คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญากู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียอากรแสตมป์หลังมีคำพิพากษา ทำให้สัญญากู้ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้
การขออนุญาตนำตราสารไปปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำตราสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ ขาด โจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินไปเสียอากรและเงินเพิ่มภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้น จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ – การขึ้นอัตราดอกเบี้ย – การแปลงหนี้ – ผลผูกพันสัญญา
ตามสัญญากู้ มีข้อความว่า "และถ้า ต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ตามที่แจ้งไปนั้นทุกประการโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น..." ดังนี้ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ในอัตราที่เพิ่มขึ้นได้ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการขอเพิ่มให้จำเลยทราบแล้วอีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มก็ไม่เกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามข้อสัญญาดังกล่าวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้และการขึ้นอัตราดอกเบี้ย: สิทธิของผู้ให้กู้ตามข้อตกลงในสัญญาและการปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
สัญญากู้มีข้อความว่า ถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควร โดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามที่แจ้งไปนั้นทุกประการโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ในอัตราที่เพิ่มมากขึ้นได้ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการขอเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยผู้กู้ทราบแล้ว อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ขอเพิ่มขึ้นไปนั้นไม่เกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขข้อสัญญาดังกล่าว โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 อีกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ แต่จำเลยอุทธรณ์เรื่องเอกสารปลอม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้
แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2แต่จำเลยเองเป็นฝ่ายอุทธรณ์ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 เป็นเอกสารปลอมเพราะจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดไว้ ดังนี้จึงมีประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 ปลอมหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเชื่อ ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 ไม่ปลอมและบังคับตามสัญญาจึงเป็นการชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้สัญญากู้ และผลผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญาแล้วถูกศาลสั่ง ขายทอดตลาดไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เงินเป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้โดยให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้โดย จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองต้องผูกพันตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เพื่อไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และรับเงินจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา แล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวของโจทก์ จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินคืนให้โจทก์ไม่ได้ และไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องหรือต่างกับฟ้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเพิ่มดอกเบี้ยย้อนหลังในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ย่อมใช้บังคับได้ หากเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาโดยไม่ขัดกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาตกลงกับโจทก์ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากร้อยละ 12.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 15 ต่อปี และร้อยละ18 ต่อปี แม้เป็นการเพิ่มดอกเบี้ยย้อนหลัง แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างธนาคารโจทก์กับจำเลยอันเป็นคู่สัญญา มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก ทั้งวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิรุธสัญญากู้และการแปลงหนี้ รวมดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นต้นเงิน ศาลฎีกาวินิจฉัยสัญญากู้เป็นโมฆะ
จำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ โจทก์จำเลยจึงตกลงแปลงหนี้ตามสัญญากู้นั้น ซึ่งรวมดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้นมาเป็นต้นเงินกู้ด้วย ดังนี้ ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้น จึงต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113มาตรา 654 และมาตรา 655 จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงิน 5,080 บาท แต่หนี้ที่จำเลยชำระเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่คิดโดยวิธีทบต้น เพราะหลังจากชำระเงินจำนวนนั้นให้โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าต้นเงินกู้ได้ลดลงแต่ประการใดดังนั้น จำนวนเงินที่จำเลยชำระจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามอำเภอใจจะนำเงินจำนวนนั้นมาหักต้นเงินกู้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ไม่ได้ทั้งจะนำมาหักหนี้ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดก็ไม่ได้ด้วย เพราะจำเลยมิได้ชำระดอกเบี้ยจำนวนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีว่าสัญญากู้ถูกปลอมแปลง และสิทธิในการนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ความจริง
การที่จำเลยให้การต่อสู้ คดีว่า จำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 8,000บาท มิใช่ 80,000 บาท ตาม ที่โจทก์ฟ้อง เพราะโจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้โดย กรอก ข้อความและจำนวนเงินจากที่กู้ไป 8,000 บาท เป็น80,000 บาท โดย จำเลยมิได้ยินยอม เช่นนี้ แม้สัญญากู้จะ ระบุ ว่าได้ รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลตาม ข้อต่อสู้ของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย เพราะเป็น การ นำสืบประกอบข้ออ้างว่าพยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม หรือไม่ถูกต้อง ทั้งหมดหรือแต่ บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่น ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ปลอมไร้ผลผูกพัน แม้มีการกู้ยืมจริง ศาลอนุญาตให้สืบพยานพิสูจน์การปลอมแปลงได้
การที่โจทก์เขียนข้อความในสัญญากู้เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริงโดย จำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้ดังกล่าวย่อมเป็นเอกสารปลอม ใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่และแม้ขณะโจทก์เขียนสัญญากู้ จำเลยจะได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวนหนึ่งจริง ศาลก็จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้นั้นโดยอาศัยสัญญากู้นี้ไม่ได้ แม้สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องจะระบุว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ไปครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่ เมื่อจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญากู้ดังกล่าวเป็นสัญญาที่โจทก์ปลอมแปลงโดย กรอก ข้อความและจำนวนเงินที่กู้ผิดจากที่กู้กันจริงโดย จำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยเช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ของตนได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย กรณีหาใช่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองและสัญญากู้เงินที่สมคบกันแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
สัญญาจำนองและสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์ กับ พ. เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะโจทก์และ พ. สมคบกันแสดงเจตนาลวง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ แม้โจทก์จะมีชื่อ ในสัญญาจำนองในฐานะผู้รับจำนอง ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเงินได้ประเภทดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.
of 40