่าจำเลยทั้งสามเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อธิบดีกรมโจทก์ลงชื่อรับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว แม้จะสั่งสอบสวนเพิ่มเติมก็เพื่อจะทราบว่าผู้รับเหมาซึ่งขุดลอกคลองจะต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่อธิบดีมีคำสั่ง โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำร้องทุกข์และคำให้การที่มีการใช้ล่ามแปล
แม้คำร้องทุกข์และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายคนหนึ่ง จะมีผู้เสียหายอีกคนหนึ่งเป็นล่ามแปล ก็เป็นคำร้องทุกข์และคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนให้ผู้เสียหายเป็นล่าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนนอกสถานที่ของพนักงานสอบสวนไม่ถือเป็นเอกสารเท็จ
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนที่ใด เวลาใดก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 130 การที่จำเลยสอบถามข้อเท็จจริงบางประการจากโจทก์ที่โรงพยาบาลแล้วไปจดลงในคำให้การของโจทก์ที่สถานีตำรวจอันเป็นที่ทำการของจำเลยภายหลัง โดย ระบุว่าสอบสวนที่สถานีตำรวจเพียงเหตุเท่านี้หาเป็นการทำและรับรองเอกสารอันเป็นเท็จไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนนอกสถานที่และการจดบันทึกคำให้การ: ไม่ถือเป็นเอกสารเท็จ
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนที่ใด เวลาใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130การที่จำเลยสอบถามข้อเท็จจริงบางประการจากโจทก์ที่โรงพยาบาลแล้วไปจดลงในคำให้การของโจทก์ที่สถานีตำรวจอันเป็นที่ทำการของจำเลยภายหลัง โดยระบุว่าสอบสวนที่สถานีตำรวจ เพียงเหตุเท่านี้หาเป็นการทำและรับรองเอกสารอันเป็นเท็จไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนและการรับรองเอกสาร: การสอบถามข้อเท็จจริงและการจดบันทึก
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนที่ใด เวลาใดก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 130 การที่จำเลยสอบถามข้อเท็จจริงบางประการจากโจทก์ที่โรงพยาบาลแล้วไปจดลงในคำให้การของโจทก์ที่สถานีตำรวจอันเป็นที่ทำการของจำเลยภายหลัง โดย ระบุว่าสอบสวนที่สถานีตำรวจเพียงเหตุเท่านี้หาเป็นการทำและรับรองเอกสารอันเป็นเท็จไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย, การต่อสู้คดี, และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้ มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ ว่า มีการสอบสวนชอบด้วย กฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โดย เสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตาม สำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เองโดย ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน แม้ อ. จะเคยถูก ฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ ศาลได้ สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะ เป็นจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อ กฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 5661 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้ กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่ง เป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่ง เป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้อง ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์ความผิดฐานข่มขืน แม้ไม่ได้บันทึกข้อหาในชั้นสอบสวน ก็ถือว่ามีการร้องทุกข์แล้ว
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยข้อหาร่วมกันบุกรุกข่มขืนกระทำชำเรา ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายดูตัวผู้ต้องหาผู้เสียหายยืนยันว่าจำเลยร่วมกับพวกบุกรุก ข่มขืนกระทำชำเรา และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหาย ชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การระบุพฤติการณ์ของจำเลยที่ได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายไว้โดยชัดแจ้ง พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาฐานข่มขืนกระทำชำเรา พรากผู้เยาว์ บุกรุก และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น ดังนี้ เชื่อได้ว่าผู้เสียหายร้องทุกข์ด้วยวาจาครั้งแรกได้แจ้งรายละเอียดในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราด้วย แต่พนักงานสอบสวนมิได้บันทึกไว้ เป็นความบกพร่องของพนักงานสอบสวนเอง ถือได้ว่าผู้เสียหายร้องทุกข์ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493-3494/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่เป็นธรรม พิจารณาจากเหตุผลการกระทำของลูกจ้าง ไม่จำเป็นต้องมีการสอบสวนก่อน
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมนั้น ถ้าเหตุแห่งการเลิกจ้างอยู่ที่ฝ่ายเลิกจ้างแล้ว พึงพิจารณาว่าการกระทำหรือการลดเว้นของลูกจ้างเกิดมีขึ้นหรือไม่ และเหตุนั้นเพียงพอแก่การที่จะเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ หากมีและมีเหตุผลเพียงพอที่จะเลิกจ้างการเลิกจ้างย่อมไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยมิพักต้องคำนึงว่าการเลิกจ้างน้นมีการสอบสวนก่อนแล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน แม้การจับกุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่กระทบถึงการฟ้องคดีอาญา
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอนกัน ถ้าการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย แม้การจับกุมอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายก็หา กระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่ พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีได้